พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,006 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องพิจารณาฐานะนายจ้างและเหตุผลการเลิกจ้างควบคู่กัน เพื่อให้เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 48 บัญญัติว่า "การพิจารณาคดีแรงงานให้ศาลแรงงานคำนึงถึงสภาพการทำงาน ภาวะค่าครองชีพ ความเดือดร้อนของลูกจ้าง... รวมทั้งฐานะแห่งกิจการของนายจ้าง... ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดให้เป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่ายด้วย" การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเพียงว่าการเลิกจ้างโจทก์ในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำวินิจฉัยลอยๆ โดยไม่มีเหตุผลประกอบ ทั้งๆ ที่จำเลยให้เหตุผลในการเลิกจ้างว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง และข้อที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์มาตั้งแต่ปี 2540 และมีค่าจ้างสูงถึงเดือนละ 30,000 บาท หากไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่แรกจำเลยน่าจะเลิกจ้างเสียตั้งแต่แรก แต่กลับจ้างมานานหลายปีนั้น เหตุผลดังกล่าวไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หรือไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานอันจะเป็นการหักล้างเหตุผลหรือข้ออ้างของจำเลย แสดงว่าศาลแรงงานกลางมิได้นำฐานะแห่งกิจการของจำเลยมาประกอบการพิจารณาด้วย จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างใหม่เพื่อเลี่ยงค่าชดเชยเป็นโมฆะ ระยะเวลาทำงานเดิมนับรวมได้
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 นับถึงวันที่ 17 มีนาคม 2544 ที่มีการทำสัญญาจ้างงานใหม่ โจทก์ทำงานติดต่อกันมาถึง 5 ปีเศษ สัญญาจ้างใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ดังนั้น ระยะเวลาการทำงานของโจทก์กับจำเลยตามสัญญาจ้างเดิมจึงต้องนับรวมเข้ามาด้วย โจทก์มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานตำรวจใช้อำนาจหน้าที่มิชอบเรียกรับเงินเพื่อปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม
เมื่อผลการตรวจค้นตัว ว. ไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ว. ได้กระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองต่อไปอีก จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีอำนาจจับกุม ว. สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องปล่อยตัว ว. ไป การที่จำเลยที่ 1 ยังจับกุม ว. จากศาลาท่าน้ำนำตัวไปไว้ที่สะพานข้ามคลองแสนแสบจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่คู่กับจำเลยที่ 1 โดยใช้รถจักรยานยนต์คันเดียวกับจำเลยที่ 1 และอยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เริ่มตรวจค้นจับกุมจนกระทั่งปล่อยตัว ว. ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำ ว. ไปที่ใต้สะพานข้ามคลองแสนแสบโดย ว. นั่งกลาง จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายมีลักษณะควบคุมตัว ว. ไม่ให้หลบหนีทั้งระหว่างที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจนถึงรับเงินจาก ว. จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น เมื่อได้รับเงินแล้วจำเลยที่ 2 ก็นั่งรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่คู่กับจำเลยที่ 1 โดยใช้รถจักรยานยนต์คันเดียวกับจำเลยที่ 1 และอยู่ด้วยกันกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่เริ่มตรวจค้นจับกุมจนกระทั่งปล่อยตัว ว. ขณะที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์นำ ว. ไปที่ใต้สะพานข้ามคลองแสนแสบโดย ว. นั่งกลาง จำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้ายมีลักษณะควบคุมตัว ว. ไม่ให้หลบหนีทั้งระหว่างที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจนถึงรับเงินจาก ว. จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในบริเวณเดียวกันนั้น เมื่อได้รับเงินแล้วจำเลยที่ 2 ก็นั่งรถจักรยานยนต์ออกไปจากที่เกิดเหตุพร้อมกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659-10665/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องมีเหตุผลอันสมควร และรางวัลพิเศษขึ้นอยู่กับผลกำไรจากธุรกิจหลัก
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้างอาจเกิดจากฝ่ายลูกจ้างฝ่ายเดียว เมื่อสาเหตุและความจำเป็นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่อง จำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและลดจำนวนพนักงานลงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับคุ้มทุน มิฉะนั้นจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ให้สิทธิจำเลยในการที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ทั้งเหตุที่ต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานและโอนงานไปรวมกับหน่วยงานอื่นก็เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาผู้ประกอบการจำหน่ายที่จำเลยทำกับเจ้าหนี้ ดังนั้น การที่จำเลยใช้สิทธิตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเลิกจ้างโจทก์พร้อมกับพนักงานในหน่วยงานที่ถูกปรับยุบทั้งหมด เพราะมีสาเหตุมาจากการประสบภาวะขาดทุนต่อเนื่องมิได้เลือกปฏิบัติกลั่นแกล้งเฉพาะโจทก์เท่านั้น จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ส่วนกรณีที่จำเลยประกาศรับสมัครผู้จัดการในหน่วยงานอื่นของจำเลยซึ่งโจทก์ทั้งสองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะสมัครเข้าไปทำงานได้นั้น จำเลยก็ได้ดำเนินการหลังจากเลิกจ้างโจทก์เป็นเวลานาน เนื่องจากความจำเป็นทางด้านการบริหารจัดการที่เพิ่งเกิดมีขึ้นใหม่ในภายหลังตามความประสงค์ของบริษัท ว. ซึ่งจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องปฏิบัติ เหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเช่นกัน
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
จำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายรถยนต์และอะไหล่และให้บริการเกี่ยวกับรถยนต์ รายได้ที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนในการประกอบธุรกิจของจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ การที่จำเลยประกาศจ่ายรางวัลพิเศษเพิ่มให้แก่พนักงาน จึงมุ่งหมายถึงผลประกอบการในการดำเนินธุรกิจรถยนต์โดยตรง ซึ่งได้แก่ การขายรถยนต์ใหม่ การขายรถยนต์เก่าการขายอะไหล่ การให้บริการซ่อมบำรุง และการให้เช่ารถยนต์ ส่วนการขายสินทรัพย์ หนี้สูญได้รับคืน รายได้อื่นๆ และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของจำเลย มิใช่การประกอบกิจการอันเป็นธุรกิจรถยนต์ของจำเลยดังกล่าว จึงไม่อาจถือเป็นรายได้ที่จะนำมาคำนวณเป็นผลกำไรในส่วนธุรกิจรถยนต์ เมื่อการดำเนินงานในส่วนธุรกิจรถยนต์ไม่มีผลกำไร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510-10512/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทผู้จัดหางานต่อคนหางาน กรณีค่าใช้จ่ายเดินทาง ไม่ถือเป็นนายจ้างร่วม
โจทก์ทั้งสามเป็นคนหางานฟ้องเรียกเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศที่จำเลยที่ 1 บริษัทผู้จัดหางานเรียกเก็บไปจากโจทก์ทั้งสามคืน ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 46 ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลรับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จึงไม่อาจนำความในมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาปรับใช้เพื่อบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเพียงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างด้วย กรณีต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 และมาตรา 820, 821 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในขอบอำนาจ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10293/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างผู้บริหาร: สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
จำเลยร่วมเป็นพนักงานของโจทก์ระดับผู้บริหารและได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนโจทก์ ถือว่าจำเลยร่วมเป็นนายจ้างตามความหมายของคำว่า นายจ้าง ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แต่สถานะความเป็นนายจ้างของจำเลยร่วมตามความในมาตราดังกล่าวใช้เฉพาะแก่บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างที่แท้จริง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมยังต้องถือว่าโจทก์เป็นนายจ้างและจำเลยร่วมเป็นลูกจ้างเช่นเดิม จำเลยร่วมจึงมีสิทธิร่วมลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่อโจทก์ได้ การลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องของจำเลยร่วมมีผลตามกฎหมาย จำเลยร่วมจึงได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
บทบัญญัติตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ไม่ลบล้างหรือทำให้บทบัญญัติตามมาตรา 121 ไม่มีผลใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องด้วยทั้งมาตรา 31 และมาตรา 121 กล่าวคือ ลูกจ้างมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้โดยตรงกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือลูกจ้างมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121 โดยลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิดังกล่าวในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเลือกใช้สิทธิในทางใดแล้ว ต้องถือว่าสละสิทธิทางอื่นอยู่ในตัว
บทบัญญัติตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ไม่ลบล้างหรือทำให้บทบัญญัติตามมาตรา 121 ไม่มีผลใช้บังคับแก่กรณีที่ต้องด้วยทั้งมาตรา 31 และมาตรา 121 กล่าวคือ ลูกจ้างมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้โดยตรงกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือลูกจ้างมีสิทธิไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 121 โดยลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิดังกล่าวในทางใดทางหนึ่ง เมื่อเลือกใช้สิทธิในทางใดแล้ว ต้องถือว่าสละสิทธิทางอื่นอยู่ในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9096/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, ค่าจ้าง, และการเปิดเผยข้อมูลในใบสมัครงาน: ศาลฎีกาพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 นิยามศัพท์คำว่า ค่าจ้าง หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ ฯลฯ เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน วัตถุประสงค์ของการที่จำเลยจ่ายค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้างเพื่อเป็นการช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย ค่าเช่าบ้านจึงเป็นเพียงสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ แม้จะมีการจ่ายเงินจำนวนนี้แน่นอนทุกเดือนก็มิใช่ค่าจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวด 10 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.3 ความซื่อสัตย์สุจริต ข้อ 3.3.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัท ฯ ต้องการแก่บริษัท ฯ ตามความเป็นจริง และถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งแล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัท ฯ ทราบโดยเร็วที่สุดนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคลภายนอกด้วย ขณะที่โจทก์กรอกข้อความลงในใบสมัครงานโจทก์ยังไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย และเป็นบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ส่วนที่ตอนท้ายของใบสมัครงานมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายละเอียดดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นความสัตย์จริงทุกประการ หากภายหลังที่ได้เข้ามาทำงานแล้วปรากฏว่ามีข้อความที่ไม่ตรงกับความจริงหรือเป็นความเท็จ บริษัท ฯ มีสิทธิที่จะลงโทษและ/หรือเลิกจ้างโดยให้ข้าพเจ้าออกจากงานได้ทันทีตามแต่กรณีนั้น อาจเป็นเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างที่ให้สิทธิแก่นายจ้างลงโทษลูกจ้างหรือเลิกสัญญาจ้างได้เป็นการเฉพาะราย แต่ก็มิใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น แม้จะได้ความว่าโจทก์กรอกข้อความในใบสมัครงานเป็นเท็จ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ทั้งไม่สูญเสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ อันพึงมีพึงได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
นับตั้งแต่ที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานควบคุมเครื่องจักร โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนได้รับเบี้ยขยันและได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นพนักงานของจำเลย แม้โจทก์จะเคยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญามาก่อน แต่ก็เป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์และคดีระงับสิ้นลงแล้วก่อนที่จะมาเป็นพนักงานของจำเลยประมาณ 2 ปี ทั้งเป็นความผิดที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรให้แก่จำเลย จึงมิใช่เรื่องร้ายแรง การที่จำเลยอาศัยเหตุดังกล่าวเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เหตุผลอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวด 10 ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.3 ความซื่อสัตย์สุจริต ข้อ 3.3.2 พนักงานต้องแจ้งข้อมูลส่วนตัวของตนตามที่บริษัท ฯ ต้องการแก่บริษัท ฯ ตามความเป็นจริง และถ้าข้อมูลที่ได้แจ้งแล้วไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงไม่ว่าด้วยเหตุผลใด พนักงานต้องรายงานข้อมูลที่ถูกต้องให้บริษัท ฯ ทราบโดยเร็วที่สุดนั้น ย่อมมีผลใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นลูกจ้างของจำเลยแล้วเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันไปถึงบุคคลภายนอกด้วย ขณะที่โจทก์กรอกข้อความลงในใบสมัครงานโจทก์ยังไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลย และเป็นบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ส่วนที่ตอนท้ายของใบสมัครงานมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอรับรองว่ารายละเอียดดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นความสัตย์จริงทุกประการ หากภายหลังที่ได้เข้ามาทำงานแล้วปรากฏว่ามีข้อความที่ไม่ตรงกับความจริงหรือเป็นความเท็จ บริษัท ฯ มีสิทธิที่จะลงโทษและ/หรือเลิกจ้างโดยให้ข้าพเจ้าออกจากงานได้ทันทีตามแต่กรณีนั้น อาจเป็นเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญาว่าจ้างที่ให้สิทธิแก่นายจ้างลงโทษลูกจ้างหรือเลิกสัญญาจ้างได้เป็นการเฉพาะราย แต่ก็มิใช่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ดังนั้น แม้จะได้ความว่าโจทก์กรอกข้อความในใบสมัครงานเป็นเท็จ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยเหตุดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ทั้งไม่สูญเสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์ต่าง ๆ อันพึงมีพึงได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
นับตั้งแต่ที่จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นพนักงานควบคุมเครื่องจักร โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์และขยันหมั่นเพียร จนได้รับเบี้ยขยันและได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเป็นพนักงานของจำเลย แม้โจทก์จะเคยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญามาก่อน แต่ก็เป็นความผิดต่อส่วนตัว ซึ่งผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์และคดีระงับสิ้นลงแล้วก่อนที่จะมาเป็นพนักงานของจำเลยประมาณ 2 ปี ทั้งเป็นความผิดที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรให้แก่จำเลย จึงมิใช่เรื่องร้ายแรง การที่จำเลยอาศัยเหตุดังกล่าวเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่เหตุผลอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114-8868/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการจ้างตามปกติวิสัยและผลของการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายโบนัสโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์ทั้งหมดและจำเลยมีการตกลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างทุกปีตลอดมาจนเป็นปกติวิสัยโดยไม่ได้ยึดถือหรือคำนวณจากผลประกอบการหรือกำไรสุทธิเป็นเกณฑ์ แต่ยึดอายุงานและความขยันหมั่นเพียรไม่ขาด สาย ป่วย ลา เกินกำหนด เป็นสำคัญ จึงถือได้ว่าเป็นสภาพการจ้างที่ตกลงกันโดยปริยายซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทั้งหมดดังกล่าวและจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะออกประกาศ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดให้ขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง เมื่อจำเลยออกประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2544 ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งหมดมากกว่าสภาพการจ้างเดิม ประกาศของจำเลยฉบับดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแก่โจทก์รายใดจึงขึ้นอยู่กับโจทก์รายนั้น ๆ ให้ความยินยอมรับเอาเงินโบนัสตามประกาศของจำเลยเป็นสำคัญ
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
เงินโบนัสประจำปีมีประเพณีปฏิบัติกำหนดจ่ายภายในวันสิ้นปี จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน ดังนั้น โจทก์รายที่ยังไม่ได้รับเงินโบนัส และโจทก์รายที่ได้รับเงินโบนัสประจำปีไปแล้วบางส่วน เมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสประจำปี จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์ดังกล่าว การที่จำเลยไม่จ่ายจึงตกเป็นผู้ผิดนัด แม้ได้ความว่าจำเลยได้ปิดประกาศเรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบอันอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติการขอชำระหนี้ก็ตาม แต่ตามประกาศนั้นกำหนดเงินโบนัสที่จะจ่ายน้อยกว่าสิทธิที่โจทก์แต่ละรายจะพึงมีสิทธิได้รับตามข้อตกลงในส่วนที่เป็นสภาพการจ้าง การที่โจทก์เหล่านั้นปฏิเสธจึงมีมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับเงินโบนัสประจำปีพิพาท เมื่อจำเลยไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีตามวันที่กำหนดย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7213/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: สิทธิลูกจ้างในการกลับเข้าทำงาน, ค่าเสียหาย, และการนับอายุงานต่อเนื่อง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้างแทนการรับกลับเข้าทำงานในกรณีลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานแล้วจะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายหรือจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานอีกไม่ได้เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และได้รับความเดือดร้อนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายจนถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งกรณีนี้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้ว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
มาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองลูกจ้าง เพื่อมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยให้อำนาจศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้ระบุให้ศาลมีอำนาจนับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามไว้และการนับอายุงานต่อเนื่องเป็นการรักษาสิทธิของลูกจ้างที่มีอยู่แล้วมิให้เสียไปเพราะการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจให้นับอายุงานต่อเนื่องได้ แต่จะนับระยะเวลาตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงให้นับอายุงานใหม่ต่อกับอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย: การประเมินเจตนาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) มีความมุ่งหมายที่จะให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างที่ตั้งใจหรือมีเจตนากระทำการโดยรู้ว่าการกระทำของตนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเท่านั้น มิได้มุ่งเน้นที่ความเสียหายว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพียงใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ตั้งใจตามมาตรา 119(3) ที่มีเงื่อนไขว่า ความเสียหายที่นายจ้างได้รับจะต้องถึงขั้นเสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฉะนั้นไม่ว่าการกระทำของโจทก์จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญที่จะนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัย
หมายแจ้งคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้บริษัทจำเลยใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการผลิตกระดาษในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงงานดังกล่าวมีไปถึงบริษัทจำเลย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลคือ ช. กรรมการผู้จัดการจำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัทจำเลยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานและคำสั่งของ ช. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว แต่โจทก์ได้แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัท อ. ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์กับจำเลย และขอจัดประชุมเพื่อให้พนักงานของจำเลยที่มีอยู่ประมาณ 200 คน สมัครใจว่าจะเป็นลูกจ้างใคร กับทั้งจะนำคนงานบริษัท อ. เข้ามาในโรงงานซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่พนักงานของจำเลย และเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยและมีเจตนาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามกับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้คำสั่งของศาลเป็นไปโดยถูกต้องและบรรลุผลโดยสุจริตใจ ซึ่งนอกจากเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยอีกด้วย
หมายแจ้งคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้บริษัทจำเลยใช้เครื่องจักรเครื่องยนต์ในการผลิตกระดาษในคดีที่บริษัท อ. ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าโรงงานดังกล่าวมีไปถึงบริษัทจำเลย ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลคือ ช. กรรมการผู้จัดการจำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่บริหารงานบุคคลภายในบริษัทจำเลยให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการทำงานและคำสั่งของ ช. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ไม่มีหน้าที่ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลดังกล่าว แต่โจทก์ได้แสดงตนเป็นพนักงานของบริษัท อ. ซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายปฏิปักษ์กับจำเลย และขอจัดประชุมเพื่อให้พนักงานของจำเลยที่มีอยู่ประมาณ 200 คน สมัครใจว่าจะเป็นลูกจ้างใคร กับทั้งจะนำคนงานบริษัท อ. เข้ามาในโรงงานซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่พนักงานของจำเลย และเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ พฤติการณ์ของโจทก์เป็นการทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยและมีเจตนาจะให้ความร่วมมือช่วยเหลือฝ่ายตรงข้ามกับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำเพื่อให้คำสั่งของศาลเป็นไปโดยถูกต้องและบรรลุผลโดยสุจริตใจ ซึ่งนอกจากเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว ยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยอีกด้วย