คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย จึงประเสริฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,006 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากเอกสาร การค้ำประกัน และผลกระทบต่อความรับผิดในสัญญากู้ยืม
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชอบตามสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากโจทก์ แต่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ยืมเงินมอบให้โจทก์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความ เพื่อให้ผ่อนผันการจับกุม ย. ตามหมายจับของศาล และเพื่อค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาของการลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงิน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ หรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันเป็นการต้องห้ามมิให้นำสืบไม่
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางขึ้นอ้างไว้ในคำให้การ และศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่าสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นนิติกรรมอำพรางการค้ำประกัน แต่การค้ำประกันตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็หมายถึงการค้ำประกันหนี้ของ ย. ที่มีต่อ พ. ซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ และก่อนที่จะวินิจฉัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยไว้ชัดแจ้งในเบื้องต้นแล้วว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ดังนั้น ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นการนอกประเด็นหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยตามกฎหมาย: การตีความอัตราดอกเบี้ยขัดแย้งกันในสัญญา
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 มีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปกลับเขียนว่าร้อยละ 1.50 ต่อเดือน ซึ่งขัดแย้งกันเอง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน นั้นผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง จึงต้องตีความว่าข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยได้ถึงอัตราร้อยละ 1.50 ต่อเดือน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะ ผลเท่ากับไม่มีข้อตกลงให้คิดดอกเบี้ย แต่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 อีกฉบับหนึ่งมีข้อความเป็นตัวพิมพ์ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปที่เว้นช่องว่าไว้สำหรับกรอกกำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยกลับเขียนว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ย จึงขัดแย้งกันและเป็นที่สงสัย โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานประกอบการแปลความหมายตามเจตนาแท้จริงของการทำข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยได้ เพราะเท่ากับเป็นการนำสืบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3375/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน: การตีความสัญญาขัดแย้ง, เจตนาแท้จริง, และอัตราดอกเบี้ยที่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับแรก ข้อ 2 มีข้อความเป็นตัวพิมพ์ระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปกลับเขียนอัตราดอกเบี้ยไว้ว่าร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ซึ่งขัดแย้งกันเอง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ที่เขียนไว้นั้นผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องอย่างไร จึงต้องตีความว่าข้อตกลงดังกล่าวให้สิทธิโจทก์คิดดอกเบี้ยได้ถึงอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่สอง ข้อ 2 มีข้อความเป็นตัวพิมพ์ระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน แต่ข้อความถัดไปที่เว้นช่องว่างไว้สำหรับกรอกกำหนดเวลาชำระดอกเบี้ยนั้นกลับมีข้อความเขียนว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ข้อความทั้งสองแห่งดังกล่าวจึงขัดแย้งกันและเป็นที่สงสัย โจทก์ย่อมมีสิทธินำพยานประกอบการแปลความหมายตามเจตนาแท้จริงของการทำข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยได้ เพราะเท่ากับเป็นการนำสืบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิดตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เมื่อข้อความที่ระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน ยังปรากฏอยู่โดยมิได้ขีดฆ่าหรือกระทำโดยประการอื่นเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีเจตนาจะให้มีผลบังคับ ส่วนข้อความที่เขียนว่าไม่ต้องเสียดอกเบี้ยก็ปรากฏอยู่ในข้อความที่เกี่ยวกับกำหนดเวลาชำระดอกเบี้ย ทั้งไม่มีข้อความอื่นใดที่แสดงว่าผู้ให้กู้ไม่ประสงค์จะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจากผู้กู้ตลอดไป เมื่อพิจารณาสัญญา ข้อ 3 ที่กำหนดให้ผู้กู้ชำระหนี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2540 ประกอบด้วยแล้ว มีเหตุผลรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกร้องเอาดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายในกำหนดเท่านั้น แต่หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์จึงจะเรียกร้องเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยชั่งละ 1 บาท ต่อเดือน หรือเท่ากับอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อสิทธิจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิบังคับคดีได้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีการที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลาง เป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดีและการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อหรือรับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษามาจากการขายทอดตลาดซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยทั้งสองในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีโดยอาศัยเหตุดังกล่าวก็มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีอยู่ตามคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง พิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ของลูกหนี้
แม้โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาของที่ได้ส่งมอบซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1) ก็ตาม แต่ความในตอนท้ายของมาตรานี้บัญญัติกรณีเป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งต้องพิจารณาถึงกิจการของลูกหนี้ว่าประกอบกิจการประเภทใดเป็นกรณีไป การที่จำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสาร โดยที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยทั้งสอง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้น ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง: กรณีใช้ในกิจการลูกหนี้
แม้โจทก์จะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบซึ่งมีกำหนดอายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ก็ตาม แต่ความในตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) บัญญัติกรณีเป็นข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในกำหนดอายุความสองปีไว้ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง ซึ่งต้องพิจารณาถึงกิจการของลูกหนี้ว่าประกอบกิจการประเภทใดเป็นกรณีไป การที่จำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสารโดยที่จำเลยทั้งสองประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยทั้งสอง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความสองปีตามความในตอนท้ายของมาตรา 193/34 (1) แล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองซื้อน้ำมันเชื่อเพลิงจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายหรือไม่ ตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับกิจการขนส่ง: ข้อยกเว้น 2 ปี ใช้ไม่ได้, อายุความ 5 ปี
จำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์ไปใช้กับรถยนต์โดยสารโดยที่จำเลยประกอบกิจการรับจ้างขนส่งคนโดยสารและขนส่งสินค้า ถือได้ว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อใช้ในกิจการของจำเลยต้องด้วยข้อยกเว้นไม่อยู่ในกำหนดอายุความสองปีตามความในตอนท้ายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากโจทก์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือนำไปใช้ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายหรือไม่ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความห้าปีตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และคืนค่าขึ้นศาล
ฟ้องเคลือบคลุมในคดีแพ่งไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) การที่ศาลยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยมิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาโดยชัดเจนถึงข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดของจำเลยแล้วจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 (2) (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีละเมิดลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ: สิทธิฟ้องคดีแพ่งก่อนการปรับโครงสร้าง
คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 ให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้ละเมิดซึ่งเกิดเหตุเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2545 ส่วนศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และตั้งผู้บริหารแผนเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 และต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้บริหารแผนชั่วคราวเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ดังนี้ เมื่อหนี้คดีนี้อันเกิดจากมูลละเมิดเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 2 และแผนพื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/62 และไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (4)
of 101