คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เจียมจูไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากยิงปืนในกลุ่มผู้ก่อเหตุ การกระทำเล็งเห็นผลถึงแก่ความตาย
การที่จำเลยใช้ปืนอันเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงยิงเข้าไปในกลุ่มของผู้ตายจำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่ากระสุนปืนอาจจะถูกผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มนั้นถึงแก่ความตายได้ เมื่อกระสุนปืนที่ยิงถูกผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามวงเงินและข้อตกลง
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาจำนองระบุว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 19 ต่อปีมาตั้งแต่แรกก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันปรากฏว่าในวันที่ 2 เมษายน 2528 ระบุดอกเบี้ยว่า ร้อยละ 15 และร้อยละ 19 แสดงว่าในวันดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยภายในวงเงินในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หากเกินวงเงิน โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันมาตั้งแต่แรกและตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้น แต่ขณะที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ในวันทำสัญญาภายในวงเงินคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และส่วนที่เกินวงเงินคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี โดยมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 4 ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 นอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาซึ่งขณะนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญา จึงมิได้คิดเพิ่มขึ้นเพียงแต่แยกวงเงินออกเป็น สัดส่วนเท่านั้น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลไม่มีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: ความยินยอมผู้ขับขี่ทำให้ผู้ขับขี่เสมือนผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัท น. จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยมีข้อตกลงว่า บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง... ซึ่งแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะแตกต่างกับ ป.พ.พ. มาตรา 887 ซึ่งผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะและใช้บังคับได้ตามกฎหมาย แม้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยชนกับรถของโจทก์โดยละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์และนั่งมาในรถยนต์ด้วย จึงฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 2 ให้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัย จึงต้องถือเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยตามข้อตกลงในกรมธรรม์ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์และทำละเมิดเอง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนจึงต้องร่วมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: ผลผูกพันเมื่อผู้ขับขี่ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย แต่ได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันภัยและเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์ โดยขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ" แต่ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.6 มีข้อตกลงว่า "บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง?" ซึ่งแม้จะแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่เป็นโมฆะและใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และแม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์และนั่งมาในรถยนต์ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 2 ให้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัย จึงต้องถือเสมือนหนึ่งว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 2.6 เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์และทำละเมิดเอง จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถาหลังยื่นอุทธรณ์: ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเด็ดขาด, ฎีกาไม่ได้, ค่าฤชาธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์อีกต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ มิฉะนั้นคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นคำสั่งศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ตอนท้าย จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลอุทธรณ์ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในตั๋วสัญญาใช้เงิน การสลักหลังห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยขัดต่อกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 899 บัญญัติว่า "ข้อความอันใดซึ่งมิได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายลักษณะนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้นไม่" อันเป็นบทบัญญัติเบ็ดเสร็จทั่วไปใช้บังคับกับตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็ค ส่วนมาตรา 915 บัญญัติว่า "ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินและผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดีจะจดข้อกำหนดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ลงไว้ชัดแจ้งในตั๋วนั้นก็ได้คือ (1) ข้อกำหนดลบล้างหรือจำกัดความรับผิดของตนเองต่อผู้ทรงตั๋วเงิน?" ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินไม่ได้บัญญัติไว้ในบทเบ็ดเสร็จทั่วไปเช่นเดียวกับมาตรา 899 และ มาตรา 985 ซึ่งบทบัญญัติในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 915 มาใช้กับตั๋วสัญญาใช้เงิน ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความว่า ห้ามใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังนั้นเป็นข้อความที่ขัดต่อมาตรา 983 (2) หาเป็นผลบังคับแก่ตั๋วสัญญาใช้เงินตามมาตรา 899 ไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4556/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าเสียหายจากประกันภัยหลังรถยนต์สูญหาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ร่วมกันใช้ราคารถยนต์พิพาท จำเลยทั้งสี่ให้การว่า รถยนต์พิพาทสูญหายไป เห็นว่าจำเลยทั้งสี่ไม่อาจคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ซึ่งหากจำเลยทั้งสี่ต้องชำระราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้กับจำเลยร่วม และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ราคารถยนต์พิพาทให้โจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าทดแทนสำหรับความเสียหายของรถยนต์พิพาทจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยทั้งสี่จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) และเมื่อศาลชั้นต้นได้มีหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามที่จำเลยทั้งสี่ขอดังกล่าวแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยร่วมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยให้โจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4428/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมก่อสร้างผิดสัญญา: จำเลยทั้งสองต้องรับผิดคืนเงินค่าก่อสร้างและค่าเสียหายต่อโจทก์
จำเลยทั้งสองทำสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิต่อกัน โดยจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างอาคาร โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 2 และทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์กับจำเลยที่ 1 มีกำหนด 28 ปี แต่การก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด ไม่มีการสร้างส่วนที่เป็นที่พลาซ่าและส่วนที่เป็นตลาด โจทก์จึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง ซึ่งตามสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิ ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้รับผลประโยชน์จากการก่อสร้างอาคารตามรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจน ในลักษณะที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกแบบแปลนและแก้ไขแบบแปลนตามความต้องการได้ การยื่นขออนุญาตแบบแปลนอาคารใช้ชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ควบคุมรูปแบบการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา และยอมให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิหาคนเช่าและเรียกเงินค่าก่อสร้างจากผู้มาจองเช่าอาคาร โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้กับผู้มาจอง โดยเฉพาะอาคารพลาซ่าระบุว่าเมื่อหักค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายแล้วกำไรให้แบ่งกันคนละครึ่ง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นคู่สัญญาร่วมประโยชน์ในทางการค้าที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดตามที่ได้แจ้งแก่โจทก์ผู้ทำสัญญาว่าจ้างอาคารกับจำเลยที่ 2 เพื่อให้ได้สิทธิจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาก่อสร้างยกสิทธิ เมื่อการก่อสร้างไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด จำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์คืนเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4348/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบ หากไม่วางค่าธรรมเนียมศาลพร้อมคำอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่คำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่กำหนดให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น มิได้ใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น แม้คดีนี้จำเลยเพียงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในชั้นขอพิจารณาใหม่ และมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เป็นสาระเนื้อหาในคำฟ้องโจทก์แต่เป็นการที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว ซึ่งอาจมีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น กรณีจึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที กรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องให้ศาลสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งไม่รับคำคู่ความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเสียก่อนจึงชอบแล้ว
of 44