คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เจียมจูไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากรายละเอียดชัดเจนขึ้นและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัทอีเกีย เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่งพนักงานฝ่ายจัดซื้อได้หลอกลวงโจทก์หลายครั้งว่า ถ้าโจทก์ต้องการขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าว โจทก์ต้องชำระค่าตอบแทน แก่ผู้บริหารของบริษัทนี้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่โจทก์ขายได้ในแต่ละงวด มิฉะนั้นบริษัทดังกล่าวจะไม่ตกลงซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นข้อความเท็จทำให้โจทก์หลงเชื่อ โจทก์จึงได้จ่ายเงินโดยนำเงินเข้าบัญชีของธนาคารตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์หลายครั้ง แม้คำฟ้องไม่มีข้อความว่า โดยทุจริต แต่จากคำบรรยายฟ้องมีความหมายบ่งบอกอยู่ในตัวว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคำฟ้อง ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ใดเมื่อบัตรเครดิตถูกรับที่ทำงานจำเลย
คำว่ามูลคดีหมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง ตามสำเนาใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตระบุว่าสถานที่รับบัตรและส่งใบเรียกเก็บเงินคือที่ทำงานของจำเลย ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มิใช่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ ดังนั้น การอนุมัติและการออกบัตรเครดิตโดยสำนักงานใหญ่ของโจทก์จึงเป็นเพียงขั้นตอนปฏิบัติของโจทก์เท่านั้น เมื่อจำเลยรับบัตรเครดิต ณ ที่ทำงานของจำเลยอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยจะสามารถนำบัตรเครดิตของโจทก์ไปใช้แทนการชำระค่าสินค้าค่าบริการ และหรือใช้ถอนเงินสดจากสำนักงานสาขาของโจทก์ หรือเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ จนเป็นเหตุพิพาทซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิและมูลหนี้ตามฟ้องหากปราศจากเหตุและขั้นตอนสุดท้ายดังกล่าวเสียแล้ว โจทก์จำเลยย่อมไม่มีนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับบัตรเครดิตหรือสินเชื่อต่อกัน เช่นนี้ มูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง ที่ศาลแขวงพระโขนงสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามกฎหมายและเจตนาของคู่สัญญา การชำระหนี้ล่าช้าไม่ถือเป็นการผิดนัดหากคู่สัญญามิได้ถือเป็นสาระสำคัญ
การบอกเลิกสัญญาจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 คือ จำเลยจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดเวลานั้น ถ้าโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ จึงจะถือว่าโจทก์ผิดนัดและจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแม้สัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที โดยไม่คำนึงว่าจำเลยเคยผ่อนผันการผิดสัญญาเช่นนั้นมาก่อนก็ตาม แต่การผ่อนผันการผิดสัญญาตามข้อสัญญาดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาผ่อนผันการผิดสัญญาครั้งก่อนๆ โดยมิได้ยินยอมให้มีการผิดสัญญาในครั้งต่อๆ ไปได้ด้วย แต่การที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาโดยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงหาใช่กรณีที่จำเลยยอมผ่อนผันการผิดสัญญาให้แก่โจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิที่จะยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์ การที่จำเลยไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่กำหนด แต่จำเลยก็ยินยอมรับค่าเช่าซื้อตลอดมา โดยมิได้เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการชำระล่าช้า จนถือได้ว่าคู่สัญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่ถือว่าโจทก์ทำผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิจะคิดค่าปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้าจากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดี: ราคาประเมินไม่ใช่ราคาที่แท้จริง, ผู้เข้าสู้ราคาสูงสุดกำหนดราคา
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดมานั้น เป็นเพียงการประมาณราคาตามความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเปรียบเทียบกับราคาทรัพย์สินที่ใกล้เคียงหรือราคาประเมินของทางราชการ ราคาที่ประเมินนี้อาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริงก็ได้ คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ 37,838,500 บาท ในขณะที่จำเลยอ้างว่าทรัพย์มีราคา 51,150,000 บาท ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินกับราคาที่จำเลยอ้างจึงไม่ได้แตกต่างกันมากนัก และราคาที่ประเมินไว้ก็ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง ไม่มีหลักเกณฑ์ใดผูกมัดว่าการขายทอดตลาดต้องเป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้ ขึ้นอยู่กับผู้เข้าราคาว่าจะให้ราคาสูงสุดเพียงใด จึงถือไม่อาจร้องขอต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง เพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ที่ยึดใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันต้องขังในคดีอื่นออกจากโทษคดีปัจจุบัน หลักเกณฑ์ตาม ป.อ.มาตรา 22
ตาม ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก ที่บัญญัติให้นำจำนวนวันที่ผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษามาหักออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษานั้น จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีนั้นเอง หาใช่ถูกคุมขังในคดีอื่นแต่อย่างใดไม่ แม้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามไว้ว่า เมื่อจำเลยถูกหมายขังในคดีหนึ่งแล้วจะถูกหมายขังในคดีอื่นอีกไม่ได้ก็ตาม แต่ปรากฏว่านับตั้งแต่จำเลยถูกฟ้องร่วมกับ ร. ตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 456/2541 ของศาลชั้นต้น จำเลยมิได้ถูกคุมขังเนื่องจากได้รับการปล่อยชั่วคราวตลอดมา การที่ต่อมาจำเลยไปกระทำความผิดและถูกคุมขังระหว่างพิจารณาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลจังหวัดสุโขทัย ก็เป็นการถูกคุมขังเฉพาะในคดีดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 456/2541 ของศาลชั้นต้น แม้ต่อมา ร. จะให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยเข้ามาใหม่เป็นคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็มิได้ออกหมายขังจำเลยในคดีนี้แต่อย่างใด ศาลชั้นต้นเพิ่งออกหมายขังจำเลยหลังจากศาลจังหวัดสุโขทัยดำเนินการแก่จำเลยเสร็จ และส่งตัวจำเลยมาดำเนินคดีนี้ การที่จำเลยถูกคุมขังตามคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกคุมขังในคดีนี้ด้วย จึงนำวันต้องขังของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 937/2541 ของศาลจังหวัดสุโขทัย มาหักโทษตามคำพิพากษาในคดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความบกพร่องในการแต่งตั้งทนายความหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์สามารถแก้ไขได้ก่อนมีคำพิพากษา และการพิสูจน์หนี้ตามเช็คพิพาท
การที่ใบแต่งทนายความของโจทก์ใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. แทนที่จะใช้ตราประทับของบริษัทโจทก์ เป็นผลมาจากการหยิบตราประทับผิด อันเป็นการผิดพลาดบกพร่องในตัวผู้แต่งทนายความไม่ใช่การพิจารณาผิดระเบียบ แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องเข้ามาใหม่พร้อมคำแก้อุทธรณ์ อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะสั่งสอบสวนหรือยอมรับการแก้ไขนั้นได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ว่าฝ่ายจำเลยจะยกเอาข้อบกพร่องนี้ขึ้นอุทธรณ์ด้วยหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยว่าลายมือชื่อผู้แต่งทนายไม่เหมือนและไม่ใช่ลายมือชื่อของ บ. ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะจำเลยอุทธรณ์ว่า บ. ลงลายมือชื่อและประทับตราของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นการกระทำในนามของห้างไม่ใช่บริษัทโจทก์ นอกจากนี้บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่ว่าไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา... นั้น มิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาล เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์บกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นรับขึ้นมาแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงเห็นสมควรอนุญาตยอมรับการแก้ไขนั้น ดังนี้อำนาจฟ้องที่ไม่สมบูรณ์จึงกลับเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่แรก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทบริหารสินทรัพย์: การโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ เป็นการกระทำโดยสุจริต
ผู้ร้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แตกต่างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของผู้ร้องเกือบทั้งหมด แต่ผู้ร้องก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ ซึ่งการจัดตั้งหรือการจดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ล้วนแต่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องแล้วทั้งสิ้น การโอนหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพจึงเป็นไปโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำเบิกความของพยาน จำเลยต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิคัดค้าน หากไม่โต้แย้งถือว่ายอมรับ
ในระหว่างที่ศาลอ่านบันทึกคำให้การให้พยานฟัง หากพยานจะขอแก้ไขคำเบิกความส่วนใดที่เห็นว่าไม่ถูกต้องย่อมเป็นสิทธิของพยานที่จะแถลงต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดเน้นว่าการขอแก้ไขดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไรต้องแถลงโต้แย้งไว้เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจว่าคำเบิกความดังกล่าวว่าสมควรรับฟังได้เพียงใด เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ ทั้งจำเลยและทนายจำเลยยังได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของข้อความในบันทึกคำให้การพยานที่ศาลบันทึกไว้ ซึ่งต้องถือว่าจำเลยยอมรับการแก้ไขดังกล่าวและต้องฟังเป็นยุติว่าพยานเบิกความไว้ตามที่บันทึกแก้ไขไว้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการ, และการฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นอย่างไร อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)
of 44