คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เจียมจูไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และการพิจารณาฟ้องซ้ำ/ฟ้องซ้อน
ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะใช้ดุลพินิจกระทำได้เมื่อปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยต่างนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบจนเสร็จสิ้นกระแสความแล้ว เพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเสียให้เสร็จสิ้นโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 อันมีลักษณะเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันมาจากการซื้อขายโดยสละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้และตกลงจะแบ่งแยกให้ภายหลัง ประเด็นข้อพิพาทคดีทั้งสองจึงแตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054-5055/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลาง: แหวนไม่ใช่เครื่องมือพิเศษทำร้ายร่างกาย
แหวนและหัวแหวนของกลางมีลักษณะเป็นแหวนพลอยเหมือนกับแหวนธรรมดาทั่วไป และเมื่อจำเลยที่ 1 ชกต่อยโจทก์ร่วม ปรากฏว่าหัวแหวนได้หลุดออกจากตัวแหวนทันที แสดงว่าแหวนและหัวแหวนของกลางไม่มีลักษณะพิเศษที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อประสงค์ใช้ในการชกต่อยใบหน้าโจทก์ร่วม เพื่อให้เกิดบาดแผลอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น แต่เป็นเครื่องประดับที่ใช้กันอยู่ทั่วไป จึงฟังไม่ได้ว่าแหวนและหัวแหวนของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์ ต้องพิจารณาเวลาเกิดเหตุ หากไม่ปรากฏชัดต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดแม้พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวแม้มิได้มีฝ่ายอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษลักทรัพย์: จำเลยได้รับประโยชน์จากข้อสงสัยเรื่องเวลาเกิดเหตุ
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำความผิดของจำเลยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดไม่ถือเป็นการจำหน่าย และผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ต่อโทษ
การที่ ส. เป็นผู้ใช้ให้จำเลยไปซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางนั้น ฟังได้เพียงว่าจำเลยซื้อและครอบครองเมทแอมเฟตามีนแทน ส. เท่านั้น ส่วนการที่จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนที่ซื้อมาดังกล่าวไปให้ ส. ในภายหลัง ก็เป็นการส่งมอบระหว่างผู้กระทำผิดด้วยกันเอง หาใช่การให้อันจะถือว่าเป็นการจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 ไม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่ได้กำหนดปริมาณเมทแอมเฟตามีนที่คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไว้ว่าต้องมีไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา 15 วรรคสาม(2) คือ 375 มิลลิกรัม อันเป็นการแตกต่างจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 เดิม ซึ่งจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ดังนั้น กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยในส่วนนี้ ส่วนกำหนดโทษนั้นตามกฎหมายเดิมให้ลงโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท สำหรับกฎหมายที่แก้ไขใหม่กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ แม้ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกเท่ากันและตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จะได้กำหนดโทษปรับสูงกว่าโทษปรับตามกฎหมายเดิม แต่ก็เป็นการบัญญัติให้ลงโทษจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากกฎหมายเดิมที่กำหนดให้ลงโทษจำคุกและปรับเท่านั้น จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด และกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่าในส่วนที่เกี่ยวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงได้ ส่วนโทษปรับนั้นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดเป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์ จำเลยต้องมีเจตนาชักชวนหรือร่วมกระทำความผิด การรับสารภาพอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ชวนผู้เสียหายที่ 1 ค. และ ซ. ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเที่ยว จำเลยที่ 1 มาพบระหว่างทาง จึงตามไปด้วย โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ชักชวนหรือให้ ค. ชักชวนผู้เสียหายที่ 1 ไปเที่ยว โจทก์มีแต่คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนเท่านั้นว่าร่วมกันพรากผู้เสียหายที่ 1 ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร แต่คำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงพยานบอกเล่าการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด ตัวการให้สัตยาบัน ผูกพันตามสัญญา แม้มอบอำนาจจำกัด
จำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท โครงการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ส่วนใหญ่จำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 ก็จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในการดำเนินกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ
จำเลยที่ 3 ทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายและรับเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ผ่อนชำระเงินคืนให้แก่โจทก์รวม 8 งวดต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ ธ. จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมเข้าผูกพันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ต้องปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เข้าทำข้อตกลงโดยพลการและมูลหนี้ที่ตกลงชำระกันเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบได้ อีกทั้งการให้สัตยาบันดังกล่าวมีผลผูกพันให้ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด มิใช่เป็นการให้สัตยาบันเฉพาะในมูลหนี้ที่ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทน-การให้สัตยาบัน: ตัวการผูกพันตามข้อตกลงที่ตัวแทนทำ แม้มีข้อจำกัดอำนาจ
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นแต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ.5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้างบ้านกับรับเงินแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำสัญญากับลูกค้าด้วยตนเอง เมื่อมีปัญหาจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้เจรจาตกลงซึ่งทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 มีอำนาจในการดำเนินการกิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนในกิจการของตน การที่จำเลยที่ 3 เจรจาตกลงทำบันทึกเอกสารหมาย จ. 5 จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผ่อนชำระเงินคืนให้โจทก์ถึง 8 งวด ตามบันทึกข้อตกลงและจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขายที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์ตกลงคืนให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้สัตยาบันในการกระทำของจำเลยที่ 3 แล้ว มีผลผูกพันให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงทั้งหมด
of 44