พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ไม่ใช่ค่าเช่า, ใช้ อายุความ 10 ปี
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญารวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อ การฟ้องเรียกค่าเสียหายดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ได้ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถสูญหาย ศาลลดค่าเสียหายและยกเลิกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 12 ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาดังกล่าวได้ ต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติทั่วไป สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไป ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ให้เช่าซื้อไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาดังกล่าว สำหรับค่าขาดประโยชน์ จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายให้โจทก์ประจำงวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้องวดต่อไปวันที่ 2 มิถุนายน 2542 แต่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันในวันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ผิดนัดหรือค้างชำระค่าเช่าซื้อแต่อย่างใด และค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์ก่อนรถยนต์สูญหาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดประโยชน์เช่าซื้อรถ และสิทธิริบเงินดาวน์เมื่อผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติอายุความในกรณีนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันวันที่ 30 พฤษภาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 10 กันยายน 2544 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 นั้น เป็นเรื่องเช่าทรัพย์ จะเอามาใช้กับสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อไม่ได้
ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิริบเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ไว้แล้วรวมทั้งเงินดาวน์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง
อายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 นั้น เป็นเรื่องเช่าทรัพย์ จะเอามาใช้กับสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อไม่ได้
ผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิริบเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ไว้แล้วรวมทั้งเงินดาวน์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยโดยผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ทุก 7 วัน ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่ยังคงค้างชำระค่าปรับ ปัญหาที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าปรับกรณีชำระค่าเช่าซื้อล่าช้าหรือไม่ และต้องชำระค่าปรับให้แก่จำเลยหรือไม่ เพียงใด เป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับประเด็นที่ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อแก่จำเลยหรือไม่ โจทก์รับว่าค้างชำระค่าปรับแก่จำเลยตามสัญญาจริงเพียงแต่โต้แย้งว่าค่าปรับสูงเกินไป คดีจึงมีปัญหาว่าค่าปรับตามสัญญา เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนหรือไม่ เมื่อสัญญาเช่าซื้อมีข้อสัญญาว่า โจทก์ (ผู้ซื้อ) ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลย (ผู้ขาย) โดยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จ เท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอนุญาตพิจารณาคดีใหม่เป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงอยู่ภายใต้บังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้ว จึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในข้อที่โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์นี้แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามมาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองโดยสุจริตของผู้รับจำนอง vs สิทธิครอบครองของผู้ไม่จดทะเบียน การคุ้มครองผู้ได้สิทธิโดยเสียค่าตอบแทน
โจทก์รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เมื่อโจทก์เสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาย่อมไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองได้เต็มสัญญา ผู้ร้องจะขอกันส่วนของตนจากเงินที่ขายทอดตลาดที่ดินจากการบังคับจำนองหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล: การจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีทุพพลภาพชั่วคราว มิได้มีข้อยกเว้นในสัญญา
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองบรรยายว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้มีประกันภัยได้นำรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้ไปประสบอุบัติเหตุจนได้รับอันตรายสาหัส ระบบขับถ่ายและการย่อยอาหารผิดปกติมีอาการปวดท้องเป็นบางครั้งและไม่หาย เรี่ยวแรงลดน้อยถอยลงจนไม่อาจทำงานหนักที่โจทก์ที่ 2 ต้องทำเป็นประจำได้ บาดแผลภายในเกิดการอักเสบ โจทก์ที่ 2 ถูกตัดลำไส้บางส่วนออกไปประมาณ 20 เซนติเมตร ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ทุพพลภาพถาวร ซึ่งตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีประกันภัยคือ โจทก์ที่ 2 ผู้ได้รับอุบัติเหตุทุพพลภาพถาวรในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โจทก์ทั้งสองจึงขอใช้สิทธิเรียกร้องเงินค่าทดแทนดังกล่าวตามสัญญาในฐานะคู่สัญญาและในฐานะผู้รับประโยชน์ให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 100,000 บาท ตามคำฟ้องดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยโดยบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บอย่างไรและมีอาการอย่างไร คำฟ้องโดยหลักเป็นเรื่องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัย ส่วนที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าจึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 2 ผู้มีประกันภัยทุพพลภาพถาวรนั้น เป็นความคิดเห็นของโจทก์ทั้งสองถึงลักษณะของบาดแผล อาการบาดเจ็บและผลที่เกิดขึ้น เมื่อศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ทุพพลภาพถาวร แต่เป็นเรื่องทุพพลภาพชั่วคราว ศาลมีอำนาจพิพากษาได้เพราะคำฟ้องโจทก์ทั้งสองบรรยายครอบคลุมถึงอยู่แล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ที่ 2 โดยเหตุโจทก์ทุพพลภาพชั่วคราวจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
สัญญาประกันภัยคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4 ข้อ ข้อ 1 เสียชีวิต ข้อ 2 สูญเสียมือ เท้า สายตา ข้อ 3 ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4 ทุพพลภาพชั่วคราว จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีข้อสัญญาข้อใดระบุยกเว้นไว้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดกรณีทุพพลภาพชั่วคราว จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ดังกล่าว
สัญญาประกันภัยคุ้มครองการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล 4 ข้อ ข้อ 1 เสียชีวิต ข้อ 2 สูญเสียมือ เท้า สายตา ข้อ 3 ทุพพลภาพถาวร ข้อ 4 ทุพพลภาพชั่วคราว จำนวนเงินเอาประกันภัยต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีข้อสัญญาข้อใดระบุยกเว้นไว้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดกรณีทุพพลภาพชั่วคราว จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาที่ระบุไว้ดังกล่าว