พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: ทายาท vs. ความรับผิดส่วนตัว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันของคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ต้องเป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ฟ้อง สำหรับคดีนี้มีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 แต่งตั้งทนายความและในใบแต่งระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ ก็หมายถึงมอบอำนาจให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นทายาทของ ท. ตามคำฟ้องเท่านั้น แม้ทนายความจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีข้อความว่า เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดในฐานะส่วนตัว และในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย และทำยอมกันนั้นก็หมายความว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่ยอมรับผิดทั้งในฐานะส่วนตัวและฐานะของทายาทของ ท. สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ย่อมมีเจตนายอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทของ ท. มิใช่รับผิดเป็นการส่วนตัว สัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว คำพิพากษาตามยอมคงมีผลสมบูรณ์บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดในฐานะทายาทของ ท. เท่านั้น
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันของคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ต้องเป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ฟ้อง สำหรับคดีนี้มีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 แต่งตั้งทนายความและในใบแต่งระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ ก็หมายถึงมอบอำนาจให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นทายาทของ ท. ตามคำฟ้องเท่านั้น แม้ทนายความจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีข้อความว่า เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดในฐานะส่วนตัว และในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย และทำยอมกันนั้นก็หมายความว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่ยอมรับผิดทั้งในฐานะส่วนตัวและฐานะของทายาทของ ท. สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ย่อมมีเจตนายอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทของ ท. มิใช่รับผิดเป็นการส่วนตัว สัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว คำพิพากษาตามยอมคงมีผลสมบูรณ์บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดในฐานะทายาทของ ท. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สัญญาประกันชีวิตเริ่มต้นทำสัญญาที่จังหวัดตราด ถือเป็นมูลคดีในเขตศาลจังหวัดตราด
จ. มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ได้ติดต่อผ่าน ว. นายหน้าขายประกันชีวิตของบริษัทจำเลยซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตราด โดย ว. เป็นผู้กรอกข้อความลงในใบคำขอเอาประกันชีวิตให้ จ. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้ขอเอาประกันภัย แล้วส่งเอกสารนั้นไปให้จำเลยซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิจารณารับคำขอเอาประกันชีวิตและออกกรมธรรม์ให้ ดังนี้ การเริ่มต้นทำสัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้นที่จังหวัดตราด กรณีถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดตราดอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดตราด ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 142/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เดิม, เบี้ยปรับลดได้, ความรับผิดผู้ค้ำประกัน, อายุความ 10 ปี
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนออกประมูลขายได้เงินน้อยกว่าข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าว จำนวน 284,007 บาท โดยีการลดค่าเสียหายเหลือเพียง 170,000 บาท และกำหนดจำนวนเงินที่จะต้องผ่อนชำระและระยะเวลาชำระเสร็จรวมทั้งกำหนดอัตราดอกเบี้ยขึ้นใหม่แตกต่างกับข้อตกลงและจำนวนค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเดิม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนังสือรับสภาพหนี้ มีผลให้หนี้เดิมตามสัญญาเช่าซื้อระงับไปและก่อให้เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าหากชำระไม่ผิดนัดในยอดเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลืออีกต่อไป หากผิดสัญญาตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนเงิน284,007 บาท และยินยอมเสียดอกเบี้ยในยอดเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญานั้น ข้อตกลงให้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน 284,007 บาท ในส่วนที่เกิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้
แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าว จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน ความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดในหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามสัญญาและตามกฎหมายสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจึงไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
หนี้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 อันเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วย โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 กันยายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่าหากชำระไม่ผิดนัดในยอดเงิน 170,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลืออีกต่อไป หากผิดสัญญาตกลงยินยอมให้โจทก์ฟ้องร้องบังคับคดีในจำนวนเงิน284,007 บาท และยินยอมเสียดอกเบี้ยในยอดเงินจำนวนดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญานั้น ข้อตกลงให้ชำระค่าเสียหายทั้งหมดจำนวน 284,007 บาท ในส่วนที่เกิน 170,000 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้
แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมดังกล่าว จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกัน ความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นความรับผิดในหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามสัญญาและตามกฎหมายสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจึงไม่ต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
หนี้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อันเป็นหนี้ประธานได้ระงับไปแล้ว ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 อันเป็นหนี้อุปกรณ์จึงระงับไปด้วย โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความวันที่ 10 ตุลาคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 29 กันยายน 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์โดยมีคำสั่งว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์สำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์" และในวันเดียวกันโจทก์แถลงขอให้ส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ข้ามเขตศาลโดยแนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์จำนวน 300 บาท เป็นค่าส่งหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งคำสั่งให้ทนายโจทก์ทราบว่าอัตราค่าส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ยังขาดค่าพาหนะอีก 100 บาท ให้นำเงินค่าพาหนะมาวางเพิ่ม โจทก์มีหน้าที่ต้องนำค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่ง ดังนั้น นอกจากโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งแล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วย ซึ่งในคดีนี้เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ข้ามเขตศาลและโจทก์ไม่ไปจัดการนำส่ง จึงต้องเสียเงินค่าพาหนะในการนำส่งให้เจ้าหน้าที่ศาลให้ครบถ้วน การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าโจทก์ไม่ได้วางเงินค่าพาหนะเพิ่มและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งรายงานเจ้าหน้าที่ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นเวลา 2 เดือนเศษ และเมื่อนับถึงวันที่นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปีเศษ โจทก์ก็ยังมิได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกสัญญา แม้ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อบางส่วน ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับการชำระเงินโดยไม่โต้แย้ง
ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยรับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่โต้แย้ง จึงต้องผูกพันตามความประสงค์ของคู่สัญญาที่ไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญเช่นกัน เมื่อจะบอกเลิกสัญญาจำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อเพียง 3 งวด การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อแต่จำเลยไม่ยอมรับอ้างว่าค้างชำระถึง 9 งวด จึงเป็นการไม่รับชำระหนี้โดยไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอ้างได้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาตามหนังสือบอกเลิกสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8010/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ของผู้พักอาศัย และสิทธิของผู้รับประกันภัย
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนรถยนต์คันเกิดเหตุที่หายไปให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์คันเกิดเหตุแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7596/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์คำสั่งและการฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อกฎหมายไร้สาระ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5593/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินเลยขอบเขตคำฟ้อง: การครอบครองปรปักษ์และการแลกเปลี่ยนที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเอาที่ดินของจำเลยมาแลกเปลี่ยนกับที่ดินมือเปล่าซึ่งเป็นที่สวนของโจทก์ทั้งสอง โดยให้โจทก์ทั้งสองได้คนละครึ่ง โจทก์ทั้งสองได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนแบ่งแยกให้โจทก์ทั้งสอง จำเลยให้การว่า ไม่ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับโจทก์ทั้งสอง จำเลยตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกับน้องสาวของจำเลยแต่ต่อมาได้ยกเลิกสัญญากันและน้องสาวได้นำที่ดินแปลงที่จะแลกเปลี่ยนไปออกเป็นโฉนดของน้องสาวเองแล้ว โจทก์ที่ 1 เข้าอยู่อาศัยโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย ตามคำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ได้แย่งการครอบครองเกิน 1 ปี ดังนั้น คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยสละสิทธิครอบครองแก่โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 แย่งการครอบครองจากจำเลยเพราะจำเลยไม่ฟ้องเอาคืนภายใน 1 ปี ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทจัดการกองทุนรวม: บริษัทหลักทรัพย์มีอำนาจฟ้องแทนกองทุนรวมเมื่อผิดสัญญา
โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการลงทุน ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้จัดตั้งกองทุนรวม 2 กองทุน และได้จดทะเบียนกองทุนรวมทั้งสองเป็นนิติบุคคลไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อออกหน่วยลงทุนมาจำหน่ายแก่ประชาชนนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือไปหาดอกผลโดยวิธีอื่นได้ เนื่องจากการจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่การจัดการกองทุนรวมโจทก์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ฯ มาตรา 117 ถึงมาตรา 132 โจทก์จึงมีอำนาจในการจัดการและรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนตามมาตรา 117 ประกอบด้วยมาตรา 124 วรรคสองและมาตรา 125 (1) และโจทก์ก็ได้จัดให้ธนาคาร ก. เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามมาตรา 121 และมาตรา 122 มีหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลควบคุมให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด และมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์จึงมิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนรวม ส่วนการกำหนดให้กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลเป็นเพียงการแยกหน่วยลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์สินของแต่ละกองทุนออกจากกันแยกต่างหากจากกองทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวม เมื่อจำเลยออกหุ้นกู้เสนอขายแก่นักลงทุนและโจทก์ได้ซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวในนามของทั้งสองกองทุนรวม ต่อมาจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือเสนอขายหุ้นต่อกองทุนรวมทั้งสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้