คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เจียมจูไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบริษัทหลักทรัพย์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว
กองทุนรวมเป็นการออกหน่วยลงทุนของแต่ละโครงการจำหน่ายแก่ประชาชนเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อหากำไรมาแบ่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง การขอจัดตั้งกองทุนรวมจึงต้องกระทำโดยบริษัทหลักทรัพย์ โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ทุนทวี 2 และกองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ก้าวหน้าแล้ว โจทก์ได้จัดให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทั้งสอง ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 121 และ 122 และได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสองเป็นกองทุนรวมตามเงื่อนไขในมาตรา 124 วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด และมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทหลักทรัพย์ อันเป็นการใช้สิทธิควบคุมบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเท่านั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนรวม ส่วนการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของทุนรวมตามมาตรา 124 วรรคสอง ที่มีผลทำให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลนั้น เป็นเพียงการแยกหน่วยลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์สินของแต่ละกองทุนรวมออกจากกันเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปหาผลประโยชน์ตามโครงการจัดการกองทุนรวม ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการจัดการกองทุนรวมใดก็ตกเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น และเป็นการแยกกองทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมต่างหากจากกองทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเท่านั้น การจัดการและการรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมยังเป็นอำนาจของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ต่อกองทุนรวมทั้งสองเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจัดการกองทุนรวม กรณีผิดสัญญาหุ้นกู้: บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
การจัดการและการรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมเป็นอำนาจของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 117 ประกอบด้วยมาตรา 124 วรรคสอง และมาตรา 125 (1) บริษัทหลักทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ต่อกองทุนรวมได้ มิใช่กองทุนรวมจะต้องฟ้องคดีเองในนามของกองทุนรวมซึ่งเป็นนิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขพินัยกรรมโดยการขีดฆ่าและพิมพ์ใหม่ ไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ หากไม่เข้าข่ายแก้ไขเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
ที่ผู้ตายขีดฆ่าคำว่า "ดังนี้" ออกไปเพราะเป็นการพิมพ์ข้อความตกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า "ให้มีผลเมื่อข้าพเจ้าตายแล้วดังนี้" โดยผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับนั้น การขีดฆ่าดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของข้อความในพินัยกรรมเพราะแม้ไม่มีการขีดฆ่าดังกล่าวและไม่พิมพ์ข้อความใหม่ ข้อความที่พิมพ์ก่อนหน้านั้นก็ระบุชัดเจนว่าเป็นใบมอบทรัพย์สิน (มรดก) ให้แก่จำเลยผู้รับมรดกเพียงผู้เดียว การรับมรดกย่อมจะมีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายอยู่แล้ว ส่วนการขีดฆ่าคำว่า "ผู้รับมอบ" แล้วพิมพ์ข้อความใหม่เป็นว่า "พยาน" ก็เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงว่า จ. ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรม มิใช่เป็นผู้รับมอบแต่อย่างใด การแก้ไขดังกล่าวมิใช่เป็นการตกเติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งเป็นการแก้ไขก่อนที่ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 วรรคสอง จึงไม่ทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนคดี-งดสืบพยาน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางค่าธรรมเนียม/ประกันตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยซึ่งได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 226 (2) ส่วนการอุทธรณ์จะต้องปฎิบัติอย่างไรต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 229 มิใช่พิจารณาแต่เฉพาะมาตรา 226 เพียงประการเดียว
จำเลยผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว และเมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในเรื่องที่ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรง ก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามมาตรา 234 โดยนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนด 7 วัน ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องขอใช้หลักทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับโจทก์เป็นหลักประกันทั้งที่หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องชำระตามคำพิพากษามีข้อตกลงว่าหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่ และหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนสูงกว่าวงเงินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันอยู่มาก ถือไม่ได้ว่าหลักทรัพย์ที่จำนองเพียงพอสำหรับหนี้ตามคำพิพากษาและค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นไม่รับหลักทรัพย์ที่จำนองดังกล่าวเป็นหลักประกันจึงชอบแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นหลักประกันอื่นใดภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้นั้นอีก จึงต้องถือว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่พิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชีเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ และการผิดนัดชำระหนี้
ประกาศธนาคารโจทก์ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ซึ่งใช้บังคับขณะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลย กำหนดให้โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยและส่วนลดในกรณีลูกค้าเบิกเงินเกินวงเงินหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี และเรียกจากลูกค้าทั่วไปกรณีอยู่ภายในวงเงินและไม่ผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระในอัตราที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) คืออัตราร้อยละ 13.75 ต่อปี บวกร้อยละ 2 ต่อปี รวมเป็นอัตราร้อยละ 15.75 ต่อปี การที่โจทก์กำหนดดอกเบี้ยที่จะเรียกจากจำเลยที่ 1 ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไว้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ให้เรียกเก็บกรณีเบิกเงินเกินวงเงินหรือผิดเงื่อนไขในการผ่อนชำระ มิใช่อัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่จะเรียกจากลูกค้าได้นับแต่วันทำสัญญาเช่นนี้ จึงเป็นการกำหนดดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศของโจทก์ ไม่เป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ และเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงขัดต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 14 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การกำหนดดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์คงคิดดอกเบี้ยจากหนี้เงินได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น และกรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้รับแจ้งรายการบัญชีเดินสะพัดแล้วไม่โต้แย้งความถูกต้องและดอกเบี้ยที่คิดภายหลังทำสัญญาในบางช่วงเวลารวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ขอมาท้ายฟ้องไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่อาจบังคับได้ตามขอ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดต่อกัน การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัด คือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลือ ดังนั้น หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดอยู่ต่อไป ก็ยังไม่ถือว่ามีการผิดนัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8600/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหยิบตุ๊กตาเข้าข่ายพนัน: เจ้าของเครื่องมีความผิด แต่ผู้เล่นไม่มีเจตนาหากไม่รู้ว่าไม่มีใบอนุญาต
เครื่องหยิบจับตุ๊กตาอัตโนมัติของกลางเป็นเครื่องเล่นไฟฟ้าอัตโนมัติซึ่งผู้เล่นต้องหยอดเหรียญ 10 บาท แล้วกดปุ่มให้เครื่องคนตุ๊กตา จากนั้นจึงจับคันโยกเลื่อนหาตำแหน่งเพื่อคีบตุ๊กตา หากค้นได้ถือว่าผู้เล่นเป็นผู้ชนะได้ตุ๊กตามีมูลค่ามากกว่าเงินที่ต้องเสียไป เป็นแรงจูงใจให้เข้าเล่น หากคีบไม่ได้ถือว่าเป็นผู้แพ้จะได้เพียงคูปองไปใช้แลกสิ่งของซึ่งมีมูลค่าไม่เกินราคาเหรียญที่หยอด ดังนั้น ถึงแม้จะเล่นคนเดียวก็สามารถทำให้แพ้ชนะกันได้ระหว่างผู้เล่นกับเจ้าของเครื่อง เพราะหากผู้เล่นชนะก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเครื่องเล่น โดยสภาพเครื่องเล่นจึงมิใช่เป็นการให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นเท่านั้น จึงเข้าลักษณะเป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 อันเป็นการเล่นพนันตามบัญชี ข. หมายเลข 28
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเครื่องเล่นและได้ประโยชน์จากเงินที่ผู้เล่นใช้หยอดใส่ลงในเครื่องเล่นของกลางก่อนลงมือเล่น ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนันดังกล่าวขึ้นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าเล่นจะมีความผิดต่อเมื่อทราบว่าเครื่องเล่นของกลางไม่ได้รับอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นขึ้น เครื่องเล่นของกลางตั้งอยู่ในห้าสรรพสินค้าโดยเปิดเผย บุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าสามารถเข้าเล่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 รู้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นเครื่องเล่นของกลาง จำเลยที่ 1 จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานบุคคลเพื่อประกอบข้ออ้างการระงับหนี้สัญญาซื้อขายที่ดิน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมเรียกค่าเสียหายซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การ ต่อสู้อ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกันและโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ในชั้นพิจารณาจำเลย ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยานและเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่าจำเลยไม่ได้ ซื้อที่ดินแปลงที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ซึ่งอยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกัน และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการ ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าว ติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีดังกล่าวเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้ว เพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าวและตกลง ซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8571/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สัญญาซื้อขายที่ดินและการสืบพยานเพื่อยืนยันการตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์พร้อมค่าเสียหาย ซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ในชั้นพิจารณาคดีจำเลยมีภาระการพิสูจน์และศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยอ้างสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นพยาน ซึ่งจำเลยเบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านว่า จำเลยไม่ได้ซื้อที่ดินจำนวน 15 ไร่ ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไว้เดิม แต่ซื้อที่ดินอีกแปลงหนึ่งของโจทก์ที่อยู่ติดกัน เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ เช่นเดียวกันและได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อใหม่นี้ไปเรียบร้อยแล้ว โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่ามีการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวต่อกันจริง แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าวติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายแปลงไปเอาแปลงถัดไป กรณีเป็นการที่โจทก์สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้วเพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าว และตกลงซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป หาใช่กรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าธรรมเนียมศาลเมื่ออุทธรณ์ประเด็นข้อกฎหมายที่ไม่กระทบถึงการชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 เพราะไม่ได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้แล้วและขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป โดยจำเลยมิได้ขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้น ย่อมมีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพราะจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นสิ้นผลบังคับไปในตัว แม้จำเลยเลือกที่จะไม่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นทุกประเด็นรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่อาจกระทำได้โดยชอบ แต่การที่จำเลยอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 และกรณีเป็นเพียงการวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนพร้อมอุทธรณ์ตามกฎหมาย หาใช่การชำระค่าฤชาธรรมเนียมหรือการชำระหนี้ตามคำพิพากษาไม่
of 44