คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เจียมจูไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ค่าขึ้นศาล: กำหนดเวลาและกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มขึ้น เป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะที่จะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยทั้งสามเห็นว่าอุทธรณ์ฉบับดังกล่าวมิใช่อุทธรณ์ที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสามย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ตามนัยของ ป.วิ.พ. มาตรา 227 โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสามได้ใช้สิทธิดังกล่าวโดยยื่นอุทธรณ์ตามอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 นั้นแล้ว หากจำเลยทั้งสามประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป จำเลยทั้งสามก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 234 กล่าวคือ จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง และเมื่อปรากฏว่ามีกำหนดให้จำเลยทั้งสามมาทราบคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545 ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นับแต่วันที่กำหนดไว้นั้นแล้ว การที่จำเลยทั้งสามยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์โดยตรงในวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกอุทธรณ์คำสั่งฉบับดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง/ตัวแทน จำเป็นต่อการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนกระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการหรือผู้ใช้ วานยินยอม สั่งและสมประโยชน์ในการที่จำเลยที่ 3 ขับรถยนต์กระบะในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู่ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว แต่โจทก์คงมี ค. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์กระบะไว้จากจำเลยที่ 2 มีจำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุ ตามคำเบิกความของ ค. ดังกล่าวไม่ได้ความว่า ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความสัมพันธ์กันดังที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่อย่างใด ส่วนพยานโจทก์ปากอื่นก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ไปตามคำสั่งหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการ แม้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเพียงโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น แต่โจทก์ก็ต้องนำสืบให้ฟังได้ความดังกล่าวตามฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 เพราะจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการทำละเมิดของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งมีข้อความระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในกรณีที่ผู้ขับขี่มิใช่ผู้เอาประกันภัยเพียงแต่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยโดยโจทก์มิได้ฟ้องเช่นนั้น เป็นการพิพากษานอกคำฟ้องนอกประเด็น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7474/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นทายาทและการขอเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตามลำดับทายาทโดยธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ โดยระบุว่าผู้ร้องเป็นน้องต่างมารดากับโจทก์ ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ดังนี้ผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรม อันดับที่ 4 เมื่อผู้ร้องรับว่าผู้เป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่ 3 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของโจทก์ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7474/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นทายาทและคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ: ลำดับทายาทตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะ โดยระบุว่าผู้ร้องเป็นน้องต่างมารดากับโจทก์ ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ดังนี้ผู้ร้องย่อมเป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่ 4 เมื่อผู้ร้องรับว่าผู้เป็นทายาทโดยธรรมอันดับที่ 3 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของโจทก์ผู้มรณะที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สำหรับบุคคลภายนอก: การนำบทบัญญัติมาใช้โดยอนุโลม
โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดทรัพย์สินโดยบุคคลภายนอก: การใช้บทบัญญัติมาตรา 259 และ 312 มาใช้บังคับโดยอนุโลมกับมาตรา 267
โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันเป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พฤติการณ์ใกล้ชิดกับการกระทำความผิดพยายามทำให้เสียทรัพย์ แม้ไม่มีเข็มฉีดยา แต่มีกระบอกฉีดยาพร้อมสารพิษ ถือเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว
จำเลยมีกระบอกฉีดยาบรรจุสารพิษไว้แล้ว และจำเลยกำลังจับเชือกที่ผูกกระบือของผู้เสียหายซึ่งพร้อมที่จะลงมือฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทำของจำเลยดังนี้ใกล้ชิดต่อผลแห่งการทำให้เสียทรัพย์ ถือว่าลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด จึงเป็นความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามทำให้เสียทรัพย์: การกระทำใกล้ชิดต่อผลแห่งความเสียหายแม้ไม่มีเข็มฉีดยา
คำว่า "ฉีด" ตามพจนานุกรม ให้ความหมายไว้ว่า "ใช้กำลังอัดหรือดันของเหลวพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ" ดังนั้น กระบอกฉีดยาที่ไม่มีเข็มฉีดยาก็สามารถฉีดของเหลวเข้าสู่ร่างกายกระบือโดยทางปากหรือทางทวารได้ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีกระบอกฉีดยาบรรจุสารพิษไว้แล้ว และจำเลยกำลังจับเชือกที่ผูกกระบือของผู้เสียหายซึ่งพร้อมที่จะลงมือฉีดสารพิษใส่เข้าไปในตัวกระบือ การกระทำของจำเลยดังนี้ใกล้ชิดต่อผลแห่งการกระทำให้เสียทรัพย์ถือว่าเป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะผู้เสียหายมาพบและเข้าขัดขวางเสียก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำให้เสียทรัพย์ และเมื่อศาลฎีกาฟังว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาดังกล่าวถือว่าจำเลยได้ลงมือกระทำความผิดพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญาต้องมีเหตุพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าผู้ต้องหาไม่ได้กระทำความผิด และต้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางก่อน
ตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 5 บัญญัติว่า "คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า (1)? (2)? (3) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคดีที่จะได้รับการรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะต้องเป็นคดีที่ได้มีการนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ความผิดนั้นแล้ว แม้ผู้ร้องจะเป็นบุคคลที่ต้องรับโทษอาญา เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางในคดีดังกล่าว ตาม ป.อ. มาตรา 36 เพื่อศาลชั้นต้นจะได้ทำการไต่สวนพยานหลักฐานตามคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลาง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดจริงหรือไม่เสียก่อน เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขอคืนของกลางเพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่ง กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมายื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่ที่จะแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยการกระทำความผิดของจำเลย เพราะในคดีเดิมซึ่งถึงที่สุดศาลมิได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นส่งไปให้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 สั่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งคำร้องดังกล่าว อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค่าน้ำประปา: การบังคับสิทธิเรียกร้องตามระยะเวลาการจดหน่วยน้ำประปา
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 ซึ่งตาม พ.ร.บ. การประปานครหลวง พ.ศ. 2510 มาตรา 6 บัญญัติว่า "ให้จัดตั้งการประปาขึ้นเรียกว่า "การประปานครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (2) ผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ? (3) ดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับหรือเป็นประโยชน์แก่การประปา" จากบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายน้ำประปา ทั้งดำเนินธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประปาด้วย ซึ่งคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เป็นถ้อยคำที่เปลี่ยนแปลงจากถ้อยคำใน ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ที่ใช้คำว่า "พ่อค้า" ดังนั้น คำว่า "ผู้ประกอบการค้า" จึงมีความหมายกว้างกว่าคำว่า "พ่อค้า" แม้โจทก์จะไม่ใช่พ่อค้าแต่ก็ถือว่าเป็นผู้ประกอบการค้าตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แล้ว เมื่อคดีนี้มีการจดหน่วยน้ำประปาหลายครั้ง โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าน้ำประปาได้ตั้งแต่วันที่ทำการจดหน่วยน้ำประปาในแต่ละครั้งตามที่ปรากฏใบเสร็จรับเงินแต่ละฉบับ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าน้ำประปาอันเป็นการเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำเมื่อเกินกำหนด 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ
of 44