พบผลลัพธ์ทั้งหมด 434 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6900-6901/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดเพิ่มเติมต้องเป็นประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย และการอุทธรณ์ต้องเป็นเหตุตามกฎหมาย
การที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะยื่นคำร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดเพิ่มเติมหลังจากที่คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้วตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 39 วรรคสี่ ต้องเป็นการยื่นให้ชี้ขาดเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นที่ได้มีการเสนอเป็นข้อพิพาทโต้แย้งกันไว้ก่อนการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดเมื่อมีคำชี้ขาดเสร็จเด็ดขาด และประเด็นดังกล่าวคณะอนุญาโตตุลาการยังมิได้วินิจฉัยไว้ แต่คดีนี้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยเพิ่มเติมในประเด็นที่ตนมิได้โต้แย้งไว้ในคำคัดค้าน โดยยื่นคำร้องเพื่อให้วินิจฉัยเพิ่มเติมในประเด็นที่เสนอขึ้นใหม่หลังจากคณะอนุญาโตตุลาการได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการเสร็จสิ้นและมีคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจกระทำได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นจะทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการไม่มีวันสิ้นสุด ที่คณะอนุญาโตตุลาการยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่วินิจฉัยเพิ่มเติมชอบแล้ว
อุทธรณ์ข้ออื่นของผู้ร้องเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
อุทธรณ์ข้ออื่นของผู้ร้องเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8388/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงระงับข้อพิพาทที่มีเงื่อนไขไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้จำเลยยังมีความรับผิด
ข้อตกลงที่มีข้อความว่า หากโจทก์ได้รับเงินจำนวนตามที่ระบุไว้ครบถ้วน โจทก์ก็ไม่ติดใจเรียกร้องไม่ว่าทางแพ่งหรือทางอาญาหรือไม่ติดใจเอาความอีก และจำเลยต้องนำข้อตกลงนี้ไปเสนอต่อกรรมการของจำเลยร่วมก่อน ข้อตกลงดังกล่าวย่อมไม่ได้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย จ.9 มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 ระงับ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย จ.9) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังคงมีอยู่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ไม่ชอบ ปัญหาว่าเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องที่โจทก์จะนำคดีไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่โดยอาศัยเอกสารหมาย จ.9 ได้หรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เอกสารหมาย จ.9 มีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้สิทธิที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 ระงับ พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ (เอกสารหมาย จ.9) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า เอกสารหมาย จ.9 ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ความรับผิดในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ยังคงมีอยู่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีไปฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความใหม่ไม่ชอบ ปัญหาว่าเอกสารหมาย จ.9 เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเกี่ยวกับอำนาจฟ้องที่โจทก์จะนำคดีไปฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีใหม่โดยอาศัยเอกสารหมาย จ.9 ได้หรือไม่ จึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนเชิดและการผูกพันตามสัญญา: ข้อตกลงเกินอำนาจตัวแทน
ส. เดินทางไปกับ ก. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์และร่วมกันเจรจาขอรับรถยนต์คืนตลอดจนทำบันทึกการตรวจสภาพรถมอบให้แก่ตัวแทนของจำเลยที่ 1 เป็นพฤติการณ์ที่ ส. แสดงออกเป็นตัวแทนของโจทก์ และโจทก์ก็รับเอารถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปจากการยึด เห็นได้ว่าโจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 แต่อำนาจหน้าที่ของ ส. ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดมีเพียงเท่าที่ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์มีอยู่ คือ ติดตามเอาคืน ยึดเข้าครอบครองเคลื่อนย้ายรถ แจ้งความร้องทุกข์ และกระทำการตามความจำเป็นตามกฎหมายเพื่อนำรถยนต์คันที่เช่าซื้อกลับคืนโจทก์ ส. ไม่มีอำนาจที่จะไปตกลงไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ กับจำเลยที่ 1 นอกเหนือไปจากความจำเป็นเพื่อยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนได้ การที่ ส. ไปทำข้อตกลงในหนังสือรับรองว่าไม่เรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนอกเหนืออำนาจในการเป็นตัวแทน โดยโจทก์ไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคแรก โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ได้อีก
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันไม่ยินยอม จำเลยที่ 2 จึงพ้นจากความรับผิด ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาดังกล่าวโดยไม่ได้ให้การตั้งประเด็นไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการล้มละลายไม่กระทบสิทธิผู้รับประกันภัยต่อผู้รับประกันอื่น โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง บัญญัติว่า คำสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน... ดังนั้นการที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 จึงมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากหนี้ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในการฟื้นฟูกิจการ แต่คงมีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ และหนี้นั้นหาได้ระงับหมดสิ้นไปไม่ ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งอาจต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในมูลละเมิดต้องเป็นไปตามสัญญาประกันภัย และบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ว่าด้วยเรื่องประกันภัยค้ำจุน การที่จำเลยที่ 1 หลุดพ้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มา 113,450 บาท เกินไป 113,250 บาทและจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 113,451 บาท เกินไป 113,251 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ดังนั้น ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มา 113,450 บาท เกินไป 113,250 บาทและจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามา 113,451 บาท เกินไป 113,251 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยอาจฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจากจำเลยทั้งสองได้ตั้งแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปคือวันที่ 2 ธันวาคม 2540 และวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 มีผลใช้บังคับแล้ว กำหนดอายุความจึงต้องถือตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด เมื่อโจทก์รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดตั้งแต่ก่อนวันที่ 2 ธันวาคม 2540 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2541 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิดแล้ว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชี - สัญญาไม่สมบูรณ์ - ตัวแทนกระทำโดยมิชอบ - ผู้รับเหมาเข้าใจผิด - ธนาคารต้องรับผิด
จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันเพื่อให้ ช. นำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านของ ช. ชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้าง ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้ ธนาคารโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินได้ และหากเงินในบัญชีไม่มีธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกเงินเกินบัญชีโดยไม่สมัครใจ: การกระทำของตัวแทนธนาคาร & เจตนาผู้รับเงิน
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือมีหลักประกันใดๆ ให้ไว้ต่อโจทก์ และเบิกเงินเกินบัญชีหลังจากยื่นคำขอเปิดบัญชีเพียง 3 วัน การที่ธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยใช้เช็คถอนเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ปรากฏว่าเคยรู้จักกันเป็นอย่างดีหรือจำเลยเป็นบุคคลพิเศษ แสดงว่าจำเลยมีความผูกพันกับ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง ที่เป็นคนเซ็นอนุมัติให้จำเลยถอนเงินเกินบัญชีได้ เจือสมกับข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากเปิดบัญชีแล้วจำเลยสั่งจ่ายเช็ครับเงินไม่เกินจำนวนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านให้ ช. หลังจากนั้นจำเลยก็หยุดใช้เช็คเบิกถอนเงินอีก และน่าเชื่อว่า ช. เป็นคนนำเงินเข้าบัญชีให้แก่จำเลยเป็นการชำระหนี้ค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้าน ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวก็เพื่อให้ ช. ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงนำเงินค่างวดในการจ้างเหมาก่อสร้างบ้านชำระหนี้แก่จำเลยโดยนำเงินเข้าบัญชีให้ และจำเลยจะใช้เช็คเบิกถอนเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างบ้านตามงวด จำเลยไม่มีเจตนาที่จะทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ ดังนั้น หาก ช. ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ แสดงว่า ช. ผิดนัดชำระหนี้จำเลยย่อมจะใช้เช็คถอนเงินไม่ได้โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยแทน ช. แต่อย่างใด แต่การที่ ช. ยอมอนุมัติจ่ายเงินตามเช็คให้จำเลยจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นการรับเงินค่างวดที่ ช. นำเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านเข้าบัญชีให้เพื่อชำระหนี้ จำเลยไม่มีเจตนาที่จะเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ หาก ช. ไม่ใช่ผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรง จำเลยก็ย่อมไม่สามารถจะใช้เช็คถอนเงินตามที่ปรากฏในคดีนี้ได้ และหากเงินในบัญชีไม่มี ธนาคารก็ต้องปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจำเลยจะได้รีบดำเนินการทวงถามหรือระงับการก่อสร้างบ้านตามสัญญาให้แก่ ช. ทันท่วงที หรือดำเนินการฟ้องร้องเรียกเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างจาก ช. โดยเร็ว ในขณะที่พยานหลักฐานยังอยู่ครบถ้วน การกระทำของ ช. ถือได้ว่าเป็นการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในฐานะผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขาสำโรงโดยไม่ชอบ โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวแทนของตน การที่จำเลยรับเงินไปจากธนาคารโจทก์โดยสำคัญผิดว่าเป็นเงินค่างวดที่จำเลยมีสิทธิได้รับ จำเลยจึงไม่มีเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ทำนิติกรรมเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยในฐานะเป็นลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การลากจูงรถพ่วงเข้าข้อยกเว้น
โจทก์นำรถยนต์บรรทุก 10 ล้อ มาประกันภัยไว้กับจำเลย ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย ลูกจ้างของโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวโดยมีรถพ่วงอยู่ด้วย ไปเกิดอุบัติเหตุชนการ์ดเลนคอสะพานเป็นเหตุให้การ์ดเลนคอสะพานและรถยนต์บรรทุกมีประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย ซึ่งตามสัญญาประกันภัยได้กำหนดถึงการคุ้มครองความรับผิดไว้ในสัญญา แต่ก็ได้กำหนดข้อยกเว้นรับผิดไว้หลายประการ โดยมีสัญญาข้อหนึ่งไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้ลากจูงหรือผลักดัน เว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือถูกผลักดันได้ประกันภัยไว้กับบริษัท แสดงให้เห็นว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยไม่ประสงค์จะคุ้มครองถึงกรณีที่มีการใช้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไปลากจูงหรือผลักดัน อันทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งหากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะให้คุ้มครองถึงส่วนที่ลากจูงก็จะต้องแจ้งความจำนงให้ชัดเจนเพื่อผู้รับประกันภัยจะได้กำหนดเบี้ยประกันให้พอเหมาะกับความเสี่ยงที่มากขึ้น การที่โจทก์นำรถที่เอาประกันภัยไปลากจูงรถพ่วงอีกคันหนึ่งจึงเป็นการกระทำเข้าข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมบริษัทหลังผู้ฟ้องมรณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อีกด้วย เมื่อโจทก์มรณะ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัทในกรณีเช่นนี้ได้ กรณีจึงไม่ใช่โจทก์ฟ้องอันมีลักษณะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของโจทก์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มรณะได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7699/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอท้ายฟ้องหลังมีคำพิพากษาต้องเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยเท่านั้น การเพิ่มความรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาเดิมทำไม่ได้
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และฟ้องบังคับจำนองสำหรับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ด้วย โดยมีคำขอในส่วนบังคับจำนองว่า ให้ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์ หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 5 ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วน ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำขอดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขข้อความเป็นว่า หากไม่พอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งห้าออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนครบถ้วน ย่อมเป็นการเพิ่มความรับผิดในการบังคับจำนองให้แก่จำเลยอื่นนอกจากจำเลยที่ 5 มากกว่าคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้นจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ แต่เป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคสอง