คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากระบุการจัดการซ่อมแซมรถยนต์แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันรถยนต์คันที่ ธ. ขับ โจทก์ได้แนบเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยไว้ท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวระบุถึงความรับผิดของโจทก์ว่าหากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหายบริษัทมีสิทธิจัดการซ่อม และโจทก์ยังได้บรรยายฟ้องต่อไปอีกว่าโจทก์ได้จัดการซ่อมและส่งมอบรถยนต์คืนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันไปเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว โจทก์เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระไม่ได้ คงเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มิสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์คงเรียกได้แต่เฉพาะค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม วรรคสี่ และในกรณีนี้มาตรา 574 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อเท่านั้น
การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยมีข้อความระบุว่า "แม้สัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" ข้อสัญญาเช่นว่านี้ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องเช่าซื้อ แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายอันเกี่ยวเนื่องด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญาแล้ว โจทก์เรียกค่าเช่าซื้อค้างชำระไม่ได้ แต่เรียกค่าเสียหายตามกฎหมายได้ ข้อตกลงพิเศษไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายอันเนื่องจากการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม วรรคสี่ และในกรณีนี้ มาตรา 574 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อนให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ก็มิใช่บทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 151 และเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในความเสียหายเนื่องจากการไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ – การขับไล่จากที่ดินควบคู่กับทาวน์เฮาส์ – ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำขอ
แม้คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจะขอให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท ไม่ได้ขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินก็ตาม เมื่อบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่พิพาทต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและทาวน์เฮาส์หลังการไถ่ถอนจำนอง: เจ้าของเดิมโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ระบุข้อยกเว้น ทำให้ทาวน์เฮาส์เป็นส่วนควบของที่ดิน
คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากทาวน์เฮาส์ที่พิพาท เมื่อทาวน์เฮาส์ปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินด้วย จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ว. ซื้อที่ดินพิพาทโดยใส่ชื่อ บ. เป็นเจ้าของ และได้จำนองที่ดินดังกล่าวเป็นประกันหนี้ไว้แก่ธนาคาร ว. นำที่ดินมาทำการจัดสรรและปลูกสร้างทาวน์เฮาส์จำหน่ายแก่โจทก์ทั้งสิบเอ็ด ย. และจำเลย โดยจำเลยได้ชำระเงินบางส่วนแล้ว ต่อมา ว. ขาดสภาพคล่องทางการเงินไม่สามารถไถ่ถอนจำนองและโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อได้ จึงตกลงให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นผู้ไถ่ถอน แต่จำเลยปฏิเสธไม่ร่วมซื้อด้วย เมื่อไถ่ถอนจำนองแล้ว ว. จึงดำเนินการให้ บ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. เป็นเจ้าของโดยไม่ได้ระบุว่าไม่รวมทาวน์เฮาส์ ทาวน์เฮาส์ททั้งหมดจึงเป็นส่วนควบของที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จะไม่มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ที่ 3 เป็นสามีโจทก์ที่ 11 และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ช่วยออกเงินในการไถ่ถอนจำนอง โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินและทาวน์เฮาส์
จำเลยมิได้มีนิติสัมพัมธ์กับโจทก์ทั้งสิบเอ็ดและ ย. แต่มีนิติสัมพันธ์กับ ว. จึงเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับ ว. ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสิบเอ็ดได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปแล้ว การที่จำเลยไม่ออกไปจึงเป็นละเมิด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของส่วนราชการ กรณีจำเลยเกษียณอายุและไม่ปฏิบัติตามคำบอกกล่าว การมอบอำนาจฟ้องคดีได้รับการยกเว้นอากรแสตมป์
พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจฯ มาตรา 3 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล ห้องพิพาทที่จำเลยพักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ตามระเบียบการปฏิบัติเข้าพักอาศัยในอาคารของกรมตำรวจ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทไม่ยอมออกไปเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกไปแล้ว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่หาใช่เป็นการกระทำการโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองห้องพักของข้าราชการหลังเกษียณอายุราชการและการฟ้องขับไล่โดยโจทก์ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ
พ.ร.ฎ. โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 มาตรา 3 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล ห้องพิพาทที่จำเลย พักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป ตามระเบียบการปฏิบัติเข้าพักอาศัยในอาคารของกรมตำรวจ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทไม่ยอมออกไปเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวให้ออกไปแล้ว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลย และโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่หาใช่เป็นการกระทำการโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อำนาจฟ้อง และการยกเว้นอากรแสตมป์ในการมอบอำนาจฟ้องคดี
พระราชกฤษฎีกาโอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2541 มาตรา 3 บัญญัติว่า โจทก์เป็นส่วนราชการ และมีฐานะเป็นกรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติโจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 7 (4) และเป็นส่วนราชการของรัฐบาล
ห้องพิพาทที่จำเลยพักอาศัยเป็นส่วนหนึ่งของอาคารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติโจทก์ เป็นทรัพย์สินของทางราชการ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการจึงไม่มีสิทธิพักอาศัยอยู่ในห้องพิพาทต่อไปตามระเบียบของโจทก์ การที่จำเลยยังคงอยู่ในห้องพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากห้องพิพาทได้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้กระทำงานของรัฐบาลโดยหน้าที่ หาใช่เป็นการกระทำโดยส่วนตัวไม่ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องคดีจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น แม้หนังสือมอบอำนาจของโจทก์จะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความดำเนินคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิต: การบอกล้างสัญญาและการคิดดอกเบี้ยเมื่อผิดนัด
ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ถึงโจทก์ผู้รับประโยชน์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและปฏิเสธการจ่ายเงินสินไหมมรณกรรม จึงเป็นการผิดสัญญาและถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจำเลยได้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันชีวิต: การบอกล้างสัญญาและการคิดดอกเบี้ยผิดนัดเริ่มนับแต่วันบอกล้าง
ผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตาย วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยผู้รับประกันภัยมีหนังสือลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 ถึงโจทก์ผู้รับประโยชน์บอกล้างสัญญาประกันชีวิตและปฏิเสธการจ่ายเงินสินไหมมรณกรรม จึงเป็นการผิดสัญญาและถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันดังกล่าว มิใช่นับแต่วันผู้เอาประกันถึงแก่ความตาย
of 17