คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้เดิม และอายุความของคดีเรียกเงินคืนจากสัญญาที่เลิกแล้ว
โจทก์เป็นลูกหนี้ค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อจากจำเลย ส่วนบริษัท ส. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเป็นลูกหนี้ค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินกับบริษัท ว. บริษัท รก. และบริษัท รพ. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จำเลยตกลงกันให้นำเงินที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้บริษัท ว. กับพวกมาหักชำระเป็นค่าหุ้นที่โจทก์ต้องชำระแก่จำเลย กรณีเช่นนี้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำหนี้ที่ได้ตกลงไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าหุ้นที่จำเลยรับชำระไปแล้วคืนเนื่องจากสัญญาซื้อขายหุ้นเลิกกัน หาใช่เป็นการฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายหุ้นไม่ กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดหย่อนได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยชำระแล้วก่อนเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ส่วนที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก็เป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการริบเงินค่าเช่าซื้อและการเรียกร้องค่าเช่าซื้อค้างชำระหลังเลิกสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระแล้วก่อนเลิกสัญญา และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 574
ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า "อนึ่ง แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าที่ซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ" เป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม พ.ร.บ. มาตรา 383 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9014/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยร่วมรับผิด: ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
การเสียค่าขึ้นศาลจะต้องเสียในเวลาที่ยื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 ประกอบด้วย ตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ต่อโจทก์และจำเลยที่ 4 ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไว้แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์และยื่นอุทธรณ์มาฉบับเดียวกัน จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคนคงต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลเพียงจำนวนเดียว ที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ของแต่ละคนเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: การยื่นอุทธรณ์ฉบับแยกต่างหาก จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์
การชำระค่าขึ้นศาลจะต้องชำระเมื่อเวลายื่นฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 ประกอบตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 4 ชำระเงินให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 4 ได้ยื่นอุทธรณ์โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์เป็นอีกฉบับหนึ่งต่างหาก จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ด้วยเช่นกัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์มาฉบับเดียวกันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นรายคน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7738/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน-มูลหนี้ไม่ระงับ: แม้มีคำพิพากษาคดีจำนองแล้ว ศาลยังบังคับตามเช็คพิพาทได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญากู้ยืมเงินและจำนองขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 974,629 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากไม่ชำระให้นำที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งจะเห็นว่าตามสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ มูลฟ้อง และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแตกต่างกัน ถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน แม้มูลหนี้จะสืบเนื่องมาจากการกู้ยืมและสัญญาจำนองเช่นเดียวกัน ฟ้องคดีนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองแล้ว แต่เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระให้เสร็จสิ้น มูลหนี้ตามเช็คพิพาทยังไม่ระงับ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าบุหรี่ซิกาแรตจากต่างประเทศโดยมิได้ผ่านศุลกากรและยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยตกลงซื้อบุหรี่ซิกาแรตจากผู้ขายที่อยู่ประเทศพม่าไว้ก่อนแล้ว จำเลยใช้ให้ ม. นำบุหรี่ซิกาแรตของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร ม. เพียงแต่ไปรับบุหรี่ซิกาแรตของกลางจากผู้ขายที่เกาะสอง ประเทศพม่า จำเลยจึงกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของความผิด ถือว่าจำเลยร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางอันเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมาย และร่วมกันนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางซึ่งผลิตในต่างประเทศและเป็นของต้องจำกัด ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร เมื่อจำเลยจะนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางไปขายให้ แก่ลูกค้าที่จังหวัดชุมพร จำเลยจึงร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางไว้เพื่อขาย.
ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ปรับ 117,000 บาท เนื่องจากจำเลยต้องรับผิดร่วมกับ ม. จำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้น และปรากฏว่าในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นลดโทษให้ ม. กึ่งหนึ่ง คงปรับ ม. สำหรับข้อหานี้ 58,500 บาท และ ม. รับโทษกักขังแทนค่าปรับครบถ้วนแล้ว ดังนั้น สำหรับคดีนี้จำเลยจึงคงรับโทษปรับอีก 58,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานนำบุหรี่ต่างประเทศหลีกเลี่ยงภาษี และมีไว้เพื่อขาย โดยใช้ผู้อื่นเป็นตัวการ
จำเลยตกลงซื้อบุหรี่ซิกาแรตจากผู้ขายที่อยู่ประเทศพม่าไว้ก่อนแล้ว จำเลยใช้ให้ ม. นำบุหรี่ซิกาแรตของกลางเข้ามาในราชอาณาจักร ม. เพียงแต่ไปรับบุหรี่ซิกาแรตของกลางจากผู้ขายที่เกาะสอง ประเทศพม่า จำเลยจึงกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของความผิด ถือว่าจำเลยร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางอันเป็นยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายและร่วมกันนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางซึ่งผลิตในต่างประเทศและเป็นของต้องจำกัด ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร เมื่อจำเลยจะนำบุหรี่ซิกาแรตของกลางไปขายให้แก่ลูกค้าที่จังหวัดชุมพร จำเลยจึงร่วมกับ ม. มีบุหรี่ซิกาแรตของกลางไว้เพื่อขาย
ศาลลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ปรับ 117,000 บาท แต่เนื่องจากจำเลยต้องรับผิดร่วมกับ ม. จำเลยในคดีอื่นของศาลชั้นต้นและปรากฎว่าในคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นลดโทษให้ ม. กึ่งหนึ่ง คงปรับ ม. สำหรับข้อหานี้ 58,500 บาท และ ม. รับโทษกักขังแทนค่าปรับครบถ้วนแล้ว ดังนั้น สำหรับคดีนี้จำเลยจึงคงรับโทษปรับอีก 58,500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินที่ไม่ชอบ ผู้ดำเนินกระบวนการต้องรับผิด
โจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินตาม น.ส.3 ก. โดยอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 3 เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลยที่ 3 เนื่องจาก น.ส.3 ก. ดังกล่าวออกทับที่ดินของบุคคลอื่น และศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนนี้จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ทั้งไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดชำระค่าธรรมเนียมในกรณีที่ผู้ขอยึดทำการโดยสุจริต ซึ่งความรับผิดในค่าธรรมเนียมนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดเสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี เรื่องนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องระมัดระวังในการรับจำนองที่ดินและนำยึดที่ดินว่าเป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีคำสั่งไปตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น จึงสมควรให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณียึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในคดีที่เกี่ยวข้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ที่ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอให้คดีที่มีการบังคับคดีนั้น การที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้ให้เพิกถอนการบังคับคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 10188/2541 ของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และบทบัญญัติดังกล่าวเปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีนั้นได้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม
of 17