คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เจตนา 'มีไว้เพื่อจำหน่าย' ยาเสพติด โจทก์ต้องพิสูจน์ชัดเจน ไม่สามารถสันนิษฐานจากปริมาณได้
การที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ด แล้วจะสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีไว้เพื่อจำหน่ายนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานอันเป็นผลร้ายกับจำเลยที่ 1 โจทก์มีภาระการพิสูจน์ให้ได้ความแจ้งชัดโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสอง เดิม บัญญัติว่า "การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้ความว่าเมทแอมเฟตามีน 101 เม็ดดังกล่าวมีน้ำหนัก 9.019 กรัม เท่านั้น จึงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3297/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ดำเนินการแทน
คดีนี้จำเลยถึงแก่กรรมภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แม้ทนายจำเลยจะมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของจำเลยจะเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของจำเลยโดยทนายจำเลยมีอำนาจลงนามเป็นฎีกาแทนจำเลยได้ก็ตาม แต่ความปรากฏต่อศาลฎีกาว่าจำเลยได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 ดังนั้น เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าจำเลยถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลย โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเป็นเพราะเหตุใด จึงต้องจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3204/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการดำเนินการคดีอย่างคนอนาถา ผลกระทบต่อการวางค่าธรรมเนียม
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยแล้วให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยต่อไปเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยต่อไปจำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยกับยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา แม้จำเลยจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยก่อนดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่หากศาลอุทธรณ์อนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยจะไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่ให้เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 157 ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์คำพิพากษาก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2775/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: ประมาทขับรถเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุ
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 วรรคท้าย กับการที่จำเลยขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎจราจรด้วยความเร็วสูงโดยประมาทล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางเข้าไปในช่องทางรถสวนในขณะเมาสุราซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาณเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่ ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 วรรคท้าย เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยและพืชล้มลุกไม่เข้าข่ายการเช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม คชก.วินิจฉัยผิด ศาลมีอำนาจปฏิเสธบังคับตามคำชี้ขาด
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเป็นจดหมายหลัก จึงได้ให้คำนิยามไว้ในหมวด 2 การเช่านาในมาตรา 21 ว่า "นา" หมายความว่า ที่ดินที่เช่าเพื่อทำนาทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่ "ทำนา" หมายความว่า การเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ "พืชไร่" หมายความว่า พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติคำนิยามไว้โดยเฉพาะ จะนำเอาความหมายตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้มาใช้บังคับไม่ได้
กล้วยไม่ใช่พืชที่อายุสั้น ส่วนพืชล้มลุกไม่ใช่พืชที่ต้องการน้ำน้อยและอายุสั้น หรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน 12 เดือน กล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่พืชไร่ตามนิยามข้างต้น โจทก์ซึ่งเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นกล้วยและพืชล้มลุกจึงไม่ใช่ผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ
เมื่อการเช่าที่ดินของโจทก์ไม่ใช่การเช่านา การที่คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คชก.) จังหวัดราชบุรี วินิจฉัยว่า การเช่าที่ดินของโจทก์เป็นการเช่านาจึงเป็นการขัดต่อกฎหมาย ศาลมีอำนาจปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 221 และ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์โดยอนุญาตไม่ตัดสิทธิความผิดฐานยักยอก หากมีการทุจริตเบียดบังเอาราคา
เหตุผลตามที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นเพียงข้อตกลงและมีผลต่อกันว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยครอบครองและทำการจำหน่ายสินค้าของผู้เสียหาย อันเป็นพฤติการณ์แห่งข้อเท็จจริงในการที่จำเลยได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหาย การกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์นี้ แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตหรือยินยอมให้จำเลยกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์ของผู้เสียหายที่จำเลยครอบครองอยู่นั้นได้ตามที่ตกลงกันไว้ แต่การครอบครองทรัพย์ดังกล่าวของจำเลยจะกลายเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที เมื่อจำเลยกระทำการเบียดบังเอาทรัพย์หรือราคาทรัพย์ของผู้เสียหายเป็นของจำเลยโดยมีเจตนาทุจริตตามบทบัญญัติใน ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก ฉะนั้น การที่ผู้เสียหายไม่อนุญาตให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายหรือไม่ จึงหาใช่เป็นองค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์แต่อย่างใดไม่
จากข้อความที่ปรากฏในเอกสารได้ความแต่เพียงว่า เงินค่าราคาสินค้าที่จำเลยรับมาจากลูกค้าแล้วไม่ส่งมอบให้แก่ผู้เสียหายมีจำนวน 94,729 บาท จำเลยจะนำมาส่งคืนให้ผู้เสียหายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 เท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้อความหรือพฤติการณ์ใดเลยว่า ผู้เสียหายได้ตกลงยินยอมที่จะไม่ดำเนินคดีทางอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานยักยอกทรัพย์ที่จำเลยได้กระทำขึ้นให้ระงับหรือเลิกกันไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมไม่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ร่วมอื่น แม้เป็นผู้ค้ำประกัน
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนสิ้นเชิงก็ตาม แต่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายทอดตลาดนั้น เป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิใช่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 ก็มิได้มีชื่อตามทะเบียนในทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าวแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 3 ให้จำเลยที่ 2 ทราบ เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลชั้นต้นในชั้นบังคับคดี: หนี้ตามคำพิพากษาเป็นที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามเช็ครวม 3 ฉบับ พร้อมดอกเบี้ยถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 911,959.38 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 860,000 บาท นับจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 800 บาท โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จนถึงวันฟ้องจำเลยเป็นหนี้โจทก์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 911,959.38 บาท ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าก่อนฟ้องจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน 200,000 บาท และเป็นเช็คอีก 1 ฉบับ เป็นเงิน 200,000 บาท คงค้างชำระหนี้โจทก์เพียง 487,400 บาท เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างในชั้นบังคับคดีได้ เพราะคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลย ต้องถือว่าหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นหนี้ที่ถูกต้องแท้จริง แม้ภายหลังจากที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำเลยแล้ว โจทก์ได้รับชำระหนี้จากภริยาจำเลยไปบ้างแล้วเป็นเงิน 440,000 บาท แต่ก็ยังเป็นจำนวนไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดี
of 17