คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: การพิจารณา 'คำสั่งปฏิเสธไม่ส่ง' และผลของการรับทราบคำสั่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ การอุทธรณ์คำสั่งในกรณีเช่นนี้แม้จะเป็นการอุทธรณ์ก่อนศาลมีคำพิพากษาก็ต้องอุทธรณ์ภายใน 15วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในสัญญาประนีประนอมยอมความ: ทายาท vs. ความรับผิดส่วนตัว
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันของคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 ต้องเป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคดีที่ฟ้อง สำหรับคดีนี้มีประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. จะต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องหรือไม่ เพียงใด การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 แต่งตั้งทนายความและในใบแต่งระบุให้ทนายความมีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ ก็หมายถึงมอบอำนาจให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในฐานะเป็นทายาทของ ท. ตามคำฟ้องเท่านั้น แม้ทนายความจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีข้อความว่า เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งเจ็ดในฐานะส่วนตัว และในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตาย และทำยอมกันนั้นก็หมายความว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ที่ยอมรับผิดทั้งในฐานะส่วนตัวและฐานะของทายาทของ ท. สำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ย่อมมีเจตนายอมตนเข้าผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในฐานะทายาทของ ท. มิใช่รับผิดเป็นการส่วนตัว สัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดเป็นการส่วนตัว คำพิพากษาตามยอมคงมีผลสมบูรณ์บังคับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ให้รับผิดในฐานะทายาทของ ท. เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการแจ้งเหตุขัดข้อง การมอบฉันทะเสมียนทนายไม่ถือเป็นการมาศาล
ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) บัญญัติว่า "คู่ความ หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาลและเพื่อประโยชน์แห่งการดำเนินกระบวนพิจารณาให้รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ" การที่เสมียนทนายจำเลยที่ 2 ได้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนายและฟังคำสั่งของศาลชั้นต้น เสมียนทนายจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นคู่ความตามบทบัญญัติดังกล่าวเพราะเสมียนทนายจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะว่าความหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ นอกจากมายื่นคำร้องดังกล่าวและรับทราบคำสั่งของศาลตามที่รับมอบหมายจากทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น จึงถือว่าจำเลยที่ 2 และทนายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันสืบพยานโจทก์
คดีนี้ฟ้องร้องกันก่อนมีการแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 202 เดิม จึงต้องใช้มาตรา 202 เดิม ที่บัญญัติว่า " ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว?" และมาตรา 197 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันสืบพยาน และมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลเสียก่อนลงมือสืบพยาน ให้ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นขาดนัดพิจารณา" ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า จำเลยที่ 2 จะขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าว แม้ทนายจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล แต่ทนายจำเลยที่ 2 ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายจำเลยที่ 2 มายื่นคำร้องขอถอนทนาย ถือว่าจำเลยที่ 2 แจ้งเหตุขัดข้องที่ฝ่ายจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล จึงไม่ครบหลักเกณฑ์ตามมาตราดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดนัดพิจารณา เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 จึงขอให้มีการพิจารณาใหม่ไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ชอบ – ผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องระบุหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องที่ขัดแย้งทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์ หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องไม่สอดคล้องกันทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องขัดแย้งทำให้ฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รถจักยานยนต์เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยต้องโทษศาลทหาร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ได้ยกเว้น
ป.อ. มาตรา 56 มิได้ยกเว้นในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลทหาร เมื่อจำเลยเคยต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลทหารมาก่อน จึงไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8656/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกสำหรับผู้เคยได้รับโทษจำคุกจากศาลทหาร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถพิจารณาได้
ตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 56 มิได้ยกเว้นในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเคยต้องรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาศาลทหาร ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้น จึงเป็นไปโดยชอบของกฎหมายแล้ว
of 17