คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เฉลิมศักดิ์ บุญยงค์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8480/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เกินเลยฟ้อง - การสนับสนุนความผิด
ในชั้นอุทธรณ์มีปัญหาแต่เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 368 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยลงโทษจำเลยข้อหาสนับสนุน ด. กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะโจทก์ฟ้องว่าจำเลยแต่เพียงผู้เดียวที่กระทำความผิด มิได้ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับ ด. กระทำความผิดแล้วข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีน 15 เม็ด ไว้ในครอบครองหรือเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสนับสนุน ด. ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกขึ้นวินิจฉัยย่อมเป็นข้อเท็จจริงนอกจากที่กล่าวในฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8143/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์โดยมีคำสั่งว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์สำเนาให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน ให้โจทก์นำส่งภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด หากส่งไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์" และในวันเดียวกันโจทก์แถลงขอให้ส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ข้ามเขตศาลโดยแนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์จำนวน 300 บาท เป็นค่าส่งหมาย ต่อมาศาลชั้นต้นมีหมายแจ้งคำสั่งให้ทนายโจทก์ทราบว่าอัตราค่าส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ยังขาดค่าพาหนะอีก 100 บาท ให้นำเงินค่าพาหนะมาวางเพิ่ม โจทก์มีหน้าที่ต้องนำค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เนื่องจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้โจทก์เป็นผู้จัดการนำส่ง ดังนั้น นอกจากโจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งแล้ว โจทก์ยังมีหน้าที่จัดการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ด้วย ซึ่งในคดีนี้เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ข้ามเขตศาลและโจทก์ไม่ไปจัดการนำส่ง จึงต้องเสียเงินค่าพาหนะในการนำส่งให้เจ้าหน้าที่ศาลให้ครบถ้วน การที่โจทก์ไม่นำเงินค่าพาหนะเพิ่มมาวางศาลตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงเป็นการไม่ดำเนินการภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ซึ่งนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่าโจทก์ไม่ได้วางเงินค่าพาหนะเพิ่มและศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งรายงานเจ้าหน้าที่ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นเวลา 2 เดือนเศษ และเมื่อนับถึงวันที่นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปีเศษ โจทก์ก็ยังมิได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด ถือว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 72,947.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระเต็มตามฟ้อง แต่เมื่อโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงยุติเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะทำสัญญาค้ำประกันระบุว่ายอมรับผิดชอบร่วมกับผู้เช่าซื้อทุกประการก็หมายความเพียงว่ากรณีทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม หรือยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ นั้น ป.พ.พ. มาตรา 691 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ค้ำประกันประเภทนี้ว่า "ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิดังกล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690" คือไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ไม่มีสิทธิขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าหนี้เอาทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยึดถือไว้เป็นประกันมาชำระหนี้ก่อน เท่านั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ 132,947.44 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 มิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8106/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการลงโทษและสถานที่ราชการ: การเพิ่มโทษตามมาตรา 336 ทวิ ต้องทำหลังกำหนดโทษ และลานจอดรถไม่ใช่สถานที่ราชการ
ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นบทบัญญัติเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดไม่ ดังนั้น ศาลต้องเพิ่มระวางโทษตามมาตรา 335 หนักขึ้นกึ่งหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดระหว่างระวางโทษดังกล่าว ไม่ใช่กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดเสียก่อน แล้วจึงเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่ง
ลานจอดรถของวิทยาลัยเทคนิคลพบุรีเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการ ตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัย หาใช่เป็นสถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรงแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยทั้งสองลักรถจักรยานยนต์จากบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) คงมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 335 (7) วรรคแรก เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เลิกสัญญา แม้ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อบางส่วน ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับการชำระเงินโดยไม่โต้แย้ง
ผู้ให้เช่าซื้อยอมรับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระไม่ตรงตามกำหนดตลอดมาแสดงว่าผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยรับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อจากผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่โต้แย้ง จึงต้องผูกพันตามความประสงค์ของคู่สัญญาที่ไม่ถือเอากำหนดระยะเวลาการชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญเช่นกัน เมื่อจะบอกเลิกสัญญาจำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาที่สมควรก่อน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อเพียง 3 งวด การที่โจทก์ขอชำระค่าเช่าซื้อแต่จำเลยไม่ยอมรับอ้างว่าค้างชำระถึง 9 งวด จึงเป็นการไม่รับชำระหนี้โดยไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอ้างได้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดเวลาตามหนังสือบอกเลิกสัญญายังถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8010/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ของผู้พักอาศัย และสิทธิของผู้รับประกันภัย
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนรถยนต์คันเกิดเหตุที่หายไปให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้น ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยส่งคืนรถยนต์คันเกิดเหตุแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7680/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางเรือเมื่อเกิดความเสียหายจากเหตุที่คาดหมายได้ และการจำกัดความรับผิดตามสัญญาประกันภัย
เมื่อปรากฏว่าเรือฉลอมลำเกิดเหตุซึ่งบรรทุกสินค้า 155 ถุง น้ำหนัก 186 ตัน จากที่สามารถบรรทุกน้ำหนักสูงสุดได้ 190 ตันเศษ ถูกนำไปจอดรวมกับเรืออีก 4 ลำ อยู่ที่ทุ่นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่จอดเรือเป็นทางเข้าออกของเรือเดินสมุทรหรือเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ ย่อมจะคาดหมายได้ว่าจะเกิดคลื่นขนาดใหญ่ได้ การที่เรือฉลอมบรรทุกสินค้าเต็มลำเรือเสมอกาบเรือโดยเรือพ้นจากผิวน้ำไม่เกิน 1 ศอก เมื่อถูกคลื่นขนาดใหญ่กระแทกน้ำย่อมเข้าเรือได้โดยง่าย ยิ่งนำไปผูกรวมกับเรืออื่น ๆ อีก 4 ลำ ทำให้เรือกระแทกกันเอง เพิ่มความรุนแรงในการกระแทกมากขึ้นและน้ำย่อมจะเข้าเรือได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการระมัดระวังจัดการป้องกันมิให้น้ำเข้าเรือเมื่อโดนคลื่นขนาดใหญ่กระแทกอย่างไรบ้าง การนำเรือมาจอดที่ทุ่นจอดเรือและบรรทุกสินค้าไม่เกินพิกัดสูงสุดที่จะบรรทุกได้โดยไม่จัดการระมัดระวังป้องกันเป็นพิเศษอย่างใดเลย ไม่เป็นการป้องกันตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากผู้มีอาชีพขนส่งสินค้าทางเรือ แม้ว่าเมื่อเรือฉลอมดังกล่าวจมลง ผู้ควบคุมเรือได้ตัดเชือกที่ผูกโยงกับเรือลำอื่น ๆ ก็เป็นเพียงการป้องกันมิให้เรือลำอื่น ๆ ต้องจมลงไปด้วย มิใช่การป้องกันเรือลำเกิดเหตุ เรือฉลอมจมลงและสินค้าเสียหายจึงมิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 ต้องลดอัตราโทษก่อนลงโทษ ไม่ใช่กำหนดโทษแล้วค่อยลด
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 นั้น หมายความว่า ลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ำลงหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่งจากกำหนดโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำ แล้วจึงลงโทษในระวางโทษนั้น มิใช่กำหนดโทษจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนแล้วจึงลดจากโทษที่กำหนดไว้ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (3) (4) (7) (8) วรรคสอง ประกอบมาตรา 83 และ 336 ทวิ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงสิบปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงสองหมื่นหนึ่งพันบาท โดยศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งจากอัตราโทษดังกล่าวตาม ป.อ. มาตรา 76 แล้ววางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 4 ปี และลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 อีกกึ่งหนึ่ง เพราะมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นการชอบแล้วโดยไม่จำต้องระบุอัตราโทษของความผิดที่จำเลยที่ 1 กระทำทั้งก่อนและหลังลดมาตราส่วนโทษแล้วลงในคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6639/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ตกลงด้วย
บันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ชำระค่าเสียหายเป็นการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงยอมรับว่าโจทก์เสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ และยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 100,000 บาท ผ่อนชำระ 12 งวด และโจทก์ตกลงตามบันทึกดังกล่าวข้อ 4 ว่าหากจำเลยที่ 1 ชำระหนี้โดยไม่ผิดนัดครบยอดเงิน 100,000 บาท โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องส่วนที่เหลือ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละระงับสิ้นไป และได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นว่าเป็นของตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามมูลหนี้ในสัญญาเช่าซื้อเดิมไม่ได้ตกลงในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจใจให้ทำงาน-กักขังหน่วงเหนี่ยว: จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน-ฟ้องต้องระบุรายละเอียด
ผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต่างประสงค์จะมาทำงานเป็นลูกเรือประมงตั้งแต่พบคนชักชวนแล้ว จึงมาพบจำเลยทั้งห้ากับพวก และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอีกเลยว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน เปลี่ยนใจไม่ประสงค์จะทำงานเป็นลูกเรือประมง จึงถูกจำเลยทั้งห้ากับพวกข่มขืนใจให้ต้องจำยอมดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงกลับฟังได้ว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน มีความประสงค์จะได้งานทำเป็นลูกเรือประมงจึงสมัครใจมาอยู่กับจำเลย ห้องแถวที่เกิดเหตุลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย มิใช่ที่จองจำหรือกักขังคนแต่อย่างใด การที่จำเลยพาผู้เสียหายมาให้อยู่รวมกันโดยจัดหาอาหารให้รับประทาน แม้การออกไปภายนอกจะต้องอนุญาตก่อนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการห้ามเด็ดขาดแต่อย่างใด พฤติการณ์น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องการให้อยู่พร้อมกันเพื่อที่จะลงเรือประมงตามที่ตกลงกันไว้ จึงยังฟังไม่ได้ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกบังอาจร่วมกันข่มขืนใจและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธขู่เข็ญให้จำยอมไปเป็นลูกเรือประมงตามที่จำเลยทั้งห้ากับพวกจะจัดสรรและมอบหมายให้ โดยจำเลยทั้งห้าขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยินยอมจะถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต้องจำยอมกระทำการตามที่ขู่เข็ญ ตามคำฟ้องหาได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการเช่นใดอันเป็นการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพ พอที่จะเข้าใจข้อหาในความผิดตามมาตรา 310 ได้ คำฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกามาด้วย และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่ในเช็คโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้สลักหลัง ทำให้เช็คเสียเฉพาะผู้สลักหลัง และไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขวันที่ลงในเช็ค ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น เช็คพิพาทเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิด
of 17