พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในศาลอุทธรณ์และการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานร่วมกันกรรโชกและฐานร่วมกันบุกรุก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท แต่ละบทระวางโทษเท่ากันให้ลงโทษฐานร่วมกันกรรโชกจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกรรโชก ให้จำคุก 3 ปี 4 เดือน และให้ยกฟ้องโจทก์ฐานร่วมกันบุกรุก ดังนี้ในความผิดฐานร่วมกันกรรโชกศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม ห้ามฎีกาในประเด็นที่รับสารภาพในชั้นศาล และการใช้ดุลพินิจลงโทษคดีพนัน
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และยอดเงินทุนหมุนเวียน 4,480,100 บาท เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นพนันและเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดและเป็นเจ้ามือพนันสลากกินรวบเป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
ความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบและความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันสลากกินรวบต่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ระบุยืนยันว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมโดยเป็นทั้งผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบและเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ และจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน ศาลจึงต้องพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจและการจ่ายค่าตอบแทนความชอบ: จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นของจำเลย ได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่า เพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหารและในเหตุผลการจัดตั้งกับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงเปลี่ยนแปลงมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจจึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย เมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทจำเลยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 6 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 4 โจทก์ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจ่ายเงินค่าตอบแทนความชอบให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ หมวด 6 ข้อ 47 เป็นการถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจมีผลบังคับใช้กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์แทนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด จำเลย ได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสากิจด้วย เมื่อบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในบริษัทจำเลยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ซึ่งไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 4 แต่ต้องบังคับตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หมวด 6 ข้อ 47
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจของจำเลย และการจ่ายเงินตอบแทนความชอบเมื่อเกษียณตามระเบียบ
บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ถือหุ้นของจำเลยได้เปลี่ยนสถานภาพมาจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ ฯ พระราชบัญญัติดังกล่าวระบุเหตุผลในการเปลี่ยนแปลงว่าเพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรธุรกิจของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหาร และในเหตุผลการจัดตั้งกับมาตรา 26 ได้กำหนดให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกัน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อบริษัทดังกล่าวมีทุนรวมอยู่ในบริษัทจำเลยเกินร้อยละห้าสิบ จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) และอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว ประกอบระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 หมวด 6 ข้อ 47 โจทก์ทำงานกับจำเลยจนเกษียณอายุเป็นเวลา 7 ปีเศษ จำเลยจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานให้แก่โจทก์เท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน ตามระเบียบดังกล่าว จึงถูกต้องครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8684/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความชอบธรรมของคำสั่งย้ายงานและสิทธิในการปฏิเสธทำงานล่วงเวลา
คำฟ้องของโจทก์อ้างเหตุการเลิกจ้าง จ. สองประการคือ ประการแรก จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ย้ายแผนก กับประการที่สอง จ. กระทำผิดซ้ำคำเตือนกรณีไม่ทำงานล่วงเวลา แม้จำเลยจะให้การต่อสู้เฉพาะประเด็นการให้ จ. ทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้กล่าวถึงประเด็น จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้ง และต้องถือว่าจำเลยรับข้อเท็จจริงว่า จ. ไม่ไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งในเวลาปกติก็ตาม แต่กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างศาลต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงจากคำฟ้องและคำให้การในประเด็นนี้ว่า จ. ไม่ได้ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งตามคำสั่งของโจทก์ แล้ววินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ได้วินิจฉัยนอกประเด็น
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ จ. ย่อมมีอำนาจย้าย จ. จากแผนกอะมะดะคัทติ้งไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งได้ แม้ จ. ยังใช้เครื่องจักรไม่เป็นก็สามารถฝึกการใช้เครื่องจักรได้ และแม้ในระหว่างเวลาทำงานปกติช่วงวันเกิดเหตุ จ. ไม่สามารถฝึกใช้เครื่องจักรเพราะโจทก์ต้องใช้เครื่องจักรทำการผลิตสินค้า โจทก์ก็อาจจะมอบหมายให้ จ. ทำงานอื่นในแผนกก๊าซคัทติ้งไปพลางก่อนก็ได้ คำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ไปทำงานในเครื่องจักรที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า จ. ไม่มีความสามารถใช้เครื่องจักรได้ และไม่มีเครื่องจักรให้ จ. ทำงานในเวลาปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งให้ จ. ย้ายแผนกทำให้สภาพการจ้าง จ. ต่ำกว่าเดิม และการออกคำสั่งย้ายงานดังกล่าวโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้ง จ. คำสั่งดังกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จ. ใช้เครื่องจักรในแผนกก๊าซคัทติ้งไม่เป็น จะต้องฝึกการใช้เครื่องจักรก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฝึกให้ จ. ใช้เครื่องจักร แม้ จ. จะย้ายไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำเครื่องจักรได้เพราะขณะนั้นโจทก์ใช้เครื่องจักรเร่งผลิตสินค้า การฝ่าฝืนคำสั่งของ จ. ที่ไม่ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งของวันเกิดเหตุจึงไม่ได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจจะเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีร้ายแรง
จ. มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.30 นาฬิกา การที่โจทก์มีคำสั่ง ให้ จ. เข้าปฎิบัติการใช้เครื่องก๊าซคัทติ้งตั้งแต่เวลา 18 ถึง 20 นาฬิกา จึงเป็นการสั่งให้ จ. ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือว่าสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเอง เมื่อ จ. ไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา จะถือว่า จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์อันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง จ. ด้วยเหตุดังกล่าว โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
การโยกย้ายหน้าที่ลูกจ้างเป็นอำนาจบริหารจัดการของนายจ้าง โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ จ. ย่อมมีอำนาจย้าย จ. จากแผนกอะมะดะคัทติ้งไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งได้ แม้ จ. ยังใช้เครื่องจักรไม่เป็นก็สามารถฝึกการใช้เครื่องจักรได้ และแม้ในระหว่างเวลาทำงานปกติช่วงวันเกิดเหตุ จ. ไม่สามารถฝึกใช้เครื่องจักรเพราะโจทก์ต้องใช้เครื่องจักรทำการผลิตสินค้า โจทก์ก็อาจจะมอบหมายให้ จ. ทำงานอื่นในแผนกก๊าซคัทติ้งไปพลางก่อนก็ได้ คำสั่งของโจทก์ที่สั่งให้ จ. ไปทำงานในเครื่องจักรที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า จ. ไม่มีความสามารถใช้เครื่องจักรได้ และไม่มีเครื่องจักรให้ จ. ทำงานในเวลาปกติ เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งให้ จ. ย้ายแผนกทำให้สภาพการจ้าง จ. ต่ำกว่าเดิม และการออกคำสั่งย้ายงานดังกล่าวโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้ง จ. คำสั่งดังกล่าวของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว แต่เนื่องจากโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จ. ใช้เครื่องจักรในแผนกก๊าซคัทติ้งไม่เป็น จะต้องฝึกการใช้เครื่องจักรก่อน เมื่อโจทก์ยังไม่เคยฝึกให้ จ. ใช้เครื่องจักร แม้ จ. จะย้ายไปทำงานที่แผนกก๊าซคัทติ้งก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประจำเครื่องจักรได้เพราะขณะนั้นโจทก์ใช้เครื่องจักรเร่งผลิตสินค้า การฝ่าฝืนคำสั่งของ จ. ที่ไม่ย้ายไปทำงานในแผนกก๊าซคัทติ้งของวันเกิดเหตุจึงไม่ได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจจะเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมกรณีร้ายแรง
จ. มีเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 8.30 ถึง 17.30 นาฬิกา การที่โจทก์มีคำสั่ง ให้ จ. เข้าปฎิบัติการใช้เครื่องก๊าซคัทติ้งตั้งแต่เวลา 18 ถึง 20 นาฬิกา จึงเป็นการสั่งให้ จ. ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งถือว่าสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลานั้นเอง เมื่อ จ. ไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา จะถือว่า จ. ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์อันเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเลิกจ้าง จ. ด้วยเหตุดังกล่าว โดยไม่จ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8439/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความคิดค่าตอบแทนจากผลคดี: โมฆะเพราะขัดจริยธรรมวิชาชีพ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่าจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยได้รับเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษา แสดงว่าค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยย่อมขึ้นอยู่กับค่าทดแทนที่จำเลยได้รับ หากจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนจากจำเลย จึงมีลักษณะที่โจทก์ซึ่งเป็นทนายความเข้ามีส่วนได้ส่วนเสียทางทรัพย์ในผลแห่งคดีความของจำเลยซึ่งเป็นลูกความ แม้จะไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แต่ก็เป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพทนายความ เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่ถือเอาเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ & การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายที่ต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 สัญญาจึงเลิกกัน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัดชำระในงวดดังกล่าวเพราะโจทก์ยังไม่จัดหาธนาคารให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าที่ดินและอาคารงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ประเด็นในคดีจึงมีว่าการที่จำเลยยังไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ตามที่สัญญาระบุไว้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ถือกำหนดเวลาชำระเงินงวดที่ 26 ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่าต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นในคดี มิได้นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การแต่อย่างใด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพนันสลากกินรวบ แม้ถูกจับกุมพร้อมกัน
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบ โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลประจำงวดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 และวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ตามลำดับเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะถูกจับกุมพร้อมด้วยกระดาษโพยสลากกินรวบงวดประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 และวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ในคราวเดียวกันและเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่