คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเลิกจ้าง: แม้การแต่งตั้งมีข้อบกพร่อง หากจำเลยรับรองย่อมผูกพัน
พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลย การที่ พ. เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจแม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยกรรมการ/ตัวแทนที่มีข้อบกพร่องในการแต่งตั้ง ผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 1166 บัญญัติว่า บรรดาการซึ่งกรรมการได้ทำไปแม้ในภายหลังความปรากฏว่าการแต่งตั้งกรรมการคนนั้นมีข้อบกพร่องหรือบกพร่องด้วยองค์คุณควรแก่ตำแหน่งกรรมการ การมิได้ทำนั้นย่อมสมบูรณ์เสมือนดังว่าบุคคลนั้นได้รับการแต่งตั้งโดยถูกต้องและบริบูรณ์ด้วยองค์คุณของกรรมการ และตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 บัญญัติว่า นายจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้กระทำการแทนด้วย การที่ พ. ซึ่งตามหนังสือรับรองที่เจ้าหน้าที่รับรองว่า พ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลย มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยมีผลผูกพันจำเลยได้บอกเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจ แม้ว่าการแต่งตั้งจะมีข้อบกพร่องหรือในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อจำเลยรับรองการแสดงเจตนาของ พ. ที่บอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการแสดงเจตนาของจำเลย จึงมีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์ตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839-4840/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การย้ายงานลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างขาดงานและมีประวัติอาญา
ผู้คัดค้านเป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าของผู้ร้องซึ่งโดยสภาพของงานเห็นได้ว่าการส่งสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าให้ตรงเวลาเป็นส่วนสำคัญของงาน ผู้คัดค้านขาดงานหมายถึงผู้คัดค้านหยุดงานไปโดยไม่ลาและไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน อันเป็นการละทิ้งการงานไป ผู้คัดค้านมีสถานะเป็นลูกจ้างของผู้ร้องมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดยสม่ำเสมอและไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ แต่ในปี 2544 ผู้คัดค้านขาดงานถึง 10 วัน ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการหาคนมาทำงานแทนโดยกะทันหัน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านส่อชี้ถึงความไม่รับผิดชอบต่องานในหน้าที่พนักงานขับรถซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้าสู่กิจการของผู้ร้อง ประกอบกับปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางและคำร้องของ ศ. ภริยาผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจให้ผู้คัดค้านยึดถือรถยนต์ น้ำมันรถ และสินค้าของผู้ร้องเพื่อไปส่งให้แก่ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นเหตุอันเกิดแต่ตัวผู้คัดค้านที่เป็นกรรมการลูกจ้างเอง มีเหตุสมควรที่จะย้ายงานผู้คัดค้านจากพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทป แต่ทั้งนี้ให้ผู้คัดค้านได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคมล่าช้า หากมีเหตุสมควรก็ไม่ตัดสิทธิ
แม้โจทก์ไม่ได้ยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด กรณีที่ผู้ยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าหากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ คดีนี้ขณะที่ผู้ตายเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแจ้งว่าการใช้สิทธิประกันสังคมไม่คุ้มครองถึงโรคมะเร็ง ผู้ตายจึงเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยไม่ใช้สิทธิประกันสังคม จนกระทั่งผู้ตายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2541 ต่อมาเมื่อประมาณต้นปี 2545 โจทก์ทราบว่าประกันสังคมคุ้มครองถึงโรคมะเร็งจึงทำหนังสือร้องเรียนและอุทธรณ์คำสั่งของทางราชการมาตลอด ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้ามิได้เกิดขึ้นจากการละเลยเพิกเฉยหรือจงใจไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่เป็นโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นโดยแท้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนชื่อบริษัทไม่กระทบต่อสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทไม่ทำให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุด หากสภาพนิติบุคคลยังคงเดิม
การที่บริษัทโจทก์เปลี่ยนชื่อไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล โจทก์ยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลดังเดิม แม้ไม่แจ้งการเปลี่ยนชื่อให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ทราบ ก็ไม่เป็นผลให้สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในขณะทำงานให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานปกติธุรกิจ แม้มีสัญญาจ้างครบกำหนด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานที่จำเลยรับจ้างทำเป็นปกติธุรกิจของจำเลยไม่ใช่งานที่ทำเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือถือเอาความสำเร็จของงานตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสุดท้าย จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างในงานดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำผิดหรือกระทำการอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามมาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างที่ทำงานตามปกติ แม้มีสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา
โจทก์ประกอบกิจการขุดและดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อจำหน่าย โจทก์มีหน่วยงานบ่อดูดทรายที่ ต. ปลายนา อ. ศรีประจันต์ จ. สุพรรณบุรี ดังนั้น งานขุดและดูดทรายที่บ่อทรายรวมทั้งงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าว จึงเป็นงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ การที่โจทก์ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่ขับรถบริการทำหน้าที่ส่งเอกสารและพัสดุประจำหน่วยงานดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ด้วย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและโจทก์ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ตามกำหนดระยะเวลานั้นก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ซึ่งทำงานมาเป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วและโจทก์ได้บอกเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องสถานะลูกจ้าง: ศาลไม่รับฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับข้อเรียกร้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยผิดสัญญาจ้างจึงฟ้องให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นการฟ้องในมูลหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อจำเลยให้การต่อสู้และฟ้องแย้งว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย ขอให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย โดยจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่ฟ้องมูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน ศาลไม่รับฟ้องแย้งได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาจ้างอันเป็นการฟ้องในมูลหนี้สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย และฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินคืนและชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย คำฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ใช่มูลหนี้มาจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์
of 125