พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4706/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกตัดสิทธิเมื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพแล้ว ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 78 ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนและต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบห้าเดือนก่อนการว่างงานและจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในเงื่อนไข (1) ถึง (3) โดย (3) ระบุไว้ชัดเจนว่า ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามหมวด 7 ในลักษณะนี้ซึ่งก็คือหมวดที่ว่าด้วยประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพนั่นเอง ฟ้องโจทก์ระบุว่าโจทก์ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 มีคำสั่งจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้ผู้ประกันตน แสดงว่าโจทก์และสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 ยอมรับกันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามหมวด 7 ดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานนับแต่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพตามความในมาตรา 78 (3) ต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการเรียกร้องค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: การใช้สิทธิทางศาลหรือพนักงานตรวจแรงงาน
กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายได้ 2 ทาง โดยยื่นฟ้องคดีต่อศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่เมื่อเลือกใช้สิทธิทางใดแล้วก็ต้องดำเนินการในทางนั้นจนสิ้นสุดกระบวนการ ไม่สามารถใช้สิทธิ 2 ทาง พร้อมกันได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานไม่ได้มีคำสั่งภายในระยะเวลาตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 6 ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินเช่นเดียวกับที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2548 พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องโดยไม่ได้มีคำสั่ง เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานยังไม่มีคำสั่ง โจทก์ทั้งสองจึงไม่อยู่ในบังคับต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามมาตรา 125 วรรคหนึ่ง การที่พนักงานตรวจแรงงานยุติเรื่องทำให้กระบวนพิจารณาในชั้นพนักงานตรวจแรงงานยกเลิกไปทั้งหมด โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิซ้ำซ้อนกับเรียกร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ขณะโจทก์ทั้งสองฟ้องศาลแรงงานภาค 6 เปิดทำการแล้วแต่ยังไม่มีผู้พิพากษาสมทบ ศาลแรงงานภาค 6 จึงโอนคดีไปยังศาลแรงงานกลาง หลังจากศาลแรงงานกลางเสร็จการพิจารณาและนัดฟังคำพิพากษาปรากฏว่าศาลแรงงานภาค 6 มีผู้พิพากษาสมทบพร้อมปฏิบัติหน้าที่แล้ว ศาลแรงงานภาค 6 จึงขอให้ศาลแรงงานกลางโอนคดีกลับมาพิจารณาพิพากษา เมื่อโอนคดีกลับมาแล้วผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางย่อมหมดอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) มาตรา 236 บัญญัติว่าผู้พิพากษาซึ่งมิได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยคดีนั้นมิได้ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้นการที่ ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบของศาลแรงงานภาค 6 ไม่เคยนั่งพิจารณาคดีนี้ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอื่น อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานภาค 6 ผู้มีอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 16 ย่อมมีอำนาจจัดให้ผู้พิพากษาสมทบอื่นเข้าปฏิบัติการแทนได้ตามมาตรา 20 ช. และ ร. ผู้พิพากษาสมทบองค์คณะในคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 6 จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้ ส่วน น. ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานภาค 6 ซึ่งนั่งพิจารณาคดีมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นก็ได้รับคำสั่งให้ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแห่นงผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแรงงานกลางอีกตำแหน่งหนึ่งก่อนโจทก์ทั้งสองฟ้องคดี น. จึงมีอำนาจวินิจฉัยและทำคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19494-19500/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างหลังเล่นการพนันนอกเวลางาน แม้มีผลกระทบชื่อเสียง แต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์รวม 7 คน สวมชุดพนักงานของจำเลยเล่นการพนันหลังจากเลิกงาน ณ สถานที่ภายนอกที่ทำการของจำเลย แล้วถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม แม้การกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของจำเลยอยู่บ้าง แต่ผู้เสื่อมเสียจากการกระทำนั้นโดยตรงคือโจทก์รวม 7 คน นั่นเอง ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อนายจ้างเคยเตือนเรื่องความผิดนั้นแล้ว และเหตุเลิกจ้างไม่ร้ายแรง
เมื่อนายจ้างลงโทษลูกจ้างในการกระทำความผิดเรื่องนั้นไปแล้ว ไม่สามารถนำมากล่าวอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนในเรื่องเดิมได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7786/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เมื่อมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
โจทก์เป็นลูกจ้าง บ. จำเลยเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บ. ตามคำสั่งศาลแรงงานกลาง จำเลยเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของ บ. ลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/59 ประกอบมาตรา 90/25 เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทน บ. นายจ้างโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ในความหมายของคำว่า "นายจ้าง" ตาม (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6533-6534/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การเลิกจ้างต้องมีเหตุสมควร
เดิมจำเลยมีข้อตกลงจ่ายค่านายหน้าจากการขายให้โจทก์ทั้งสองในอัตราร้อยละ 1 จากยอดเงินที่เรียกเก็บจากลูกค้า จึงเป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างและโจทก์ทั้งสองผู้เป็นลูกจ้างตกลงกันให้จ่ายค่านายหน้าเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน ต่อมาจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่านายหน้าใหม่โดยกำหนดอัตราค่านายหน้าตามระยะเวลาที่ลูกค้าชำระค่าสินค้า และกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ได้รับค่านายหน้าเมื่อมียอดขายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้ แม้จำเลยอ้างว่ากำหนดขึ้นเพื่อจูงใจให้พนักงานทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าของลูกค้าก็ตาม แต่การทำยอดขายให้ได้ตามเป้าหมายหรือการติดตามทวงถามหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของงานในความรับผิดชอบของพนักงานขาย ค่านายหน้าที่จำเลยต้องจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่นี้จึงเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณจากผลงานที่โจทก์ทั้งสองทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงานนั่นเอง ค่านายหน้าตามข้อตกลงเดิมและตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใหม่จึงเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6301/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับมอบหมายจัดการมรดก แม้มิใช่ทายาท: ผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นทายาทของผู้ตาย แต่การที่ผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกย่อมทำให้ผู้ร้องมีหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก และอาจต้องรับผิดต่อทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 และ 1720 จึงถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: ศาลฎีกาแก้คำสั่งอนุญาตเลิกจ้างเป็นลงโทษภาคทัณฑ์เนื่องจากความผิดไม่ร้ายแรง
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างของผู้ร้องตำแหน่งซ่อมงาน แผนกบรรจุหีบห่อ และเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ร้องที่ให้ขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และตรวจคุณภาพของผ้า แม้งานที่ผู้ร้องสั่งให้ทำไม่ใช่งานในหน้าที่ของผู้คัดค้านโดยตรง แต่เป็นงานที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างอาจมอบหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างทำได้เป็นการพิเศษ การที่ผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจึงเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ผู้ร้องไม่ได้กำหนดให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
โทษทางวินัยของผู้ร้องมี 4 ขั้น คือภาคทัณฑ์ พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ปลดออก และเลิกสัญญาจ้าง เมื่อความผิดทางวินัยของผู้คัดค้านไม่ถึงกับเป็นความผิดร้ายแรง จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านอันเป็นโทษขั้นสูงสุด แต่เห็นสมควรให้ผู้ร้องลงโทษภาคทัณฑ์ผู้คัดค้าน
โทษทางวินัยของผู้ร้องมี 4 ขั้น คือภาคทัณฑ์ พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ปลดออก และเลิกสัญญาจ้าง เมื่อความผิดทางวินัยของผู้คัดค้านไม่ถึงกับเป็นความผิดร้ายแรง จึงยังไม่มีเหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านอันเป็นโทษขั้นสูงสุด แต่เห็นสมควรให้ผู้ร้องลงโทษภาคทัณฑ์ผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1438/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องสอดคดี กรณีคดีมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน ป. กับพวกเป็นคณะกรรมการของผู้ร้อง และให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกับโจทก์ทั้งสองจัดการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการของผู้ร้องใหม่ กับจำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนคณะกรรมการของผู้ร้อง ผลของคำขอของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 จึงกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องอันทำให้ผู้ร้องต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการของผู้ร้องใหม่ ผู้ร้องจึงมีความจำเป็นในการร้องสอดเพื่อเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อรับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงขอเข้ามาในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต: ศาลไม่รับฟ้องคดีที่จำเลยเป็นตัวแทนทางทูต
คำฟ้องของโจทก์บรรยายชัดแจ้งถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย และจำเลยที่ 2 เป็นวิศวกรผู้ควบคุมงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งก็เป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูตของจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างให้โจทก์ตกแต่งติดตั้งอาคารสถานทูตแห่งใหม่ของสถานทูต อิสลามมิครีปับลิคแห่งอิหร่านประจำประเทศไทย ทั้งสัญญาตามเอกสารท้ายฟ้องก็ลงนามโดยจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญา การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนทางทูต เป็นการปฎิบัติไปตามกรรมวิถีทางของหน้าที่ของตนในกิจกรรมคุ้มครองผลประโยชน์ของรัฐผู้ส่ง ไม่ได้กระทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการในการทำสัญญาของคู่สัญญาให้มีการสละเอกสิทธิความคุ้มกันจากอำนาจศาลเป็นที่ชัดแจ้งโดยรัฐผู้ส่ง จำเลยทั้งสองย่อมได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันจากอำนาจศาลทางแพ่งของรัฐผู้รับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ.2527 มาตรา 3 ประกอบอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ซึ่งทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2504 ข้อ 31 (1) ประกอบข้อ 1 (จ) ซึ่งข้อกฎหมายนี้แม้จะไม่มีผู้ใดยกขึ้นโต้แย้ง แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องและปรากฏชัดแจ้งในคำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นผู้ตรวจรับคำฟ้องย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ได้