คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อเท็จจริงใหม่, ลดโทษมาตรา 75, และรอการลงโทษสำหรับเยาวชน
ฎีกาของจำเลยที่ปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานรับของโจรซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยและไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยโดยไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 75 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติดร้ายแรง และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
การลดโทษประหารชีวิตให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 52 (2) ศาลจะลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุกตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลตามพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของแต่ละคดีเป็นเรื่องๆ ไป
ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5)ฯ มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยซึ่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นว่าคดีนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายที่แก้ไขใหม่ตามมาตรา 66 วรรคสาม ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320-5325/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณากำหนดค่าเสียหาย แม้คำฟ้องใช้คำว่า 'ค่าชดเชยพิเศษ'
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและบรรยายว่าโจทก์อายุมากแล้ว ทำงานมานาน ต้องเดือดร้อนเพราะมีภาระและการหางานใหม่ เพื่อให้ศาลใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ไม่ได้ใช้คำว่าค่าเสียหาย เมื่ออ่านคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโดยตลอดแล้ว ย่อมชัดเจนพอที่จะตีความได้ว่าหมายถึงขอให้พิจารณาความเสียหายและกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางตีความว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นการตีความโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ไม่ใช่กรณีมีข้อสงสัยจนต้องนำมาตรา 11 มาตีความ ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5242/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วม สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ลูกหนี้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหรือชำระไม่ครบและโจทก์บังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 แล้วไม่พอชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 จนครบถ้วนได้ จึงหาจำต้องระบุว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 1 ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ให้โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 อีกด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5202/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารมีหน้าที่ตรวจสอบลายมือชื่อเช็คอย่างระมัดระวัง และต้องรับผิดเมื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอม แม้ผู้เสียหายมีส่วนประมาท
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งจำเลยจะต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นธุรกิจของจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ เป็นลายมือชื่อปลอม มิใช่ลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการทั้งสองดังกล่าวที่ให้ไว้แก่ธนาคาร และมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์โดยกรรมการทั้งสองนี้เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่ธนาคารจำเลยไปเช่นนี้ จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
การที่นาย จ. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงินของโจทก์เองเป็นผู้ลักเอาแบบพิมพ์เช็คพิพาททั้ง 15 ฉบับ ที่อยู่ในการครอบครองของโจทก์ไปกรอกข้อความและปลอมลายมือชื่อนาย อ. และนาย ส. กรรมการโจทก์ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์ได้ทั้ง 15 ฉบับ ในช่วงระยะเวลานานถึง 9 เดือนเศษ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการเก็บรักษาและควบคุมดูแลแบบพิมพ์เช็คพิพาท รวมทั้งไม่มีมาตรการในการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้มีผู้นำแบบพิมพ์เช็คพิพาทไปปลอมลายมือชื่อแต่อย่างใด อันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยการกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณตาม ป.พ.พ. มาตรา 223 วรรคหนึ่ง 438 และ 442 ซึ่งเมื่อได้กำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,500,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการหักบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ การพิพากษาให้เพิกถอนรายการหักบัญชีดังกล่าวจึงไม่เป็นการพิจารณาเกินคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่อซื้อยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอ และการริบเงินล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เงิน 100 บาท ของกลางที่ใช้ในการล่อซื้อมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้หรือวัตถุอื่นใดซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงไม่อาจริบได้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบ จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4119-4120/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: การไม่บังคับใช้ระเบียบตั้งแต่แรกมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดให้พนักงานระดับทั่วไปเกษียณอายุเมื่อครบ 50 ปี แต่เมื่อโจทก์มีอายุครบ 50 ปี จำเลยไม่ได้จัดให้โจทก์เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับแต่ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์และเป็นคุณแก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว ต่อมาภายหลังจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุตามข้อบังคับดังกล่าว ถือว่าเป็นข้ออ้างที่เป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับ พ.ร.บ.ศุลกากร: ห้ามรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณโทษปรับ
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ มีระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากร เข้าด้วยแล้ว กฎหมายมิได้กำหนดให้นำภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีตามกฎหมายอื่นมารวมคำนวณด้วย คดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมบาร์และโซ่ยนต์ของกลางที่จำเลยทั้งสามร่วมกันรับไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคา 7,000 บาท ค่าภาษีอากรขาเข้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มรวมเป็นเงิน 2,737 บาท เมื่อหักภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ของราคาของดังกล่าวจำนวน 490 บาท ออกแล้ว คงเป็นราคาของและอากรขาเข้า รวมเป็นเงิน 9,247 บาท โทษปรับสี่เท่าเป็นจำนวน 36,988 บาท ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาปรับจำเลยทั้งสาม ในความผิดดังกล่าวก่อนลดโทษรวมเป็นเงิน 38,948 บาท โดยนำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณค่าปรับด้วยนั้นเกินกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยทั้งสามถูกปรับรวมกันตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ เป็นเงิน 18,494 บาท หากจำเลย ไม่ชำระค่าปรับและจะต้องถูกกักขังแทนค่าปรับ ต้องกักขังจำเลยตามส่วนคนละเท่า ๆ กัน จึงกักขังจำเลยได้คนละ 30 วัน
of 125