พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้วิธีการสำหรับเด็ก: ประวัติพฤติกรรมผู้กระทำผิดมีผลต่อการพิจารณาการดูแล
การใช้วิธีการสำหรับเด็กตาม ป.อ. มาตรา 74 (2) เป็นกรณีที่ศาลเห็นว่าบิดามารดาสามารถดูแลเด็กนั้นได้ แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยังมีประวัติกระทำความผิดในคดีอื่นฐานร่วมกันลักทรัพย์ของผู้อื่นในเวลากลางคืน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะอันแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย ไม่สำนึกหรือเกรงกลัวต่อโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ไม่น่าจะอยู่ในวิสัยที่บิดามารดาของจำเลยที่ 2 จะสามารถดูแลได้ การที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยที่ 2 เข้ารับการศึกษาและฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดขอนแก่น จึงเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กที่เหมาะสมแก่จำเลยที่ 2 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษจำคุกเกินอัตรากฎหมายกำหนดในคดีลักทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษได้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (7) วรรคแรก ประกอบมาตรา 336 ทวิ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงเจ็ดปีหกเดือน และปรับตั้งแต่สามพันบาทถึงหนึ่งหมื่นห้าพันบาท ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งแล้ว วางโทษจำคุก 4 ปี นั้น จึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเรือประมงรู้เห็นเป็นใจกับการลักลอบขนน้ำมัน จึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
ผู้ร้องเป็นเจ้าของเรือประมงของกลางที่ถูกศาลสั่งริบในความผิดฐานลักลอบซื้อขายน้ำมันหลีกเลี่ยงภาษีได้ความว่า ก่อนนำเรือพิพาทออกให้เช่าผู้ร้องจัดทำถังน้ำมันจำนวนมากถึง 20 ถัง บรรทุกอยู่บริเวณหน้าเครื่องบรรจุน้ำมันได้ถึง 40,000 ลิตร ซึ่งโดยปกติเรือประมงทั่วไปจะมีถังน้ำมันที่ห้องเครื่องห้องละ 1 ถัง มีปริมาตรไม่เกิน 10,000 ลิตร นอกจากนี้เรือดังกล่าวยังมีเครื่องสูบถ่ายน้ำมันที่สามารถถ่ายน้ำมันออกไปสู่เรือลำอื่นได้ แสดงจุดประสงค์หรือเจตนาของผู้ร้องว่าจะใช้เรือดังกล่าวสำหรับบรรทุกน้ำมันเพื่อถ่ายให้เรือลำอื่นด้วย พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนเรือของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์รายงานสืบเสาะและพิจารณาในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกามีอำนาจบวกโทษคดีที่รอการลงโทษตามกฎหมาย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128-1129/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน vs. จ้างทำของ: สิทธิเรียกร้องของลูกจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวจัดให้มีการท่องเที่ยวทางเรือสำราญ เมื่อมีลูกค้าจะลงท่องเที่ยวเรือสำราญจำเลยจะแจ้งโจทก์ทราบโจทก์มีสิทธิที่จะให้บริการหรือปฏิเสธที่จะไม่ให้บริการแก่ลูกค้าได้หากโจทก์รับให้บริการแก่ลูกค้าบนเรือสำราญจะได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน เมื่อเรือสำราญต้องเข้าฝั่งโจทก์จะหมดหน้าที่เป็นคราวไปการจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่เป็นการจ้างทำของตามมาตรา 587โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมทำงาน เพราะเมื่อมีลูกค้าลงเรือสำราญจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าถือเป็นวันทำงานปกติ เป็นการกำหนดวันทำงานในรอบสัปดาห์ไม่ใช่เป็นงานที่หมดหน้าที่เป็นคราว ๆ ไปและไม่ได้มุ่งถึงความสำเร็จของงาน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยเพื่อรับค่าจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่างไปจากศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมทำงาน เพราะเมื่อมีลูกค้าลงเรือสำราญจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าถือเป็นวันทำงานปกติ เป็นการกำหนดวันทำงานในรอบสัปดาห์ไม่ใช่เป็นงานที่หมดหน้าที่เป็นคราว ๆ ไปและไม่ได้มุ่งถึงความสำเร็จของงาน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยเพื่อรับค่าจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่างไปจากศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ศาลยืนตามดุลพินิจศาลล่าง ไม่รอการลงโทษจำคุก เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยลักเอาเงินจำนวน 2,051 บาท ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจากเครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งไว้ให้บริการแก่ประชาชนในเวลากลางคืน โดยใช้กุญแจและอุปกรณ์อื่นที่จัดเตรียมมาเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด และใช้จักรยานเป็นพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด พาทรัพย์ไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดความขัดข้องในการใช้โทรศัพท์สาธารณะของประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 18 ปีเศษ นับว่าอยู่ในวัยที่มีวุฒิภาวะและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพอสมควรแล้ว แต่กลับกระทำความผิดดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงความสงบสุขของสังคมส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้แย้งวันแจ้งข้อกล่าวหาเพื่อพิสูจน์อำนาจฟ้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 3 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2541 แต่พนักงานสอบสวนยื่นคำขอผัดฟ้องเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2541 เกินกำหนดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาจำเลยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2541 ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี พนักงานสอบสวนขอผัดฟ้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ว่า จำเลยได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันใด เป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หาใช่ข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากบาดแผลและพฤติการณ์
มีดที่จำเลยใช้เป็นอาวุธเป็นมีดสปาต้ายาวประมาณ 1 ศอก นับว่าเป็นมีดขนาดใหญ่ที่อาจใช้เป็นอาวุธฟันทำอันตรายแก่บุคคลอื่นถึงแก่ความตายได้ และจำเลยเข้าไปฟันผู้เสียหายบริเวณใบหน้าในขณะที่ผู้เสียหายนอนอยู่ไม่ทันได้ระวังตัว ซึ่งจำเลยสามารถที่จะฟันโดยแรงให้ผู้เสียหายมีแผลฉกรรจ์ได้ แต่ปรากฏว่าบาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับบริเวณดั้งจมูกมีขนาดยาวเพียง 2 เซนติเมตร ส่วนที่ศีรษะด้านหลังก็มีขนาดยาวเพียง 3 เซนติเมตร บาดแผลทั้งสองแห่งเป็นแผลตื้นใช้เวลารักษาประมาณ 15 วัน เท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟันโดยแรง นอกจากนี้ยังได้ความจากผู้เสียหายว่ามีดที่จำเลยใช้ฟันมีผ้าพันทั้งด้าม โดยจำเลยเพียงดึงผ้าที่พันทางด้านปลายมีดออกเล็กน้อยเท่านั้น แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์ให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงชีวิต สำหรับสาเหตุที่จำเลยใช้มีดฟันผู้เสียหายนั้น ปรากฏว่าผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าจำเลยมาก่อน คงได้ความตามทางนำสืบของจำเลยว่ามีสาเหตุมาจากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเป็นวัยรุ่นหมู่บ้านปลาปากที่เคยทำร้ายเพื่อนของจำเลยซึ่งมิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า คงฟังเพียงว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังลาออก ไม่ขัด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มีผลบังคับได้
เอกสารที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามระบุว่า โจทก์ลาออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 โดยจำเลยทั้งสามจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้จำนวน 500,000 บาท และโจทก์จะไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่หรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และโจทก์ตกลงกับจำเลยทั้งสามตามข้อตกลงดังกล่าวโดยลงลายมือชื่อยอมรับภายหลังจากที่โจทก์แสดงความประสงค์จะลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ และไม่ข้ดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษทางอาญา: การบรรเทาโทษ, ความสามารถในการรู้ผิดชอบ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
พฤติการณ์แห่งคดีตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดข่มขู่หรือชักชวนให้จำเลยกระทำความผิด และจำเลยสามารถหลบหนีไปโดยว่าจ้างรถสามล้อเครื่องให้ไปส่งที่บ้านเพื่อน แสดงว่าระดับเชาวน์ปัญญาของจำเลยไม่ได้อยู่ในระดับปัญญาอ่อนรุนแรง จำเลยกระทำความผิดในขณะสามารถรู้ผิดชอบและสามารถบังคับตนเองได้ จึงไม่เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นโทษหรือลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 65
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
การที่บิดาของจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งให้เป็นผู้พิทักษ์จำเลย ก็เป็นเรื่องการจัดการทรัพย์สินของจำเลยเท่านั้น ส่วนที่จำเลยได้บรรเทาผลร้ายโดยการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลยตามบันทึกชดใช้ค่าเสียหายนั้น ก็ปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวได้ทำขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย และให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหาย การชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการบรรเทาผลร้าย จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้