คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,250 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197-199/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 5(3) กรณีเหมาค่าแรง ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้างเดิม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 (3) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่ได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรง โดยมอบให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดรับช่วงไปควบคุมดูแลการทำงานและรับผิดชอบจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างอีกทอดหนึ่งก็ดี หรือมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วย หมายความว่า เมื่อนายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงไปจ้างลูกจ้างให้มาทำงานให้แก่ผู้ประกอบกิจการ โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการก็ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างด้วย ซึ่งมีผลว่า หากผู้รับเหมาค่าแรงมีนิติสัมพันธ์ต่อลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเท่าใด ผู้ประกอบกิจการก็ต้องรับผิดต่อลูกจ้างนั้นตามสัญญาที่นายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงทำไว้กับลูกจ้างเท่านั้น เนื่องด้วยกฎหมายมุ่งคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับสิทธิพึงมีพึงได้ตามสัญญาจ้างแรงงานที่ผู้รับเหมาค่าแรงมีต่อลูกจ้าง แต่จะขอให้บังคับให้ผู้ประกอบกิจการรับผิดและให้ผูกพันดังเช่นลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการที่ได้จ้างลูกจ้างนั้นโดยตรงหาได้ไม่ เพราะลูกจ้างของผู้รับเหมาค่าแรงไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ประกอบกิจการนั้นโดยตรงตามสัญญาจ้างแรงงาน แต่มาตรา 5 (3) ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างของลูกจ้างนั้นด้วยเท่านั้น ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามเกินกว่าที่นายจ้างของโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้รับเหมาค่าแรงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสาม และเมื่อโจทก์ทั้งสามได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ปีละ 6 วันทำงาน ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างผู้รับเหมาค่าแรงแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้จำเลยจัดให้โจทก์ทั้งสามได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้มากกว่านี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9016-9043/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างเหมาช่วงงานและมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 2 จ้างบริษัท ค. ให้จัดหาคนงานหรือลูกจ้างในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่จำเลยที่ 2 กำหนด เพื่อไปทำงานของจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ และงานดังกล่าวจำเลยที่ 2 รับจ้างจากบริษัท ช. ให้ดำเนินการเรื่องเรือเพื่อการผลิต การขนถ่าย และจัดเก็บปิโตรเลียมที่ผลิตได้เพื่อเตรียมจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการได้ว่าจ้างด้วยวิธีเหมาค่าแรงโดยมอบหมายให้บริษัท ค. จัดหาลูกจ้างมาทำงานอันมิใช่การประกอบธรุกิจจัดหางาน โดยงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของลูกจ้างดังกล่าวด้วยตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และต่อมาเมื่อได้จัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ขึ้นและจำเลยที่ 1 ได้รับโอนกิจการและพนักงานของบริษัท ค. รวมทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาของบริษัท ค. ที่มีต่อจำเลยที่ 2 มาด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ทั้งยี่สิบแปดให้ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 บนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จำเลยที่ 2 จึงเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดด้วย
การทำงานบนเรือมีรอบการทำงานยี่สิบแปดวันและหยุดพักไม่ต้องทำงานยี่สิบแปดวัน เงินค่าพาหนะเป็นเงินที่จำเลยที่ 1 เหมาจ่ายให้เป็นค่าเดินทางจากภูมิลำเนาที่พักมายังท่าเรือจังหวัดระยองเพื่อไปขึ้นทำงานบนเรือทานตะวัน เอ็กซ์พลอเรอร์ จะให้ต่อเมื่อต้องเดินทางมาเพื่อขึ้นไปทำงานบนเรือเท่านั้น หากมิใช่รอบที่จะไปทำงานบนเรือก็จะไม่ได้รับเงินค่าพาหนะและโจทก์แต่ละคนได้รับไม่เท่ากัน การจ่ายค่าพาหนะดังกล่าว แม้จะจ่ายโดยเหมาจ่ายให้ แต่เมื่อโจทก์ทั้งยี่สิบแปดมีกำหนดเวลาทำงานติดต่อกันเป็นช่วง ช่วงละยี่สิบแปดวันที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและช่วงที่ไม่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งอีกยี่สิบแปดวันสลับกันไป เงินค่าพาหนะจะจ่ายให้เฉพาะช่วงที่ต้องปฏิบัติงานนอกฝั่งและได้รับจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงเป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสำหรับค่าเดินทางจากภูมิลำเนาไปยังท่าเรือจังหวัดระยอง มิได้จ่ายเพื่อตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติในวันทำงานของโจทก์ทั้งยี่สิบแปดและมิได้ประสงค์จะจ่ายเป็นค่าจ้าง จึงมิใช่ค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9006/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของการกระทำ หากเป็นการกระทำที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างไม่ได้
ตามคำร้องผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างอ้างเหตุขอเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างว่าผู้คัดค้านได้กระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามคู่มือพนักงานอันเป็นความผิดสถานร้ายแรง ข้อ 22 และข้อ 25 ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้คัดค้านเป็นความผิดสถานร้ายแรงหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านนั่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ภายในห้องทำงานอันเป็นห้องควบคุมเพื่อคอยรับแจ้งเหตุฉุกเฉินของผู้ร้อง ซึ่งห้องดังกล่าวมีโทรศัพท์สื่อสารภายนอกห้องควบคุมได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเป็นห้องกระจกสามารถมองจากภายนอกเข้าไปเห็นภายในห้องได้ อีกทั้งมีสัญญาณเตือนภัยให้รู้สึกตัวได้หากมีเหตุผิดปกติของเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านเพียงนั่งฟุบหลับไปแล้วปล่อยให้ อ. ผู้ใต้บังคับบัญชานั่งฟุบหลับไปด้วยกันเช่นนี้ แม้เป็นการผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 22 และ ข้อ 25 แต่การฟุบหลับดังกล่าวย่อมไม่อาจก่อให้เกิดเหตุขัดข้องหรือความล่าช้าเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านก็มิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานรักษาความปลอดภัย การฟุบหลับไปบ้างของผู้คัดค้านและ อ. จึงไม่ถึงกับเป็นความผิดในสถานร้ายแรง จึงยังไม่เป็นเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9006/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรงตามกฎหมาย ไม่ใช่ตามข้อบังคับบริษัท
ผู้ร้องอ้างเหตุในคำร้องขอเลิกจ้างผู้คัดค้านว่า ผู้คัดค้านกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสถานร้ายแรง การที่ศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยต่อเนื่องกันไปว่าการกระทำดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่สามารถเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 แล้ว
การกระทำความผิดสถานร้ายแรงอันจะนำมาเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างของนายจ้างได้ต้องเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอันถือว่าร้ายแรงตามกฎหมาย ไม่ใช่ถือเอาตามที่เขียนไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
ผู้คัดค้านกับ อ. ปฏิบัติหน้าที่ในห้องควบคุมเพื่อคอยรับแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งห้องดังกล่าวเป็นห้องกระจกสามารถมองจากภายนอกเข้าไปเห็นภายในห้องได้ มีโทรศัพท์สื่อสารภายนอกห้องควบคุมได้ตลอดเวลา และมีสัญญาณเตือนภัยให้รู้สึกตัวได้หากมีเหตุผิดปกติของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ การที่ผู้คัดค้านกับ อ. ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาฟุบหลับไปด้วยกัน แม้จะผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่ไม่อาจเป็นเหตุขัดข้องหรือก่อความล่าช้าเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉิน จึงไม่ถึงกับเป็นความผิดในสถานร้ายแรงที่ผู้ร้องจะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีและการเปลี่ยนแปลงฐานะโจทก์จำเลยหลังโจทก์ไม่มาศาล
หลังจากศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยแล้ว ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนด ศาลแรงงานมีคำสั่งว่า ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไป ให้จำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ จึงเท่ากับว่าไม่มีฟ้องเดิมของโจทก์อยู่ในศาลแล้ว คงเหลือเฉพาะฟ้องแย้งของจำเลยเท่านั้น และฐานะของจำเลยเท่ากับเป็นโจทก์ และโจทก์เท่ากับเป็นจำเลย แม้เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยโดยเปิดโอกาสให้โจทก์ยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเข้ามา ในคำให้การของโจทก์ส่วนที่ว่าฟ้องแย้งของจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเพราะเป็นคำขอที่แตกต่างคนละเรื่องกันขอให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยเสียนั้น ไม่มีฟ้องเดิมอีกต่อไปแล้ว คำให้การของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เกิดเป็นประเด็นว่าฟ้องแย้งของจำเลยจะเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางไม่กำหนดประเด็นนี้ไว้ ไม่พิจารณาในเรื่องฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่ แต่กลับพิจารณาในประเด็นอื่นอันเป็นเนื้อหาสาระคดีคือ โจทก์ค้างจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยอยู่จริงหรือไม่ จำนวนเท่าใด ต้องจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดหรือไม่ จำนวนเท่าใดนั้น เป็นการถูกต้องด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนในคดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาความเสียหายและผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน..." ดังนี้ หากศาลแรงงานกลางเห็นว่าค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนศาลแรงงานกลางจะลดลงก็ได้ แต่ต้องลดเป็นจำนวนพอสมควร และในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้นจะต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งงดสืบพยานโดยไม่ให้โอกาสโจทก์นำสืบถึงความเสียหายของโจทก์ และนำสืบถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7312/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการเป็นเจ้าสำนักและเดินโพยพนันฟุตบอล การปรับบทความผิดตามกฎหมาย
แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าการเดินโพยของจำเลยทั้งสองก็เพื่อให้สามารถมีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลสำเร็จลุล่วง และเป็นหน้าที่ต่อเนื่องจากการเป็นเจ้าสำนักโดยจำเลยทั้งสองมิได้จัดให้บุคคลอื่นเป็นคนเดินโพย การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตนและเป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือในการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งต่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ดังที่โจทก์ฟ้องกล่าวคือ จำเลยทั้งสองเป็นทั้งเจ้าสำนักจัดให้มีการเล่นเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตนและเป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือในการพนันทายผลฟุตบอล ตามลักษณะหรือสภาพแห่งการกระทำทั้งสองกรณีนั้นต่างเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ แม้จะเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในคำฟ้องจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนัน: ลดโทษจำคุกอาชีพเจ้ามือรับกินรับใช้ แม้พฤติการณ์ร้ายแรง แต่โทษรวมสูงเกินไป
จำเลยทั้งสองเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ในการเล่นการพนันสลากกินรวบหลายงวด ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำเป็นอาชีพ พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แม้จำเลยทั้งสองไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและมีภาระต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว รวมทั้งอ้างความจำเป็นในการกระทำความผิด ก็มิใช่เหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตามโทษจำคุกที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ในแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกได้ ตาม ป.อ. มาตรา 55 แม้จะปรากฏว่าโทษจำคุกที่กำหนดใหม่จะต่ำกว่าอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำตามมาตรา 12 (1) แห่ง พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478
of 125