คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย จิระบุญศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4701/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายยาเสพติดต่างจากฟ้อง แต่มีหลักฐานแสดงเจตนาเพื่อจำหน่าย ศาลลงโทษฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับ บ. ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีให้ บ. แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ไม่อาจลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 แต่การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ บ. เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้เพื่อจำหน่ายก่อนที่จะส่งมอบ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดของตัวแทนและใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. และจำเลยที่ 3 ประกอบการขนส่งในนามของจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ และจำเลยที่ 4 ได้รับอนุญาตตามกฎหมายให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลรถยนต์คันเกิดเหตุ รวมทั้งจำเลยที่ 4 เป็นตัวการของ ส. และจำเลยที่ 3 โดยยินยอมให้ ส. และจำเลยที่ 3 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 4 ตามคำฟ้องจึงเป็นการขอให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ส. ตัวแทนกระทำการตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ในฐานะเป็นตัวการ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3468/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันครอบครองยาเสพติด พยานหลักฐานจากตำรวจและคำให้การของผู้ต้องหาร่วมสนับสนุนการพิพากษา
พยานโจทก์ปากร้อยตำรวจเอก ว. และสิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติการไปตามอำนาจหน้าที่ ทั้งยังเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 เชื่อว่าให้การไปตามความเป็นจริงที่ประสบพบมา ไม่มีเหตุให้ระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำให้ร้ายจำเลยที่ 4 ให้ต้องรับโทษ นอกจากนี้พยานโจทก์อีกสองปากก็เป็นพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุและเห็นเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่ตรวจค้นและพบเมทแอมเฟตามีนในบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 4 มานอนค้างที่บ้าน อีกทั้งพยานโจทก์ทั้งสี่ยังเบิกความสอดคล้องต้องกันกับพยานเอกสารว่า ขณะที่ร้อยตำรวจเอก ว. กับสิบตำรวจตรี ส. ตะโกนเรียกบุคคลในบ้านเพื่อให้เปิดประตู ไฟยังเปิดอยู่และปิดในเวลาต่อมา แต่ก็ได้ความจากพยานโจทก์ทั้งสองปากเบิกความว่า สิบตำรวจตรี ส. สวมไฟฉายที่สามารถส่องสว่างได้ในระยะไกลกว่า 10 เมตร อยู่ที่ศีรษะ ขณะที่ปีนฝาผนังกั้นห้องเพื่อเข้าไปเปิดประตูนั้น เห็นจำเลยที่ 4 วิ่งไปที่บริเวณโอ่งน้ำ ซึ่งก็สัมพันธ์กับแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุและภาพถ่าย จึงน่าเชื่อว่าสิบตำรวจตรี ส. เห็นจำเลยที่ 4 อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังได้ความจากบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ซึ่งกระทำขึ้นภายหลังเกิดเหตุเพียง 1 วันด้วยว่า เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจพบเป็นของจำเลยที่ 4 ที่นำไปทิ้งในโอ่งน้ำขณะเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้น แต่ด้วยความรีบร้อนทำให้เมทแอมเฟตามีนบางส่วนตกหล่นที่พื้น ซึ่งแม้บันทึกคำให้การดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่าและถือเป็นพยานซัดทอด ซึ่งตามกฎหมายห้ามมิให้รับฟังก็ตาม แต่ก็มิได้ต้องห้ามโดยเด็ดขาด เมื่อพิจารณาตามสภาพ ลักษณะแหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานดังกล่าวนั้น ประกอบกับโจทก์มีพยานบุคคลและพยานเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนทำให้พยานหลักฐานของโจทก์น่าเชื่อถือ พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3071/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินแม้ไม่มีชื่อในโฉนด: ศาลฎีกายืนยันการยึดทรัพย์ได้หากได้สิทธิครอบครองมาโดยชอบ
จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ที่ดินพิพาทยังเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจำเลยได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ส. มารดาโจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมีเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเป็นผู้ครอบครองตั้งแต่ก่อนที่ดินพิพาทจะเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินแล้ว แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันจะทำให้ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ย่อมโอนการครอบครองและส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขับไล่ไม่ได้ จากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเมื่อ ส. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่จำเลย และจำเลยได้เข้าครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อขายแล้ว จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 การครอบครองที่ดินพิพาทของ ส. หรือโจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมสิ้นสุดลง ส. หรือโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่มีการไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแล้วใส่ชื่อ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการออกโฉนดที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง และอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตาม ป. ที่ดิน มาตรา 61 และไม่เป็นเหตุให้สิทธิของจำเลยเหนือที่ดินพิพาทที่มีอยู่แล้วโดยสมบูรณ์เสียไป การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลย เพราะจำเลยไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่น่าจะถูกต้องเพราะเหตุที่ไม่มีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทนั้น เนื่องจากเป็นกรณีที่ถือว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจะทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย และเมื่อโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยมิชอบ จำเลยจะขอให้ใส่ชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้หากจะไม่ดำเนินการยึดที่ดินพิพาทด้วยเหตุว่าไม่มีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินพิพาทแต่เพียงประการเดียวนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพวันกระทำผิดเป็นยุติ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่หลังรับสารภาพต้องห้าม
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวันกระทำความผิดของจำเลยย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามฟ้องโจทก์ ต่อมาจำเลยอุทธรณ์ว่า ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 แต่จำเลยเก็บทรัพย์สินที่ตกจากรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 และศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 จึงเป็นไปไม่ได้ที่วันเกิดเหตุตามฟ้องจะเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลย นั้น จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่จำเลยให้การรับสารภาพและเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14144/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ภาระค้ำประกันเมื่อผู้รับจำนองยินยอมให้ผู้ซื้อรับภาระจำนอง และการระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วม
จำเลยที่ 4 และที่ 5 ต่างทำสัญญาค้ำประกันหนี้กู้ยืมเงินและหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจำนวนเดียวกันไว้ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม พร้อมกับจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ไว้เป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วย ต่อมาจำเลยที่ 5 ขายที่ดินที่จำนองให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์มีหนังสือที่แสดงเจตนาว่ายอมปลดหนี้ภาระการค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 5 จนหมดสิ้นแล้ว เมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 293 และมาตรา 296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อจำเลยที่ 5 ย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 5 ระงับไปตามมาตรา 340 และย่อมมีผลทำให้หนี้ตามภาระการค้ำประกันสำหรับจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามมาตรา 293 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และแม้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เนื่องจากต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและหนี้ตามภาระการค้ำประกันดังกล่าวเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในระหว่างจำเลยที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 4 ได้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำกัดเฉพาะทางมรดก การให้สิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยถือเป็นการโอนสิทธิ
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 39 และเจตนารมณ์ตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า ที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม การให้โจทก์มีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 ต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นย่อมก่อให้เกิดการเลี่ยงกฎหมายโดยวิธีการทำกินต่างดอกเบี้ย จึงมิอาจพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จำกัดเฉพาะทางมรดก การให้สิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยถือเป็นการโอนสิทธิ
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39 แสดงให้เห็นว่าที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม การให้โจทก์มีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นย่อมก่อให้เกิดการเลี่ยงกฎหมายโดยใช้วิธีการทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลจึงมิอาจพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดินตาม ส.ป.ก. 4-01 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8222/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ต้องเป็นการรับมรดกเท่านั้น การให้ผู้อื่นเข้าทำกินถือเป็นการโอนสิทธิที่ผิดกฎหมาย
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ฯ มาตรา 39 บัญญัติว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกรหรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และหมายเหตุท้าย พ.ร.บ. ดังกล่าวระบุเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประสบปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน รัฐจึงต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินและให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์มากที่สุด จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) นั้นจะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้โจทก์มีสิทธิเข้าทำกินต่างดอกเบี้ยในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดินเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นย่อมก่อให้เกิดการเลี่ยงกฎหมายโดยใช้วิธีการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อ ส. ถึงแก่ความตาย ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. ส่งมอบที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ให้โจทก์เข้าทำกินต่างดอกเบี้ยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลแจ้งเจ้าหนี้เมื่อลูกหนี้วางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินจึงไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากยังไม่ได้แจ้ง
เมื่อมีการวางเงินที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางที่ศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อมีการดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใด ๆ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยที่ 3 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตามมาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน และเมื่อโจทก์ทั้งสามได้เรียกเอาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสาม ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
of 21