พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เริ่มนับจากวันที่ออกโฉนด และต้องครอบครองเกิน 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์
ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้ร้องก็ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากการครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับแต่วันที่ที่ดินพิพาทได้ออกโฉนดที่ดินเป็นต้นไป ทั้งผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทก่อนจะมีการออกโฉนดที่ดินรวมเข้าด้วยก็มิได้ เพราะการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองปรปักษ์นั้น ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6346/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ต้องทำเป็นหนังสือ การฟ้องสัญญากู้เงินที่ไม่สมบูรณ์
อ. บิดาโจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนไปติดต่อขอเช่าที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์และมอบเงินจำนวน 4,000,000 บาท ให้แก่จำเลยไปใช้เป็นค่าดำเนินการและค่าเช่าพื้นที่ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของ อ. เงินที่จำเลยรับมาจาก อ. จึงเป็นเงินที่จำเลยรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนซึ่งจำเลยสัญญาว่าจะส่งคืนให้เนื่องจากกิจการที่ทำการแทนไม่สำเร็จลุล่วง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ อ. ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์กับจำเลยเจรจาตกลงทำสัญญากู้เงินกัน โดยระบุว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนให้แก่ อ. จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จาก อ. มาเป็นโจทก์และเปลี่ยนมูลหนี้ตามสัญญาตัวแทนมาเป็นมูลหนี้ตามสัญญากู้เงิน ซึ่งการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคสาม นั้น ต้องบังคับด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องโดยต้องทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ปรากฏว่า อ. ได้โอนหนี้ที่จำเลยมีอยู่แก่ตนให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ จึงไม่เป็นการโอนหนี้ที่สมบูรณ์ แม้จะได้ความว่า อ. มอบหมายให้โจทก์ดำเนินการเรื่องนี้ทั้งหมด โจทก์ก็มีฐานะเป็นเพียงตัวแทน อ. ทั้งไม่ปรากฏว่า อ. ดำเนินกิจการโรงเรียนร่วมกับโจทก์อันจะถือว่าจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ด้วย และการทำสัญญากู้เงินก็ไม่ปรากฏว่า อ. มีส่วนเกี่ยวข้องหรือร่วมรู้เห็นด้วยแต่ประการใด ดังนี้เมื่อจำเลยไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ย่อมไม่มีหนี้เดิมที่จะแปลงเป็นมูลหนี้ตามสัญญากู้เงินได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. ม.216 โต้แย้งเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่โต้แย้งศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น เนื้อหาของฎีกาก็คัดข้อความมาจากคำอุทธรณ์ทั้งหมด แม้คำขอท้ายฎีกาจะเป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิได้โต้แย้งคัดค้านว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาไม่ชอบอย่างไร โดยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5869/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โจทก์ต้องนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ ย่อมแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดในข้อหาใดข้อหาหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบ คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5506/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าตรวจสอบความเสียหายอาคาร หากผลเป็นไปตามคำท้า ศาลพิพากษาตามผลตรวจสอบได้โดยไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันว่า หากผู้เชี่ยวชาญไปตรวจสอบความเสียหายของอาคารของโจทก์แล้วมาเบิกความประกอบการรายงานว่า ความเสียหายของอาคารโจทก์ที่ได้รับเกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยยอมแพ้และยอมจ่ายค่าเสียหายให้โจทก์ตามความเสียหายที่ผู้เชี่ยวชาญรายงาน หากผู้เชี่ยวชาญรายงานว่าความเสียหายของโจทก์ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ การที่ผู้เชี่ยวชาญทำความเห็นต่อศาลว่า ได้ไปตรวจสอบอาคารพิพาทแล้วความเสียหายเกิดจากการเพิ่มน้ำหนักของอาคารพิพาท ค่าเสียหายของอาคารของโจทก์เป็นเงิน 850,000 บาท และผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความประกอบการรายงานว่า อาคารพิพาททรุดตัวเกิดจากการต่อเติมของจำเลย ดังนั้น ผลการตรวจสอบอาคารพิพาทของผู้เชี่ยวชาญจึงตรงตามคำท้าแล้ว ส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญมิได้ทำรายละเอียดรายงานเรื่องความเสียหายนั้น เมื่อตามคำท้าไม่ปรากฏว่าคู่ความได้ตกลงกันให้ผู้เชี่ยวชาญทำรายละเอียดเรื่องความเสียหาย จึงเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธว่ากรณีไม่เป็นไปตามคำท้าไม่ได้ เมื่อผลการตรวจสอบอาคารของผู้เชี่ยวชาญสมประโยชน์แก่โจทก์ตามคำท้า การที่ศาลชั้นต้นไม่สืบพยานต่อไป และพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ต้องบังคับจากทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ก่อน หากไม่พอจึงบังคับจากจำเลยที่ 2
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินแก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ใช้แทนจนครบ ฉะนั้น โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อไม่พอจึงจะบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 689
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งเงินบำนาญของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มายังเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2546 และโจทก์ได้รับเงินบางส่วนจากเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้และการบังคับชำระหนี้ไม่เป็นการยาก แม้จะเป็นการชำระหนี้เพียงบางส่วนแต่ก็ยังไม่ปรากฏพฤติการณ์ใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่อาจบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้อีกต่อไป โจทก์จึงต้องบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลเพื่อแสดงสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 ต้องผ่านการฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ได้ ต้องเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาล เพื่อให้ได้รับความรับรองหรือคุ้มครองสิทธิของตนที่มีอยู่ โดยจะต้องมีกฎหมายระบุไว้แจ้งชัดว่าให้กระทำได้ แต่กรณีตามคำร้องขอของผู้ร้องมิใช่เป็นการขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าผู้ร้องเป็นผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 เนื่องจากเป็นที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด คงมีแต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เท่านั้น ซึ่งหามีกฎหมายสนับสนุนให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแต่ฝ่ายเดียวไม่ หากผู้ร้องเห็นว่าผู้ร้องมีสิทธิครอบครองในที่ดินและถูกโต้แย้งสิทธิประการใด ก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้องอันเป็นคดีมีข้อพิพาท หาใช่เสนอคดีโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรส: แม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล ก็ทำได้หากคดีเดิมค้างพิจารณา
เมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอแบ่งสินสมรส หากมีสินสมรสอยู่ที่โจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้นก็ตาม ทั้งนี้โจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5149/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องแย้งแบ่งสินสมรสแม้ทรัพย์สินอยู่นอกเขตศาล เมื่อโจทก์ฟ้องก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1532 กำหนดให้จัดการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเมื่อมีการหย่า โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่คู่หย่าจะแยกจากกันไปตั้งครอบครัวของตนขึ้นใหม่ ฉะนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งจดทะเบียนหย่ากับจำเลยแล้ว ได้ฟ้องขอให้แบ่งสินสมรส จำเลยก็ชอบที่จะฟ้องแย้งขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้เช่นเดียวกัน แม้สินสมรสที่จำเลยฟ้องแย้งจะเป็นสินสมรสอื่นที่อยู่นอกเขตศาลชั้นต้น ประกอบกับโจทก์เป็นฝ่ายเริ่มต้นคดีโดยฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงเป็นกรณีที่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องแย้งต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอแบ่งสินสมรสกับโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (1) ซึ่งเป็นบทบัญญัติยกเว้นมาตรา 4 (1) และมาตรา 4 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลชี้สองสถาน: กรณีสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆียะกรรม
จำเลยที่ 5 ขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 5 เนื่องจากขณะทำสัญญาจำเลยที่ 5 มีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์ มิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม คำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180