พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5074/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน: ต้องเป็นเหตุอันสมควร หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การขอแก้ไขคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 จำเลยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถานไปแล้วต่อมาระหว่างสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเดิมโดยอ้างเพิ่มเติมว่า สัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องไม่มีผลผูกพันจำเลย เนื่องจากขณะที่ทำสัญญาดังกล่าวจำเลยมีอายุเพียง 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์กระทำนิติกรรมโดยมิได้รับความเห็นชอบหรือความยินยอมจากมารดาซึ่งเป็นผู้ปกครอง จึงมีผลเป็นโมฆียะกรรม และขอถือเอาคำให้การที่ขอแก้ไขนี้เป็นการบอกล้างโมฆียกรรมประกอบกับจำเลยได้บอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ดังนั้นคำให้การที่ขอแก้ไขดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่จำเลยหยิบยกเรื่องความเป็นโมฆียะกรรมของสัญญาประนีประนอมยอมความตามฟ้องขึ้นโต้เถียงโจทก์ซึ่งการกล่าวอ้างว่านิติกรรมที่ทำเป็นโมฆียะกรรมโดยจะบอกล้างหรือไม่ก็ตามมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะอยู่ในข้อยกเว้นที่พึงอนุญาตให้จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การภายหลังล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248: การยกข้อเท็จจริงใหม่เพื่อวินิจฉัยอายุความ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ตอนท้ายฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ที่โจทก์ขายแบตเตอรี่แก่จำเลย สินค้าเป็นประเภทใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไปและสามารถส่งให้แก่จำเลยได้เป็นคราว ๆ ไปไม่เกี่ยวข้องกันโดยในใบส่งของโจทก์ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ 90 วัน นับแต่วันส่งสินค้า จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนต้น เป็นฎีกาที่ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ผู้อื่น: ฟ้องบังคับจำนองไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลยกฟ้องได้
การที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ โดยจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้อง แต่จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น ไม่ตรงกับที่โจทก์ฟ้อง จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องในสินสมรส
การที่โจทก์และ ก. หย่ากันโดยทำข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินตามใบยอมความและได้กระทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะขอจดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยความสมัครใจและตกลงแบ่งทรัพย์สินกัน รวมทั้งสวนยางพาราที่ดิน ส.ค.1 ตามฟ้อง เห็นได้ว่าโจทก์และ ก. ประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อใบยอมความเป็นข้อตกลงกันในเรื่องเกี่ยวกับสินสมรส จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสระงับไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในใบยอมความดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินตามฟ้องอีก
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้คือชั้นละ 200 บาท
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามคำฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้คือชั้นละ 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและอำนาจช่วง: การคำนวณค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนผู้รับมอบและลักษณะการมอบอำนาจ
โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ก. คนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน ลงลายมือชื่อหรือบุคคลที่มีรายชื่อในกลุ่ม ข. 2 คน ในจำนวน 8 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันกระทำกิจการต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในข้อ 1 ถึงข้อ 5 ได้แก่ ยื่นคำฟ้อง ดำเนินคดีทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีล้มละลาย แจ้งความร้องทุกข์ รับเงินหรือทรัพย์สิน รวมทั้งให้มอบอำนาจช่วงแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ก. เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการมากว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนกระทำกิจการแยกกันได้ ต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ค) ส่วนการมอบอำนาจให้บุคคลในกลุ่ม ข. เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
การมอบอำนาจช่วงให้บุคคลที่มีรายชื่อคนใดคนหนึ่งในจำนวน 3 คน มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งที่รวมทั้งมีอำนาจมีรับเงินหรือเอกสารและอื่นๆ ได้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวต้องเสียค่าอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องโดยปริยายจากการแถลงยอมรับข้อเท็จจริงและขอเลื่อนนัดเพื่อเจรจา
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ไว้ 4 ประเด็นคือ ข้อ 1. เรื่องอำนาจฟ้อง ข้อ 2. จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด ข้อ 3. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และข้อ 4. การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งทนายจำเลยทั้งสองได้แถลงสละประเด็นในข้อ 4. ต่อมาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วันที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ครั้งสุดท้ายและถอนเงินครั้งสุดท้าย กับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระขณะนั้น แล้วจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ทนายโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานบุคคลเพียงขออ้างส่งพยานเอกสาร ส่วนทนายจำเลยทั้งสองก็ไม่ติดใจสืบพยาน นอกจากนี้คู่ความยังแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาให้เนิ่นนานออกไป เพื่อขอเวลาในการเจรจากันอีกครั้งเนื่องจากคดีอาจมีทางตกลงกันได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองสละประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องด้วยโดยปริยาย จึงคงเหลือแต่เพียงประเด็นข้อ 2. ที่ว่า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด ซึ่งคู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยตามพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งและตามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับ ศาลจึงไม่ต้องวินิจฉัยในเรื่องอำนาจฟ้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการฟ้องคดีแทนโจทก์: การมอบอำนาจช่วงและข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจว่าความอย่างทนายความเพื่อป้องกันมิให้บุคคลภายนอกอันมิได้มีอาชีพเป็นทนายความมาว่าความในศาลอย่างทนายความ แต่กรณีที่ผู้รับมอบอำนาจมีอาชีพเป็นทนายความและมีสิทธิว่าความในศาลได้อยู่แล้ว หากประสงค์จะว่าความอย่างทนายความก็ชอบที่จะแต่งตั้งตนเองเป็นทนายความได้ตามมาตรา 61 และ 62 เมื่อ ย. ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยมีอาชีพทนายความ ย. ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งแต่งตนเองเป็นทนายความอีกฐานะหนึ่งได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 60 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขายที่ดินและการขาดอายุความฟ้องคดี
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบการครอบครองให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองเพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์ จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4659/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การซื้อขาย vs. การแย่งการครอบครอง และประเด็นอายุความ
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์โดยโจทก์ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตลอดมา ดังนี้ ตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่มีการอ้างสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น หาได้หมายถึงที่ดินที่ตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเองไม่ การที่จำเลยยกเหตุเป็นข้อต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยการซื้อมาจากโจทก์จึงไม่เกิดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4658/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงเจตนาในชั้นศาลไม่ถือเป็นข้อตกลงผูกพัน การบังคับคดีต้องเป็นไปตามคำพิพากษา
การที่ทนายจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยจะนำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลในวันที่ 14 มิถุนายน 2545 เวลา 9 นาฬิกา โดยในวันดังกล่าวโจทก์จะนำโฉนดที่ดินเลขที่ 32270, 32271, 32272 และ 32273 ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มามอบให้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยไปดำเนินการจดทะเบียนโอนโดยเสียค่าธรรมเนียมเองและหากจำเลยไม่ดำเนินการตามที่ได้แถลง ให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษาโจทก์และทนายโจทก์แถลงไม่ค้านนั้น การแถลงของทนายจำเลยและโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำต่อศาลชั้นต้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 1 (7) มิใช่การแสดงเจตนาต่อกันในฐานะคู่สัญญาที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่มีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ แม้จำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลงก็ตาม ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับผลตามคำพิพากษามิได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยไม่สามารถหาเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลได้ จึงไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันในนัดที่แล้ว ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษานั้น เป็นคำสั่งนอกเหนือคำบังคับ ย่อมเป็นการไม่ชอบเพราะแม้ว่าจำเลยไม่ได้นำเงินจำนวน 750,000 บาท มาวางศาลตามที่แถลง ก็จะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะบังคับตามผลคำพิพากษาไม่ได้ เป็นการนอกเหนือคำพิพากษา ทั้งมิใช่ข้อตกลงของโจทก์และจำเลย หากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาโจทก์ก็ชอบที่จะดำเนินการออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษานั้นได้ต่อไป