พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4594/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญา แม้ไม่มีลายมือชื่อกรรมการ การกระทำของตัวแทนสร้างภาระผูกพันแก่บริษัทหลัก
จำเลยทั้งสองเคยสั่งให้โจทก์ลงโฆษณามาก่อนหลายครั้ง โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในใบสั่งโฆษณา แม้ในครั้งที่พิพาทกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงลายมือชื่อไว้แต่ก็เป็นเรื่องข้อตกลงภายในของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อปัดความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งบุคคลภายนอก ทั้งข้อความที่ลงโฆษณาก็เป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการและประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว พฤติการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของตนว่าจ้างโจทก์โฆษณา จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดชำระสินจ้างแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนายกที่ดินเป็นทางสาธารณะมีผลสมบูรณ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียนหรือรับอนุญาตจากหน่วยงาน
ช. ยกทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะแล้ว แม้จะระบุว่า ช. จะมาจดทะเบียนให้เสร็จภายใน 3 วัน แต่เป็นการยกให้เป็นทางสาธารณะจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีที่ ช. ได้แสดงเจตนาโดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนสิทธิการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 อีก ทั้งการยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะไม่ต้องมีนายอำเภอหรือนายกเทศมนตรีในท้องที่แสดงเจตนารับ
ทางพิพาทติดจำนองอยู่โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนอง เป็นที่เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนอง ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้จำนองกับผู้รับจำนอง ทั้งในหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จำนองประพฤติผิดหรือไม่ประพฤติตามสัญญาที่กำหนดไว้ข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีเท่านั้น การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเสียเปล่า
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาว่า เข้าไปยึดครอบครองและก่อสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด แต่ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่า กรณียังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นนำดินไปถมในทางพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำได้ในฐานะเจ้าของที่ดินนั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ คดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
ทางพิพาทติดจำนองอยู่โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนอง เป็นที่เสื่อมเสียต่อสิทธิของผู้จำนองเองในทรัพย์สินที่จำนอง ผู้จำนองต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับจำนองเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น เป็นเรื่องระหว่างผู้จำนองกับผู้รับจำนอง ทั้งในหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุไว้ว่า ถ้าผู้จำนองประพฤติผิดหรือไม่ประพฤติตามสัญญาที่กำหนดไว้ข้อหนึ่งข้อใดหรือทั้งหมด ผู้รับจำนองมีสิทธิจะเรียกให้ผู้จำนองชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีเท่านั้น การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกทางพิพาทเป็นทางสาธารณะเสียเปล่า
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาว่า เข้าไปยึดครอบครองและก่อสร้างในที่ดินของรัฐซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน โดยไม่มีสิทธิ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด แต่ศาลวินิจฉัยแต่เพียงว่า กรณียังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้ผู้อื่นนำดินไปถมในทางพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิทำได้ในฐานะเจ้าของที่ดินนั้น จึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง คำวินิจฉัยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดที่วินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ คดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้ตามจำนวนความเสียหายที่แท้จริง ไม่ใช่จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกัน
จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันว่าบริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญาและหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 และ 378 ที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญาตามสัญญาจ้าง แต่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และมิใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันโดยไม่คำนึงว่าบริษัท ล. จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่ก่อน เพราะจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ใช่เงินมัดจำ สิทธิเรียกร้องจากค้ำประกันขึ้นอยู่กับความรับผิดของลูกหนี้
จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ บริษัท ล. ผู้รับจ้างนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญา มิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันเบื้องต้นเพื่อที่จะให้โจทก์เชื่อได้ว่า บริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญา และหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จำนวนเงินตามสัญญาไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 377 และ 378 จึงมิใช่หลักประกันที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญา แต่จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และเป็นเพียงข้อตกลงที่ให้ความสะดวกในวิธีการบังคับชำระหนี้หากมี และจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่ากับความรับผิดที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4053/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่กับคดีที่กระทำผิดก่อนการแก้ไข กฎหมายที่ใช้ต้องเป็นคุณแก่จำเลย
ศาลชั้นต้นลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 3,000,000 บาท เป็นการแก้เฉพาะโทษ ซึ่งเป็นกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน ขอให้ลงโทษประหารชีวิต เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ขณะจำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 5 และมาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยมีผลให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) (ที่แก้ไขใหม่) และต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งระวางโทษหนักกว่าระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เนื่องจากมีระวางโทษปรับเพิ่มมาด้วย กรณีจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลยบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่ศาลล่างทั้งสองใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ฎีกาในปัญหานี้และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เพราะต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ขณะจำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 5 และมาตรา 66 และให้ใช้ข้อความใหม่ซึ่งแตกต่างจากเดิมโดยมีผลให้การกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 15 วรรคสาม (2) (ที่แก้ไขใหม่) และต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต ตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งระวางโทษหนักกว่าระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) เนื่องจากมีระวางโทษปรับเพิ่มมาด้วย กรณีจึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดที่เป็นคุณแก่จำเลยบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 การที่ศาลล่างทั้งสองใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้คู่ความจะไม่ฎีกาในปัญหานี้และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เพราะต้องห้ามตามกฎหมายก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อหาพาอาวุธและประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถรับฟังได้ในคดีทำร้ายร่างกาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ลงโทษปรับ 100 บาท ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ขอให้พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาดังกล่าว ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกข้อหานี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีฟ้องแย้ง ศาลพิจารณาคดีฝ่ายเดียวได้ และการห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและได้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วยเมื่อโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ไปจนเสร็จสิ้นแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย หาใช่ต้องจำหน่ายคดีสำหรับฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ขาดนัดพิจารณา, การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว, ฟ้องแย้ง, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีค่าเช่าเดือนละ 24,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าค่าเช่ามีเพียงเดือนละ 2,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้งนั้นจำเลยมีคำขอบังคับให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำในคดีถอดถอนผู้จัดการมรดก – สิทธิทายาทรับมรดก
เหตุตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลสั่งถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. คือ กรณีผู้ร้องได้ขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่ก่อนที่ผู้คัดค้านจะสืบสิทธิของ ม. ที่จะรับมรดกของ น. ทั้งยังเป็นเหตุเดียวกันกับที่ ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. ด้วย ซึ่งในคดีนั้นเมื่อ ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม. ซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าววินิจฉัยว่าการขอถอดถอนผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ม. ไม่ตกทอดไปยังทายาทของ ม. ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น. และเหตุตามคำร้องขอดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซ้ำอีก ซึ่งศาลต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องขอเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง ดังนั้นที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอในคดีนี้ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144