พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8795/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบข้อเท็จจริงเรื่องการชำระค่าที่ดินเพื่อพิสูจน์สิทธิครอบครอง ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อขาย
แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินจะมีข้อความว่า ผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินและผู้ซื้อได้ชำระเงินค่าที่ดินไปถูกต้องแล้วก็ตาม แต่โจทก์ก็อ้างว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า ซึ่งจำเลยต่อสู้ว่าไม่ได้เช่าที่ดินของโจทก์ แต่อยู่ในที่ดินพิพาทเนื่องจากโจทก์ยังไม่ชำระค่าที่ดิน ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยังไม่ชำระค่าที่ดินให้นั้น เป็นการนำสืบถึงเหตุที่จำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำสืบสัญญาขายที่ดินเพื่ออ้างสิทธิหรือเพื่อให้ตัวเองได้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดจากสัญญาขายที่ดินนั้นไม่ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7981/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของพนักงานขับรถไฟและการพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา รวมถึงอำนาจโจทก์ร่วม
จำเลยขับรถไฟมาไม่เร็ว เสียงเงียบและไม่ได้เปิดหวีดรถไฟ บริเวณที่เกิดเหตุเป็นชุมนุมชน มีบ้านเรือนอยู่สองข้างทางรถไฟเป็นจำนวนมาก มีร่องรอยเป็นทางเดินชัดเจน จำเลยควรเปิดหวีดรถไฟเพื่อให้คนที่สัญจรไปมาทราบเป็นระยะๆ การที่จำเลยไม่เปิดหวีดรถไฟเป็นสัญญาณเพื่อเตือนคนที่สัญจรไปมาให้ทราบว่ามีขบวนรถไฟขับผ่านมาทำให้รถไฟที่จำเลยขับชนและทับเด็กหญิง ส. ผู้ตาย และเด็กหญิง ว. ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย และผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำโดยประมาท จำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายแม้จะมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่ ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายและผู้เสียหายมีส่วนประมาท โจทก์และโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าเหตุที่เกิดเนื่องมาจากผู้ตายมีส่วนกระทำโดยประมาท ดังนั้น ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7656/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการกู้ยืมและการรับสภาพหนี้: อายุความ 10 ปี มิใช่ 2 ปี
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 โดยรับว่าเป็นหนี้กู้ยืมเงินโจทก์ 60,000 บาท จึงมีผลเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือและเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ด้วย การกู้ยืมเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ส่วนหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีอายุความในตัวเองเพียงแต่มีผลทำให้อายุความในมูลหนี้เดิมสะดุดหยุดลง เมื่อนับแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2540 ถึงวันที่ 24 ตุลาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
การที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้มิใช่กรณีลูกหนี้รับสภาพความผิดภายหลังมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วที่จะมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35
การที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้มิใช่กรณีลูกหนี้รับสภาพความผิดภายหลังมูลหนี้เดิมขาดอายุความแล้วที่จะมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกคู่ครองและการหย่าต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 28 กำหนดว่า บุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธินั้นได้ การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่า โดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามแต่ความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตร หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยต้องมีเหตุที่อ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 มิฉะนั้น สถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการขอศาลสั่งเป็นบุคคลสาบสูญ: ยานพาหนะที่พบ vs. สูญหายพร้อมผู้ขับ
ช. เดินทางออกจากบ้านโดยใช้รถยนต์กระบะ แล้วสูญหายไป ภายหลังพนักงานของบริษัทพบรถยนต์กระบะที่ ช. เช่าซื้อไปจอดอยู่ที่ด่านทางออกไปสหภาพพม่าจึงยึดรถยนต์กลับคืนมา การที่พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ใช้เดินทาง จึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะต้องขอให้เป็นคนสาบสูญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลสาบสูญ: รถยนต์ถูกพบยึด ไม่ถือเป็นยานพาหนะสูญหาย ใช้ระยะเวลา 5 ปี ตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทางกรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนสาบสูญ: การพิจารณาช่วงเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 เมื่อยานพาหนะถูกพบ
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พบรถยนต์ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ ช. ใช้เดินทาง กรณีจึงมิใช่ยานพาหนะที่ ช. เดินทางสูญหาย อันจะเข้าหลักเกณฑ์ระยะเวลา 2 ปี ที่จะร้องขอให้ ช. เป็นคนสาบสูญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 วรรคสอง แต่เป็นกรณีที่จะต้องใช้หลักเกณฑ์ระยะเวลา 5 ปี ตามมาตรา 61 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องคดีแพ่งหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฎีกาเป็นอันลบล้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยจะยื่นฎีกา แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสียถ้าหากมี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ชอบที่จะถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยไม่คัดค้านแล้ว ซึ่งการถอนคำฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องรวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่นๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลยตามมาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ศาลฎีกาสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสิทธิในครอบครัวและมรดก
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. นั้น ว. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องที่ 1 แล้ว และยังเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องที่ 1 อยู่ตลอดมาจน ว. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1445 (3) (เดิม) และตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ว. แม้ภายหลัง ว. ได้ถึงแก่ความตายเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. สิ้นสุดลงก็ตาม แต่เมื่อการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. ยังเป็นโมฆะอยู่เช่นนี้ ย่อมมีผลกระทบถึงสิทธิในครอบครัวและสิทธิในมรดก ผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ว. เป็นโมฆะได้