พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดฐานมีอาวุธปืน และการที่ศาลฎีกาสั่งยกฟ้องข้อหาขาดอายุความ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 26 กรกฎาคม 2535 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 3 ตุลาคม 2540 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4856-4857/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น ไม่ถือเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ แม้มีการรับรองเขตที่ดินให้
ศาลชั้นต้นไม่ได้ชี้สองสถาน โดยนัดสืบพยานวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2544 หลังจากสืบพยานผู้ร้องไปบางส่วนแล้ว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2544 คู่ความแถลงร่วมกันขอให้ทำแผนที่พิพาท ศาลชั้นต้นจึงสั่งให้จัดทำแผนที่พิพาท สำนักงานที่ดินจังหวัดระยองจัดทำแผนที่ดินพิพาทส่งมาถึงศาลวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 ซึ่งคดีอยู่ในระหว่างการสืบพยานผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงจึงปรากฏว่าเนื้อที่ดินที่รุกล้ำอยู่นั้นเป็นจำนวนเนื้อที่ 25.7 ตารางวา ไม่ใช่ 14 ตารางวา ตามที่ผู้ร้องคิดคำนวณเองและระบุในคำร้อง ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ร้องก็ไม่อาจทราบได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น ประกอบกับตามคำร้องขอที่ผู้ร้องเสนอคดีต่อศาลระบุอาคารของผู้ร้องบางส่วนปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาท ผู้ร้องคำนวณเนื้อที่ส่วนนี้ได้ 14 ตารางวา ผู้ร้องครอบครองอย่างเป็นเจ้าของซึ่งหมายถึงครอบครองส่วนที่รุกล้ำอยู่ทั้งหมด จำนวนเนื้อที่ระบุในคำร้องขอจึงเป็นส่วนของรายละเอียดในคำร้องขอ จึงเป็นการขอแก้ไขในส่วนของรายละเอียดให้ชัดเจน ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย แม้ขณะร้องขอแก้ไขได้มีการสืบพยานเสร็จแล้ว คดีอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษาแต่ก็ถือว่าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
ผู้ร้องรับรองความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านมาโดยตลอด ไม่ได้ครอบครองโดยแย่งกรรมสิทธิ์ แม้เมื่อปี 2541 ถึงปี 2542 ผู้คัดค้านรังวัดที่ดิน ผู้ร้องไม่ยอมลงชื่อรับรองเขตเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังไม่พอฟังว่าผู้ร้องแสดงเจตนาต่อผู้คัดค้านเปลี่ยนการยึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ผู้ร้องรับรองความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านมาโดยตลอด ไม่ได้ครอบครองโดยแย่งกรรมสิทธิ์ แม้เมื่อปี 2541 ถึงปี 2542 ผู้คัดค้านรังวัดที่ดิน ผู้ร้องไม่ยอมลงชื่อรับรองเขตเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังไม่พอฟังว่าผู้ร้องแสดงเจตนาต่อผู้คัดค้านเปลี่ยนการยึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสที่เสียหายและการแยกสินสมรสเมื่อสามีจัดการสินสมรสไม่ระมัดระวัง
จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากเงินได้ระหว่างสมรส แม้แยกกันอยู่ และการจัดการสินสมรสที่เสียหาย
การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่มิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินค่าตอนแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทร่วมกับจำเลย
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องวินิจฉัยความผิดก่อนพิจารณาลดโทษ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาครบถ้วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น สมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2896/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีประหารชีวิต ต้องตรวจสอบความผิดก่อนพิจารณาคำอุทธรณ์เรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า คำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์จะพากษายืน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาลดโทษและลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่ศาลอุทธรณ์ก็จำต้องพิจารณาและวินิจฉัยคดีเสียก่อนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงพิจารณาตามปัญหาที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2797/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และข้อจำกัดการอุทธรณ์คดี
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 4 กับยึดรถยนต์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ใช้เป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดติดต่อซื้อขายยาเสพติดให้โทษเป็นของกลาง เมื่อจำเลยที่ 4 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 กระทำความผิดตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางที่ยึดจากจำเลยที่ 4 เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่ามิได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 เป็นการมิชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยและพิพากษาให้คืนรถยนต์ของกลางแก่เจ้าของจึงเป็นการมิชอบเช่นกัน และโจทก์หามีสิทธิฎีกาต่อมาไม่ ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มานั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของโจทก์และอุทธรณ์ของจำเลยที่ 4 โดยให้บังคับคดีลงโทษจำเลยที่ 4 ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสาร
อุทธรณ์ของจำเลยบรรยายถึงการขอเลื่อนคดีของจำเลยในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ทุกครั้งว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบต่อไปรวมอยู่ด้วย แม้ตอนท้ายสุดของอุทธรณ์จะขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของจำเลยใหม่ตามที่ร้องขอ อุทธรณ์ของจำเลยก็เป็นการอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องอยู่ในตัว ไม่ใช่อุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่แต่เพียงสถานเดียว คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยอุทธรณ์ได้พร้อมคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งเป็นคำสั่งวินิจฉัยภายในกำหนด 1 เดือน แต่จำเลยต้องโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งไว้จึงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์และการพิจารณาคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งต้องอาศัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายจากคำสั่งระหว่างพิจารณาดังกล่าวเป็นพื้นฐานจึงจะพิจารณาได้ว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ จึงไม่มีเหตุที่จะให้พิจารณาคดีใหม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เป็นคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 223
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารแทนการสืบพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีโดยเอกสารแทนการสืบพยานบุคคล
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้กู้ยืมและจำนองเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวนแน่นอน เมื่อจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน จำเลยขาดนัดพิจารณา ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติในมาตรา 198 ทวิ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ส่งพยานเอกสารตามที่เห็นว่าจำเป็นแทนการสืบพยานได้ ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยมีกำลังประทุษร้าย และประเด็นการบรรยายฟ้องความผิดฐานทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการชกที่ตาซ้ายของผู้เสียหาย 1 ครั้ง โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นอันตรายแก่กาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 339 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคสาม ซึ่งเป็นกรณีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องไว้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงมาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ จำเลยคงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง