คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศิริชัย จิระบุญศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลแจ้งเจ้าหนี้เมื่อมีการวางเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา หากไม่แจ้ง เงินนั้นยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อมีการวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางต่อศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายในห้าปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลจึงตกเป็นของแผ่นดิน คดีนี้หลังจากจำเลยที่ 3 นำเงินมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยที่ 3 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ไต่สวนคำร้องปล่อยชั่วคราว เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ห้ามอุทธรณ์
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว และคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวและยกคำร้องที่ขอให้ไต่สวน จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งที่ยกคำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการขอให้ปล่อยชั่วคราว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ฎีกา เห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เพื่อประกอบการพิจารณาขอให้ปล่อยชั่วคราวก็สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยจำเลยที่ 2 ชั่วคราว ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 และการที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้คืนถ้อยคำสำนวนพร้อมคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแก่ศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปก็มีผลเช่นเดียวกับการไม่รับวินิจฉัย และสั่งยกอุทธรณ์จำเลยที่ 2 คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำร้องขอให้ไต่สวนคำร้องเพื่อประกอบการพิจารณาขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องระหว่างศาลกับจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาหรือไม่ แต่การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวสืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108 เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยไม่เกิดความเสียหายแก่คดีในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการมอบอำนาจ: ศาลชั้นต้นอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจสองคนมีอำนาจมอบอำนาจให้นาย ก เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และโจทก์มอบอำนาจให้นางสาว ธ สามารถทำสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ สัญญาเช่าซื้อจึงชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่า ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และ 5 ในช่องเจ้าของไม่ใช่ลายมือชื่อกรรมการของโจทก์ ผู้ลงลายมือชื่อไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์กับไม่มีตราประทับของโจทก์ ทั้งการที่โจทก์มอบอำนาจให้นางสาว ธ เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่นาย ฉ ผู้มอบอำนาจไม่ใช่กรรมการของโจทก์ จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดชัดเจน หากไม่ชัดเจนถือว่าหนี้ยังไม่ระงับ
แม้จะมีข้อความในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ร้อยตำรวจโท ม. บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถของ น. รถของ ค. และรถของ ส. ทุกประการ ในส่วนของความเสียหายจะไปตรวจสอบอีกครั้งและคู่กรณีแจ้งว่าจะไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันเอง แต่ข้อความดังกล่าวก็ได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดว่าเป็นผู้ก่อใหเกิดความเสียหายและตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดหรือข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ต้องชำระ วิธีการชำระ ตลอดจนกำหนดเวลาชำระที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวหาได้มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้นแต่อย่างใด ดังนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันจะทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ถึง 852

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลอาคารชุดไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล การละเลยดูแลจึงไม่เป็นละเมิด
นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่รักษาทรัพย์ส่วนบุคคล ทั้งการละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องกระทำก็ไม่เป็นละเมิด การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิด จึงเป็นเหตุให้คนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในห้องชุดของโจทก์ จะถือเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่นั้นไม่ได้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐานต่อโจทก์ฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3220/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนิติบุคคลอาคารชุดต่อการลักทรัพย์ในห้องชุดส่วนบุคคล
การกระทำอันเป็นละเมิดนั้นต้องเป็นการประทุษกรรมต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำ หรือที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ การละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องกระทำนั้นหาเป็นละเมิดไม่ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดมีหน้าที่จัดการและดูแลเฉพาะทรัพย์ส่วนกลางซึ่งหมายถึง ส่วนของอาคารชุดที่มิใช่ห้องชุด ที่ดินที่ตั้งอาคารชุดและที่ดินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมตาม พ.ร.บ.อาคารชุดฯ มาตรา 4 วรรคสามเท่านั้น นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรักษาห้องชุดซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตามมาตรา 4 วรรคสองแต่อย่างใด ดังนั้นการที่พนักงานรักษาความปลอดภัยของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ความระมัดระวังดูแลตรวจตราอาคารชุดโดยใกล้ชิดและมีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในห้องชุดของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าการลักทรัพย์เกิดจากการที่จำเลยที่ 1 งดเว้นหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ดูแลความปลอดภัยลานจอดรถ: ความรับผิดของเจ้าของห้างฯ และพนักงานรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรม
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้าง ค. ได้จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้า โดยผู้ที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวจะต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เสียก่อนและเมื่อจะนำรถยนต์ออกจากบริเวณลานจอดรถ หากไม่มีบัตรจอดรถมาคืนพนักงานรักษาความปลอดภัยจะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ผ่านออกจนกว่าจะแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของรถ แม้จะปรากฏที่ด้านหลังบัตรจอดรถข้อ 2 ว่า บัตรนี้เป็นบัตรผ่านสำหรับนำรถเข้าจอดบริเวณห้าง ค. เท่านั้น บริษัทไม่รับผิดชอบกรณีสูญหายหรือเสียหายอย่างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่มีการเก็บค่าบริการจอดรถก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ย่อมทำให้ผู้ที่มาใช้บริการจอดรถหรือลูกค้าของห้าง ค. โดยทั่วไปเข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 2 จัดให้บริการรักษาความเรียบร้อย และความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ของลูกค้าที่จะนำเข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้าง ค. ของจำเลยที่ 2 โดยมอบหมายให้จำเลยที่ 1 และพนักงานรักษาความปลอดภัยอื่นเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัย การกระทำที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาดังกล่าวย่อมเป็นการก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยทั้งสองต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยแก่รถยนต์ที่นำเข้ามาจอด หากจำเลยทั้งสองมีการตรวจตราอย่างเคร่งครัดและป้องกันอย่างดีมิให้ผู้ที่ไม่มีบัตรขับรถผ่านออกไปได้โดยง่ายก็ยากที่รถยนต์ของ ส. จะถูกคนร้ายลักไปได้ขณะที่คนร้ายขับรถยนต์ของ ส. ผ่านจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่ช่องทางออกโดยไม่ได้คืนบัตรจอดรถให้ จำเลยที่ 1 ได้เคาะรถยนต์เพื่อให้คืนบัตร แต่คนขับรถยนต์นิ่งเฉยแล้วขับรถยนต์ออกไป จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนรถไว้ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งทางวิทยุสื่อสารให้ศูนย์รักษาความปลอดภัยของห้าง ค. ทราบ โดยอ้างเหตุว่าแบตเตอรี่หมดแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังป้องกันความปลอดภัยให้แก่รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอย่างเต็มที่ อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ เป็นผลโดยตรงทำให้รถยนต์ของ ส. ถูกคนร้ายลักไปและเป็นการประมาทเลินเล่อจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ดังนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ชำระค่าสินไหมทดแทนในการที่รถยนต์สูญหายครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน 430,000 บาท ให้แก่ ส. เรียบร้อยแล้ว จึงรับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองได้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามจำนวนเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากเข้าใจผิดว่าคู่ความขาดนัด ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตามมาตรา 27 ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยในวันที่ 24 เมษายน 2549 เวลา 9 นาฬิกาเมื่อถึงวันนัดในช่วงเช้า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและไปคอยอยู่ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 แต่เนื่องจากคดีนี้ย้ายไปพิจารณาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 5 จึงไม่พบสำนวนคดีนี้ ทนายโจทก์จึงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ลงเวลานัดพิจารณาผิดพลาดเป็นช่วงบ่าย ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์จึงไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดีที่ 5 ในช่วงเช้า โดยรออยู่ที่ศาลจนถึงช่วงบ่าย เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้ว แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเองที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดี เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ การจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการสั่งโดยผิดหลง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสียได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาล ทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าห้องพิจารณาคดีได้
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เวลา 9 นาฬิกา เมื่อถึงวันนัดในช่วงเช้าทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและไปคอยอยู่ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 แต่เนื่องจากคดีนี้ย้ายไปพิจารณาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 5 จึงไม่พบสำนวนคดีนี้ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 ทนายโจทก์จึงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ลงเวลานัดพิจารณาคดีผิดพลาดเป็นช่วงบ่าย ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดีที่ 5 ในช่วงเช้า โดยรออยู่ที่ศาลจนถึงช่วงบ่าย แสดงให้เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้ว แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเองที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดี เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เป็นการสั่งโดยผิดหลงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสียได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ
of 21