พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายกที่ดินเป็นทางสาธารณะ การใช้ประโยชน์ร่วมกันถือเป็นการยกให้โดยปริยาย แม้ไม่มีหนังสือ
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่า ในที่ดินจำเลยทั้งสองไม่มีส่วนใดที่มีการใช้เป็นทางเดินเข้าออกและจำเลยทั้งสองไม่เคยยินยอมให้ใช้ที่ดินจำเลยทั้งสองเป็นทางเข้าออกด้วย คดีจึงมีประเด็นเพียงว่าโจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสาธารณะหรือไม่ ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า จำเลยทั้งสองเอื้อเฟื้อให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ จึงเป็นการอุทธรณ์นอกประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การ และที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่แน่ชัดว่าโจทก์ฟ้องเรื่องภาระจำยอมหรือทางสาธารณะนั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในขณะชาวบ้านในหมู่บ้านช่วยกันทำทางพิพาทในปี 2535 จำเลยทั้งสองรู้เห็นยินยอม และหลังจากทำทางพิพาทแล้ว จำเลยทั้งสองก็ได้ใช้ประโยชน์ในทางพิพาทร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย ในสภาพและลักษณะการใช้งาน ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนายกทางพิพาทในส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นทางสาธารณะร่วมกับทางพิพาทในส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของ ส. แล้วโดยปริยาย โดยไม่ต้องมีการทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนการยกให้ต่อเจ้าหน้าที่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิปิดกั้น
ในขณะชาวบ้านในหมู่บ้านช่วยกันทำทางพิพาทในปี 2535 จำเลยทั้งสองรู้เห็นยินยอม และหลังจากทำทางพิพาทแล้ว จำเลยทั้งสองก็ได้ใช้ประโยชน์ในทางพิพาทร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสี่ด้วย ในสภาพและลักษณะการใช้งาน ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนายกทางพิพาทในส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของจำเลยทั้งสองเป็นทางสาธารณะร่วมกับทางพิพาทในส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินของ ส. แล้วโดยปริยาย โดยไม่ต้องมีการทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนการยกให้ต่อเจ้าหน้าที่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิปิดกั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5661/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศที่เป็นโมฆะเนื่องจากฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และผู้ทำสัญญาไม่มีคุณสมบัติ
โจทก์ไม่อยู่ในฐานะที่จะประกอบธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารจำเลยได้ จำเลยก็ทราบเรื่องดังกล่าวดี จึงไม่ได้รายงานการทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบ ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ.2485 อันทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์จำเลยจึงไม่อาจนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องร้องบังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785-3787/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมและเจ้าของรวมมีสิทธิเรียกร้อง
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่นาง ต. ผู้เป็นมารดาเพียงผู้เดียว แต่นาง ต. มารดาผู้รับพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง ต. มารดาย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1) ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นมรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง แม้พินัยกรรมดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แต่ความปรากฏในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่ความตายและการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ. ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ. ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนำตั๋วสัญญาใช้เงิน: สิทธิของผู้จำนำและผู้รับโอนสิทธิ ผู้จำนำไม่ผูกพันตามตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทกับสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความสอดคล้องตรงกัน ด้านหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาท มีข้อความระบุว่า ราคาเป็นจำนำ และมีจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อไว้ ทั้งสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก็มีรายการของตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทที่นำมาจำนำรวมอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 3 นำตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทมาจำนำไว้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ตามสัญญาจำนำตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยมีจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อเป็นผู้จำนำไว้ จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 3 สลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับพิพาทให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. ต่อไป การกระทำของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมใช้ได้เพียงในฐานเป็นคำสลักหลังของตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 985 มิใช่ผู้สลักหลังที่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังที่ต้องใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าต้องรับโอนจากผู้ให้เช่าเดิม ผู้ซื้อสิทธิจากผู้เช่าไม่มีสิทธิ
บริษัท ก. เป็นผู้ได้รับโอนสิทธิการเช่ามาจากการรถไฟแห่งประเทศไทยและได้โอนสิทธิการเช่าและส่งมอบอาคารให้แก่โจทก์ ดังนั้น การที่ผู้ใดจะกล่าวอ้างว่าได้รับโอนสิทธิการเช่าจึงต้องรับโอนสิทธิมาจากบริษัท ก. เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับโอนสิทธิการเช่ามาจากบริษัท ก. ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิการเช่าอาคารพิพาท ส่วนหนี้สินที่มีการชำระและค้างชำระกันระหว่างโจทก์กับผู้ร้องนั้น หากมีการชำระหรือค้างชำระกันจริงก็ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิการเช่า เพราะผู้ที่จะโอนสิทธิการเช่าให้ผู้ร้องนั้นต้องเป็นบริษัท ก. เท่านั้น ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวข้องเป็นคู่ความในคดีนี้ ผู้ร้องจึงเป็นเพียงบริวารของจำเลย มิใช่ผู้แสดงอำนาจพิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงต้องออกไปจากอาคารพิพาทในฐานะบริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467-2468/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาการก่อสร้าง: ศาลฎีกาตัดสินให้ปรับลดค่าเสียหายและกำหนดระยะเวลาคิดดอกเบี้ย
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารขนาด 16 คูหา แบ่งงวดงานก่อสร้างทั้งหมด 11 งวด กำหนดลงมือก่อสร้างวันที่ 1 ตุลาคม 2537 ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2538 จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งงานตามกำหนดงวดในสัญญาได้ โจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับโดยเมื่อพ้นกำหนดตามสัญญาคือวันที่ 30 กันยายน 2538 โจทก์ที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 เร่งรัดทำการก่อสร้างตามงวดงาน เอกสารทุกฉบับที่โจทก์ที่ 1 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เป็นเวลาหลังจากครบกำหนดตามสัญญาก่อสร้างแล้ว ฝ่ายจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญแม้จะส่งงานเกินกำหนดเวลาแต่ละงวดโจทก์ที่ 1 ก็ยอมรับผลงาน การที่โจทก์ที่ 1 ยอมรับผลงานก่อสร้างที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงวดงานจึงเป็นการขยายระยะเวลาสัญญาว่าจ้างไปโดยไม่มีกำหนด มิได้ถือเอาวันที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญ จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินค่างวดงานในงวดที่ 9 แต่โจทก์ที่ 1 ปฏิเสธโดยขอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กันยายน 2539 แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานทั้งหมดใหม่คือวันที่ 15 กันยายน 2539 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 16 กันยายน 2539 ส่งถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2539 มิใช่วันที่ 30 กันยายน 2538 ดังนั้น จำเลยจที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ทั้งสิบหก
เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อฝ่ายโจทก์มิได้ถือเอากำหนดส่งมอบงานเดิมในวันที่ 30 กันยายน 2538 เป็นสาระสำคัญ และได้กำหนดให้จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานใหม่เป็นวันที่ 15 กันยายน 2539 โจทก์ที่ 1 จึงอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อนวันที่ 15 กันยายน 2538 หาได้ไม่ โจทก์ที่ 1 ไม่อาจเรียกร้องค่าปรับรายวันตามสัญญาในระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2538 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2539 จากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดในหนี้สินของห้าง และอายุความค่าเสียหายค่าขาดประโยชน์
จำเลยร่วมมีฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ จำเลยร่วมจึงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งจะต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและผลแห่งคำพิพากษาหรือข้อเท็จจริงในคดีผูกพันบังคับแก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีโดยตรงในคดีที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องแย้งให้รับผิดตามสัญญา จำเลยจึงมีอำนาจยื่นคำร้องและชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีให้ร่วมรับผิดกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งได้
บทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 563 ที่ว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นการบังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ายอมส่งมอบที่ดินที่เช่าคืน แต่ตามฟ้องแย้งจำเลยที่ให้โจทก์และจำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ย่อมไม่ขาดอายุความ
บทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 563 ที่ว่า คดีอันผู้ให้เช่าจะฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่านั้นเป็นการบังคับเฉพาะกรณีที่ผู้เช่ายอมส่งมอบที่ดินที่เช่าคืน แต่ตามฟ้องแย้งจำเลยที่ให้โจทก์และจำเลยร่วมชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ย่อมไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15002/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดยาเสพติด, การบรรยายฟ้อง, การล้างมลทิน, และอำนาจแก้ไขปรับบทของศาลฎีกา
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจะต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัม กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 66 วรรคสองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง เพราะเกินคำขอและมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ฐานลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 และจำเลยได้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี จำเลยพ้นโทษคดีดังกล่าวไปแล้ว ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกนั้น เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ฯ ใช้บังคับ และบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ (วันที่ 5 ธันวาคม 2550) โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์มีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากจำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน ฐานลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 และจำเลยได้กระทำความผิดในขณะที่มีอายุเกินกว่า 17 ปี จำเลยพ้นโทษคดีดังกล่าวไปแล้ว ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ จำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกนั้น เนื่องจากในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา ฯ ใช้บังคับ และบทบัญญัติมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ (วันที่ 5 ธันวาคม 2550) โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อความผิดที่ศาลชั้นต้นจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่ พ.ร.บ. ข้างต้นใช้บังคับ จำเลยย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10917/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ จำเลยไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ แล้วพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นกรณีที่ศาลรับฟังคำรับของจำเลยตามที่ให้การไว้ มิใช่รับฟังจากพยานหลักฐานการรังวัดที่ดินพิพาท การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงไม่ผิดระเบียบในอันที่จำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ การที่จำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการพิจารณาคดีทั้งหมดแล้วให้พิจารณาคดีใหม่ โดยกล่าวอ้างว่ามีพยานหลักฐานใหม่นั้น จึงมิใช่เป็นเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบแต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่อาจมีการพิจารณาคดีเพื่อพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10830/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 คดีมี/ไม่มีทุนทรัพย์ - ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ 74 ตารางวา ราคาประเมินตารางวาละ 1,000 บาท เป็นทุนทรัพย์ 74,000 บาทจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินอีกส่วนหนึ่งจำเลยอ้างว่าเป็นที่ดินของกรมชลประทาน เท่ากับว่าจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ฉะนั้นคำฟ้องของโจทก์ทั้งส่วนที่มีทุนทรัพย์และส่วนที่ไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่โจทก์ฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าตามสัญญาเช่า เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา