พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนรับจำนอง - สัญญาตัวแทน - หลักฐานการมอบอำนาจ - พยานบุคคล - ความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน ต่อมาโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้การตั้งตัวแทนจะไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์ก็หาใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดินไม่ ไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3497/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนองแทนโจทก์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความสัมพันธ์ตัวการตัวแทน, พยานหลักฐาน, และผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนรับจำนองที่ดิน และโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 แม้ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ไม่ขัดต่อมาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวแทนอีกส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าร่วมกันกระทำความผิดฐานยักยอก ศาลแขวงพระโขนงพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าพฤติการณ์มีเหตุสงสัยว่าจำเลยรับจำนองแทนโจทก์หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ศาลมิได้ยกฟ้องด้วยเหตุว่าจำเลยมิได้รับจำนองแทนโจทก์ และคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำ ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่าจำเลยเป็นเพียงผู้รับจำนองแทนโจทก์เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวแทนอีกส่วนหนึ่งด้วย ซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน กรณีไม่ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าร่วมกันกระทำความผิดฐานยักยอก ศาลแขวงพระโขนงพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่าพฤติการณ์มีเหตุสงสัยว่าจำเลยรับจำนองแทนโจทก์หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย ศาลมิได้ยกฟ้องด้วยเหตุว่าจำเลยมิได้รับจำนองแทนโจทก์ และคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำ ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลย
ทางพิจารณาปรากฏผลการตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีน 29 เม็ด ของกลางเฉพาะส่วนนี้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ว่า คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.038 กรัม หรือ 1,038 มิลลิกรัม ซึ่งมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป อันต้องบทสันนิษฐานเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
เมทแอมเฟตามีน 29 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1,038 มิลลิกรัม ที่จำเลยร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 429 เม็ด ของกลาง ที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยไว้แล้วศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เพราะไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง
เมทแอมเฟตามีน 29 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1,038 มิลลิกรัม ที่จำเลยร่วมกับพวกมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีน 429 เม็ด ของกลาง ที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยไว้แล้วศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 เพราะไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: แม้มีทางออกอื่น การขอเปิดทางผ่านต้องพิจารณาความเสียหายที่น้อยที่สุด
การที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 มาใช้บังคับได้ต้องเป็นกรณีที่ที่ดินแปลงเดิมมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว เมื่อแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตรา 1349 ได้โดยไม่ต้องเสียค่าทดแทน
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินของผู้อื่นได้เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามมาตรา 1349
โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่นที่มิได้หวงห้ามโจทก์ การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เดิมที่ดินของโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ ต้องอาศัยที่ดินของผู้อื่นเดินผ่านเพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ แต่การที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยผ่านที่ดินของผู้อื่นได้เพราะเขายินยอม มิใช่เป็นสิทธิตามกฎหมายต้องถือว่าไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 1350 แต่เป็นกรณีที่ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์สามารถที่จะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ตามมาตรา 1349
โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้หลายทางโดยผ่านทางที่ดินของบุคคลอื่นที่มิได้หวงห้ามโจทก์ การที่โจทก์จะขอเปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อความสะดวกของโจทก์ แต่ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องเดือดร้อนและเสียหาย และถ้าหากให้จำเลยที่ 1 เปิดทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จะทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรื้อบริเวณหลังบ้านด้านทิศตะวันออก อันจะทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคสาม การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: การชำระหนี้ครบถ้วนและการกลับสู่ฐานะเดิม
โจทก์เป็นเอกชนมิใช่สถาบันการเงิน การคิดดอกเบี้ยของโจทก์ตามกฎหมายกำหนดให้คิดสูงสุดเพียงร้อยละ 15 ต่อปี แต่เมื่อโจทก์คิดดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 18 และ 24 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 และ ป.พ.พ. มาตรา 654 จึงตกเป็นโมฆะ ความข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่มุ่งรักษาความยุติธรรมมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกินไป และผลของการเป็นโมฆะตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คู่ความย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม และขณะที่จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมีความผูกพันที่จะต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อยู่ เพราะตามสัญญากู้ก็กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมาทราบภายหลังว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 และ 24 ต่อปี ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะนั้นต้องคืนให้จำเลยทั้งสอง หรือไม่ก็นำไปชำระเงินต้นที่ยังค้างอยู่ เมื่อจำเลยทั้งสองนำสืบได้ว่าได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงินรวมทั้งสิ้นเกือบ 17,000,000 บาท สูงกว่าจำนวนเงินที่กู้เพียง 13,000,000 บาทเศษ จึงถือว่าได้จำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้โจทก์ครบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2339/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ การแสดงเจตนาทางวาจา และการรับชำระหนี้แทน
ป.พ.พ. มาตรา 350 มิได้บัญญัติว่าต้องทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่เป็นหนังสือระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ การแสดงเจตนาด้วยวาจาโดยมีคำเสนอและคำสนองตรงกันก็ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาแปลงหนี้ใหม่ต่อกันได้แล้ว
ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ต้องมีกรณีเป็นที่สงสัย จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่มีกรณีใดๆ ที่จะต้องสงสัยอีกต่อไป เพราะโจทก์ยินยอมรับโอนที่ดินจากบริษัท ธ. แล้ว ซึ่งตามมาตรา 361 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ การที่โจทก์รับโอนที่ดินจึงเป็นการสนองเจตนาไปถึงบริษัท ธ. ผู้เสนอแล้วย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้น โดยมิจำต้องทำเป็นหนังสือ
ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ต้องมีกรณีเป็นที่สงสัย จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ไม่มีกรณีใดๆ ที่จะต้องสงสัยอีกต่อไป เพราะโจทก์ยินยอมรับโอนที่ดินจากบริษัท ธ. แล้ว ซึ่งตามมาตรา 361 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นแต่เวลาเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ การที่โจทก์รับโอนที่ดินจึงเป็นการสนองเจตนาไปถึงบริษัท ธ. ผู้เสนอแล้วย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้น โดยมิจำต้องทำเป็นหนังสือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามกระทำชำเราเด็ก: การกระทำที่ไม่สำเร็จเพราะอวัยวะเพศเล็กไม่ใช่เหตุตามมาตรา 81
การกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น หญิงไม่มีช่องคลอดอันเป็นการผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไรๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศหญิงดังกล่าวได้ อวัยวะเพศชายสามารถเข้าไปในช่องคลอดของผู้เสียหายได้แต่ช่องคลอดจะฉีกขาดและจะต้องมีการบังคับขู่เข็ญหรือใช้สารหล่อลื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ การกระทำของจำเลยที่กระทำต่อผู้เสียหายจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การต้องมีเหตุสมควร ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาต การอ้างไม่เข้าใจกฎหมายหลังรับสารภาพไม่ถือเป็นเหตุสมควร
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์" ซึ่งหมายความว่า หากจำเลยประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ จำเลยจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การเพราะเหตุใด มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งนี้ ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องว่าเป็นเหตุผลอันสมควรอนุญาตหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ ต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังอีกครั้งหนึ่ง จำเลยยังคงยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 แต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จำเลยขอยื่นคำให้การฉบับใหม่เป็นให้การปฏิเสธในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร โดยอ้างว่าไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้วถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว การที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร หลังจากที่ให้การรับสารภาพมาแล้วประมาณ 2 เดือนเศษ โดยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อกฎหมายนั้น เห็นได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกส่อไปในทางประวิงคดีให้ล่าช้า จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตของผู้ซื้อหนี้จากการประมูล การฟ้องร้องจึงไม่เป็นการละเมิด
จำเลยเป็นผู้ประมูลซื้อสินเชื่อของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธ. รวมทั้งบัญชีสินเชื่อของโจทก์จากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 30, 30 ทวิ และ 30 ตรี จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจกท์ในฐานะลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธ. ชำระหนี้ได้ ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่ามีการจงใจกลั่นแกล้งหรือประมาทเลินเล่อในการฟ้องโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลริบทรัพย์ในคดีอาญา: รถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้กฎหมายเฉพาะไม่มีบทริบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 160 และ ป.อ. มาตรา 390 เจ้าพนักงานยึดรถยนต์ซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง โจทก์ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 33 และขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงฟังเป็นยุติว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด จำเลยจะฎีกาโต้แย้งว่ารถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดอีกไม่ได้ และแม้ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดที่ใช้ลงโทษแก่จำเลยจะไม่มีบทบัญญัติให้ริบทรัพย์ดังกล่าว แต่จะถือว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับหาได้ไม่ เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 33 กำหนดให้ศาลริบทรัพย์ได้นอกเหนือไปจากกรณีที่กฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ด้วย ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาริบรถยนต์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 17, 33 (1)