พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เมื่อประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีหลังมีมูลฐานและข้ออ้างอย่างเดียวกัน
ก่อนหน้าคดีนี้ จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์กับพวกเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์กับพวกกระทำผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งปันผลกำไรขอให้ใช้เงินคืน ซึ่งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนทำฟาร์มเลี้ยงกบด้วยกันและจำเลยไม่คืนเงินลงทุนและแบ่งกำไรให้โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 661/2547 คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่า จำเลยจงใจและใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ต้องรับภาระในการลงทุนที่หนักกว่าที่โจทก์จะยอมรับโดยปกติ โดยโจทก์จะต้องออกเงินลงทุนในการเลี้ยงกบไปถึง 131,377 บาท ขอให้บังคับจำเลยใช้เงินคืนโจทก์จำนวนครึ่งหนึ่ง แม้ข้อหาที่จำเลยฟ้องโจทก์ในคดีก่อนจะเป็นเรื่องผิดสัญญาหุ้นส่วนและขอให้ใช้เงินคืน และข้อหาในคดีนี้โจทก์เปลี่ยนแปลงรูปคดีใหม่เป็นเรื่องกลฉ้อฉลก็ตาม แต่แท้ที่จริงประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยก็สืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างอย่างเดียวกันคือ โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนทำฟาร์มเลี้ยงกบกันหรือไม่ และเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกมาก็เป็นเงินลงหุ้นตามสัญญาหุ้นส่วนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกบตามส่วนที่ลงหุ้น อันเป็นการวินิจฉัยชี้ชาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวและข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดนราธิวาส โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ได้รับแล้ว แต่ไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 จึงมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ข้อเท็จริงฟังได้ว่าโจทก์ส่งหนังสือทวงถามให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 รวม 2 ครั้ง ครั้งแรกตามเอกสารหมาย จ.31 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 และครั้งที่สองตามเอกสารหมาย จ.33 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ซึ่งปรากฎว่าตามเอกสารหมาย จ.31 โจทก์ทวงถามโดยระบุว่า เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินและเป็นการทวงถามก่อนมีการฟ้องคดีแพ่งอันเป็นมูลเหตุที่โจทก์นำเอาคำพิพากษาคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายคดีนี้ จึงเป็นการทวงถามคนละมูลหนี้กับมูลหนี้ตามฟ้องคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าการทวงถามครั้งแรกเป็นการทวงถามในมูลหนี้ตามคำฟ้องคดีล้มละลาย ดังนั้น จึงฟังได้ว่าคดีนี้โจทก์ทวงถามเพียงครั้งเดียว กรณีไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) ที่จะถือว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 ถึงที่ 6 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามความเป็นจริง ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 7 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) แล้ว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เด็ดขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ และหนังสือมอบอำนาจถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากรหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่เคลือบคลุมและหนังสือมอบอำนาจถูกต้อง
คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์และไม่ได้แนบหนังสือรับรองนิติบุคคลในส่วนที่เกี่ยวด้วยวัตถุประสงค์ของโจทก์มาท้ายคำฟ้อง แต่เป็นรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาให้ปรากฏในคำฟ้อง เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไร อย่างไร มิใช่สภาพแห่งข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้ง ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าโจทก์ต้องแนบหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของโจทก์มาท้ายคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ระบุมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญา เรียกสินค้า และเรียกค่าเสียหายตั้งแต่เริ่มต้นจนคดีถึงที่สุดดังต่อไปนี้ ฯลฯ เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาซื้อขายคดีนี้เท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียว แม้ตามหนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆ ได้ด้วย แต่เป็นเพียงวิธีการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสองเท่านั้น ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ 7 (ก) กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ระบุมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแพ่งเรื่องผิดสัญญา เรียกสินค้า และเรียกค่าเสียหายตั้งแต่เริ่มต้นจนคดีถึงที่สุดดังต่อไปนี้ ฯลฯ เป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาซื้อขายคดีนี้เท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีเรื่องอื่นต่อจำเลยทั้งสองหรือฟ้องบุคคลอื่นอันเป็นการกระทำมากกว่าครั้งเดียว แม้ตามหนังสือมอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆ ได้ด้วย แต่เป็นเพียงวิธีการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ต่อจำเลยทั้งสองเท่านั้น ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ 7 (ก) กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 10 บาท