คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 86 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานเป็นมิชอบ หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยกระทำการโดยสุจริตหรือฉ้อโกงโจทก์
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำการโดยสุจริตหรือคบคิดกันฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสามก่อนการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบโจทก์และจำเลยทั้งสามจึงเป็นการมิชอบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องด้วยว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันทำสัญญาซื้อขายเป็นการฉ้อฉลโจทก์อันหมายถึงการกระทำโดยไม่สุจริตหรือฉ้อโกงโจทก์นั่นเองที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่2และที่3เป็นการกระทำโดยสุจริตหรือไม่จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานหลักฐานในคดีฉ้อโกง: ศาลต้องฟังความทั้งสองฝ่าย
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสาม ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่า จำเลยทั้งสามกระทำการโดยสุจริตหรือคบคิดกันฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสามก่อน การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบโจทก์และจำเลยทั้งสามจึงเป็นการมิชอบ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องด้วยว่า จำเลยทั้งสามสมคบกันทำสัญญาซื้อขายเป็นการฉ้อฉลโจทก์ อันหมายถึงการกระทำโดยไม่สุจริตหรือฉ้อโกงโจทก์นั่นเอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 โอนขายทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการกระทำโดยสุจริตหรือไม่ จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, และผลของการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรส
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 199วรรคหนึ่ง ให้โอกาสจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ เพียงแต่กำหนดว่าจำเลยจะต้องมาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยาน หรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การ ซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันสืบพยานโจทก์อันเป็นวันเริ่มต้นสืบพยาน จำเลยย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบ แม้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
เมื่อจำเลยเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2536 ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 หลังจากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพียง 1 วัน เท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ
ในวันนัดชี้สองสถาน โจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งตรงกับทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสตามฟ้อง เมื่อข้อแถลงดังกล่าวให้ข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วโดยไม่ต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยอีก ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับเรื่องบุตรและสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850จึงเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งโจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป โจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตามมาตรา 852 เท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับสิทธิเรียกร้องสินสมรส โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินอีก
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งให้โอกาสจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้เพียงแต่กำหนดว่าจำเลยจะต้องมาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานหรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันสืบพยานโจทก์อันเป็นวันเริ่มต้นสืบพยานจำเลยย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบแม้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม เมื่อจำเลยเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25ตุลาคม2536ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่26ตุลาคม2536หลังจากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพียง1วันเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันนัดชี้สองสถานโจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งตรงกับทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสตามฟ้องเมื่อข้อแถลงดังกล่าวให้ข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วโดยไม่ต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยอีกศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับเรื่องบุตรและสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยโดยโจทก์จำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จึงเป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งโจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปโจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตามมาตรา852เท่านั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการอนุญาตของเจ้าของรวม แม้ไม่มีหนังสือก็อาจมีผลผูกพันได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของล.มารดาม.เมื่อปี2505ล.ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งจึงได้มอบอำนาจให้ม. ใส่ชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนล.โดยกำชับไว้ว่าเมื่อล. ถึงแก่กรรมให้จัดแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททั้ง8คนของล.ต่อมาเมื่อล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของล.ตกได้แก่ทายาททั้ง8คนหาใช่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของม.แต่เพียงผู้เดียวไม่จำเลยได้รับอนุญาตจากทายาททั้ง8คนรวมทั้งม. ให้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิตของจำเลยโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนแม้สิทธิของจำเลยตามที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มานั้นไม่บริบูรณ์เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคหนึ่งแต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะไม่คงเป็นบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันคู่สัญญาและแม้ตามคำให้การของจำเลยจะมิได้ปรากฎว่าโจทก์ผู้จัดการมรดกของม.รู้เห็นยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วยแต่หากฟังได้ว่าเป็นความจริงก็เป็นเรื่องเจ้าของรวมจัดการทรัพย์สินในเรื่องอันเป็นสาระสำคัญซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358วรรคสามให้ตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวมจำเลยจึงอาจมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้คดีจึงมีความจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อไปไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะด่วนสั่งให้งดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหลังมอบอำนาจและข้อตกลงกับทายาท ความจำเป็นในการสืบพยานเพื่อพิสูจน์สิทธิ
จำเลยให้การว่า เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ล.มารดา ม. เมื่อปี 2505 ล.ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งจึงได้มอบอำนาจให้ ม.ใส่ชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ล.โดยกำชับไว้ว่าเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมให้จัดแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาททั้ง 8 คนของ ล. ต่อมาเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกของ ล.ตกได้แก่ทายาททั้ง 8 คน หาใช่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม.แต่เพียงผู้เดียวไม่ จำเลยได้รับอนุญาตจากทายาททั้ง 8 คน รวมทั้ง ม.ให้ปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทได้ตลอดชีวิตของจำเลยโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน แม้สิทธิของจำเลยตามที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มานั้นไม่บริบูรณ์ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดให้ตกเป็นโมฆะไม่คงเป็นบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันคู่สัญญา และแม้ตามคำให้การของจำเลยจะมิได้ปรากฏว่าโจทก์ผู้จัดการมรดกของ ม.รู้เห็นยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นด้วยแต่หากฟังได้ว่าเป็นความจริงก็เป็นเรื่องเจ้าของรวมจัดการทรัพย์สินในเรื่องอันเป็นสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1358 วรรคสาม ให้ตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม จำเลยจึงอาจมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้ คดีจึงมีความจำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อไป ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะด่วนสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาขับไล่จำเลยตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากละเมิดของข้าราชการในสังกัด และสิทธิไล่เบี้ยของนิติบุคคล
จำเลยให้การว่า จำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่า การฟ้องคดีของพันตำรวจเอก ร. เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์ เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ ดังนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่า ที่พันตำรวจเอก ร. ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้น พันตำรวจเอก ร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริต จำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลย เมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบ ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอก ร. เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอก ร. เสียหาย และคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอก ร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง คดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอก ร. ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอก ร. แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก - การงดสืบพยานเมื่อจำเลยไม่มีประเด็น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้อง จำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข. โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้าน ข.อยู่ ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้ เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9322/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แม้ผู้บุกรุกอ้างอาศัยบุคคลอื่น
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ตามสำเนาโฉนดท้ายฟ้องจำเลยให้การเพียงว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ข.โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยอาศัยบ้านข.อยู่ไม่ปรากฏเหตุแห่งการปฏิเสธว่าที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องอย่างไร หรือ ข.เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้อย่างไร จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า โจทก์อ้างส่งโฉนดที่ดินพิพาทและสัญญาให้ที่ดินพิพาทต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่คัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยเพียงแต่ขอสืบพยานบุคคลตามคำให้การดังกล่าวเท่านั้น ดังนี้เมื่อคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ และเอกสารของโจทก์ดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์และสามีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยชัดแจ้งแล้วกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะสืบพยานต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ จำเลยครอบครองบ้านพิพาทโดยอ้างว่าอาศัยบุคคลอื่นอยู่ข้ออ้างดังกล่าวย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่ให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละมรดกโดยความยินยอมและสัญญาแบ่งทรัพย์สินมรดก: ผลผูกพันและข้อยกเว้น
จำเลยให้การว่าโจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความคดีมีประเด็นว่าโจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดาและจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วยจึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าวและนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสารย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร เอกสารมีใจความว่าโจทก์และส. ทายาทโดยธรรมล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้โดยโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้นโจทก์ส. และบ. ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยานดังนี้เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วยเอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วนถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1613อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และส. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของล. แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่บ. ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่บ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแต่บ. ก็เป็นภรรยาล. จึงมีฐานะเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกล.ด้วยและส. ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทการที่โจทก์ส. และบ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ส. และบ. ผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วยสัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นการที่บ. ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการโอนโดยชอบแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้นโจทก์มิได้สละสิทธิด้วยโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน หลังจากล. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งบ. เป็นผู้จัดการมรดกถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 11