คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 86 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: การพิจารณาความร้ายแรงของการฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าวเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามปะมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธี-พิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไปเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไรเมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและค่าชดเชย: กรณีฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้าง ศาลพิจารณาจากเหตุผลและความร้ายแรง
การที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยหลังจากที่ฟังทนายจำเลยแถลงถึงข้อที่จะนำสืบพยานจำเลยปากต่อไปแล้วสั่งงดสืบพยานปากดังกล่าว เพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็นนั้น เป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ทำการสืบพยานจำเลยต่อไป จึงเป็น อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 การฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างนั้น ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมิได้บัญญัติไว้ว่า กรณีเช่นไรเป็นกรณีที่ร้ายแรงและกรณีเช่นไรไม่ร้ายแรง จึงต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆไปเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยมาก่อน ทั้งในวันเกิดเหตุจำเลยบอกให้โจทก์ไปพบด้วยเรื่องอะไร มีความจำเป็นเร่งด่วนประการใด และหากโจทก์ไม่ไปพบจะเกิดความเสียหายอย่างไร เมื่อโจทก์ไม่ไปพบผู้จัดการฝ่ายบุคคลตามคำสั่งและขอผัดไปพบในวันรุ่งขึ้นเช่นนี้ แม้เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างก็ไม่ใช่กรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลและการเลื่อนการไต่สวน: ศาลไม่เห็นควรเพิกถอนคำสั่งงดการไต่สวนเมื่อผู้ร้องไม่มาศาลโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ศาลให้โอกาสผู้ร้องคัดค้านเลื่อนการไต่สวนมาหลายนัดแล้วและรายงานกระบวนพิจารณานัดสุดท้ายระบุว่า นัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก นัดหน้าหากผู้ร้องคัดค้านไม่มาหรือขอเลื่อนคดีอีกก็ยอมให้ถือว่าผู้ร้องคัดค้านไม่ติดใจสืบพยานต่อไป เมื่อผู้ร้องคัดค้านไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวนและถือว่าผู้ร้องคัดค้านไม่มีพยานมาสืบได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6027/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ศาลชอบที่จะงดสืบพยานเมื่อประเด็นชัดเจน และการขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีไม่มีประเด็นแบ่งมรดก
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า สมควรถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรียกร้องแบ่งเอาทรัพย์มรดก ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิขอคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 ขอให้ผู้ร้องแสดงบัญชีเงินได้จากการขายที่ดินทรัพย์มรดกและนำเงินดังกล่าวมาวางศาล ทั้งขออายัดการโอนที่ดินทรัพย์มรดกแปลงอื่น ตามคำแถลงคัดค้านของผู้ร้องรับว่าไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกและได้โอนขายที่ดินทรัพย์มรดกไปจริง จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานผู้ร้อง เพราะเป็นการฟุ่มเฟือย ชักช้าไม่ทำให้ประเด็นเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะงดสืบพยานของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำ, สัญญาจะซื้อจะขาย, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยาน และศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่ยุติ เพราะยังจะต้องมีการดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้กระทำกันมาแล้วได้ และจะถือเอาข้อตกลงนั้นมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วโจทก์ก็มีสิทธิให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(1) การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน ซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีเลิกสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระดอกเบี้ยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับรื้อถอนอาคารผิดแบบ เนื่องจากเจ้าของที่ดินรับโอนหลังการก่อสร้างผิดกฎหมาย
แม้จำเลยให้การในข้อแรกว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมดก็ตาม แต่จำเลยได้ให้การในข้อต่อมาเกี่ยวข้องกับ ข้อกล่าวอ้างตามฟ้องประการแรกว่าส. ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจะกระทำการก่อสร้างผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง ดังนี้ คำให้การของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นคำให้การที่ไม่แจ้งชัดว่าเป็นการปฏิเสธฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่า ได้มีการก่อสร้างอาคารพิพาทผิดจากแบบแปลนที่อนุญาตจริง ตามฟ้องและยังมิได้รื้อถอนตามคำสั่งของโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง ที่โจทก์กล่าวอ้างตามฟ้องประการหลัง จำเลยได้ให้การยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองโดยเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน 2 แปลง พร้อมอาคารพิพาทและจำเลยได้รับแจ้งคำสั่งของโจทก์ที่ให้ทำการรื้อถอนอาคารส่วนที่เกินจากแบบแปลนที่โจทก์อนุญาตให้ทำการก่อสร้างภายในเวลาที่กำหนดแล้วและจำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องทั้งสองประการดังกล่าวโจทก์จึงไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในฟ้องอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)และโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งได้ตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากชื่อในโฉนด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียภาษีแม้มีการร่วมทุน
โจทก์ร่วมลงทุนกับ ว. ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวแม้ว่าต่อมาจะได้ขายที่ดังกล่าวไปและแบ่งปันเงินที่ได้จากการขายที่ดินกันตามอัตราส่วนที่ลงหุ้นแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินทั้งหมดได้ เพราะโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียวและโจทก์เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ดังนั้น แม้ศาลภาษีอากรกลางจะยอมให้โจทก์นำสมุห์บัญชีธนาคาร และ ว.มาสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าว. ร่วมลงทุนและได้รับทุนและส่วนแบ่งกำไรคืนไปแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมดได้ การสืบพยานทั้งสองปากดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้หมายเรียกสมุห์บัญชีธนาคาร และตัดพยานปากนาย ว. เสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ-การเป็นทนายความ-การเลื่อนคดี: ความชอบด้วยกฎหมายและข้อยกเว้น
หนังสือมอบอำนาจให้ ป. และ ท. ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข) โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสองมิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท. และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท. เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัดครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไปจำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้าย โดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้า และบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ, การดำเนินคดีโดยทนายความ, และการเลื่อนคดี: ศาลมีอำนาจพิจารณาเจตนาประวิงคดีได้
หนังสือมอบอำนาจให้ ป.และ ท.ฟ้องคดีและกระทำการอย่างอื่นอีกหลายประการแทนโจทก์ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ข)โจทก์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ฉบับละ 30 บาท โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวหรือหลายคน หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท จึงครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 วรรคสอง มิได้ห้ามผู้รับมอบอำนาจซึ่งเป็นทนายความอยู่แล้วตั้งตนเองเป็นทนายความดำเนินคดีนั้นอีก ที่ ท.และ ป. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ตั้ง ท.เป็นทนายความว่าคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานจำเลยปากหนึ่งไปถึง 4 นัด ครั้งสุดท้ายจำเลยยื่นคำร้องระบุว่าหากไม่ได้ตัวพยานมาในนัดต่อไป จำเลยยอมให้ศาลตัดพยานได้ทันที ซึ่งทนายจำเลยก็แถลงรับไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันนั้นว่า หากนัดหน้าพยานไม่มาศาลไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยไม่ติดใจสืบ ศาลชั้นต้นก็ได้ให้โอกาสจำเลยเป็นครั้งสุดท้ายโดยเลื่อนการสืบพยานจำเลยไปถึงวันนัดจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานติดคดีต้องเบิกความที่ศาลทั้งเช้าและบ่ายไม่อาจมาเบิกความที่ศาลในคดีนี้ได้ ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยเห็นว่าจำเลยมีโอกาสนำตัวพยานมาสืบได้ จำเลยขอเลื่อนคดีมีลักษณะประวิงคดี จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินค้าแทนผู้อื่น การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และการประวิงคดี การตัดพยานชอบด้วยกฎหมาย
ตามบัญชีระบุพยานจำเลยอ้าง ส. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครเป็นพยานหมาย แต่ในวันสืบพยานจำเลยนัดแรก ไม่ปรากฏว่าจำเลยขอให้ศาลออกหมายเรียก ส. มาศาลจำเลยได้รับรองต่อศาลว่าจะไม่เลื่อนคดีอีกและจะนำพยาน มาพร้อมกันทั้งหมด เมื่อถึงวันนัดจำเลยขอเลื่อนคดี โดยเหตุผลที่ไม่สามารถนำพยานมาศาลได้ย่อมเป็นการประวิงให้การพิจารณาเป็นไปโดยล่าช้าอย่างชัดแจ้ง การที่ศาลมีคำสั่งให้ตัดและงดสืบ ส.พยานจำเลยจึงชอบแล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลย ติดต่อซื้อสินค้าจากโจทก์แทนบริษัท น. โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าสินค้าจากบริษัท น. ซึ่งเป็นตัวการจึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อให้พ้นความรับผิด จำเลยมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง จำเลยเป็นผู้ติดต่อขอซื้อสินค้าจากโจทก์ โดยนำตั๋วปูนซิเมนต์ของจำเลยไปวางเป็นประกัน ทั้งยังให้โจทก์ส่งสินค้าและลงรายการยอดซื้อค้างชำระในนาม ของจำเลย รวมทั้งเป็นผู้ชำระราคาและเก็บเอกสารการรับเงินไว้ไม่มีข้อความใดในเอกสารพาดพิงถึงบริษัท น. หากจำเลยชำระราคาสินค้าแทนบริษัท น. จำเลยก็ชอบที่จะส่งมอบเอกสารให้แก่บริษัท น. เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน แม้จำเลยชำระราคาสินค้าด้วยเช็คของบริษัท น. ก็ปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิรับเช็คจากบริษัท น. เป็นค่าจ้างแล้วนำมาชำระหนี้ของตนได้อีกต่อหนึ่งการที่พนักงานของบริษัท น.นำเช็คฉบับใหม่ไปเปลี่ยนเช็คที่ไม่ผ่านการชำระเงินก็เป็นเรื่องที่ผู้ออกเช็คควรต้องไปผัดผ่อนหนี้ตามเช็คของตนข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำแทนผู้อื่น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 11