คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเชียร มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: โจทก์ฟ้องชดใช้ราคารถยนต์ซ้ำ หลังศาลตัดสินให้ส่งมอบรถยนต์จากสัญญาเช่าแล้ว
ประเด็นข้อพิพาทสำคัญในคดีก่อน เป็นการพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการผิดสัญญาเช่า ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษาเนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อคดีก่อนและคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นในคดีก่อน และคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน โจทก์จะมารื้อร้องฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยกันถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วหาได้ไม่ กรณีจึงเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 990/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 กรณีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีก่อน
คดีก่อนพิพาทในเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่ารถยนต์พิพาท โดยศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทอันเป็นวัตถุแห่งหนี้คืนแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทตามคำพิพากษา เนื่องจากจำเลยโอนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นไปแล้ว จึงขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคารถยนต์จำนวน 350,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้เงินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แทนตัวทรัพย์ ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคารถยนต์พิพาทมาได้พร้อมกันในคดีก่อนได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อทั้งสองคดีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่เช่นเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม ห้ามฎีกาในประเด็นที่รับสารภาพในชั้นศาล และการใช้ดุลพินิจลงโทษคดีพนัน
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และยอดเงินทุนหมุนเวียน 4,480,100 บาท เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นพนันและเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจัดและเป็นเจ้ามือพนันสลากกินรวบเป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
ความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบและความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันสลากกินรวบต่างเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อคำฟ้องโจทก์ระบุยืนยันว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมโดยเป็นทั้งผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบและเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ และจำเลยให้การรับสารภาพ จึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดดังกล่าวเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน ศาลจึงต้องพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8305/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การไม่ถือเอาเวลาชำระเงินเป็นสาระสำคัญ & การบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายที่ต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 สัญญาจึงเลิกกัน จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้ผิดนัดชำระในงวดดังกล่าวเพราะโจทก์ยังไม่จัดหาธนาคารให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าที่ดินและอาคารงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ประเด็นในคดีจึงมีว่าการที่จำเลยยังไม่ชำระเงินงวดสุดท้ายในวันที่ 1 เมษายน 2540 ตามที่สัญญาระบุไว้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาทำให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารระหว่างโจทก์และจำเลยเลิกกันหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ถือกำหนดเวลาชำระเงินงวดที่ 26 ซึ่งตามสัญญาระบุไว้ว่าต้องชำระในวันที่ 1 เมษายน 2540 เป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นในคดี มิได้นอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การแต่อย่างใด
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารจะกำหนดว่าจำเลยต้องชำระเงินค่าที่ดินและอาคารที่เหลือต่อไปอีก 26 งวด ภายในวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน แต่เมื่อจำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดตั้งแต่งวดที่ 8 เป็นต้นมา โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ทั้งเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาชำระเงินงวดสุดท้ายมาเกือบ 1 ปี โจทก์ยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยจัดส่งเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อสำหรับเงินงวดสุดท้ายจากธนาคารให้โจทก์อีกด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระเงินตามสัญญาเป็นข้อสำคัญ ดังนี้ เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดเวลาที่กำหนด จะถือว่าจำเลยผิดนัดผิดสัญญาและสัญญาเลิกกันทันทีไม่ได้ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินงวดสุดท้ายภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เสียก่อน ส่วนหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาทไม่ถือว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ไม่มีผลให้สัญญาเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพนันสลากกินรวบ แม้ถูกจับกุมพร้อมกัน
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันสลากกินรวบ โดยถือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลประจำงวดวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 และวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ตามลำดับเป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ เป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ แม้จำเลยจะถูกจับกุมพร้อมด้วยกระดาษโพยสลากกินรวบงวดประจำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 วันที่ 16 ธันวาคม 2547 และวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ในคราวเดียวกันและเป็นความผิดต่อบทบัญญัติของกฎหมายเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดจำนวนกรรมในความผิดฐานพนัน: จำนวนครั้งของการแข่งขันฟุตบอลแต่ละนัดเป็นกรรมต่างกันได้ แม้จะมีลูกค้าจำกัด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม 2545 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2546 จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยถือผลแพ้ชนะของการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศทีมต่าง ๆ เป็นผลแพ้ชนะระหว่างจำเลยกับพวกจำนวน 211 ครั้ง ๆ ละ 1 วัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำฟ้อง การที่จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลรวมจำนวน 211 ครั้ง โดยถือเอาการแข่งขันฟุตบอลแต่ละครั้งเป็นผลแพ้ชนะ เป็นการกระทำความผิดซึ่งอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ตามผลการแข่งขันของฟุตบอลแต่ละครั้งที่จำเลยกับพวกเข้าเล่นการพนันทายผลฟุตบอลกัน แม้จะมีลูกค้าแทงพนันเพียง 40 คนก็ตาม เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอลตามฟ้องรวมจำนวน 211 ครั้ง การกระทำของจำเลยตามที่ปรากฏในฟ้องจึงเป็นความผิดรวม 211 กรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นการกระทำอันเป็นความผิด 40 กรรม ดังที่จำเลยกล่าวอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีอาญา แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดกฎกระทรวงออกตามกฎหมาย
ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นทันทึกไว้ โจทก์ได้ระบุการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยบรรยายว่าจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งได้อ้างพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11, 60 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องมีและแสดงเครื่องหมายดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าฟ้องของโจทก์ขาดข้อความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวีธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีอาญาฐานไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัย แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดกฎกระทรวง
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ปรากฏว่าโจทก์ได้ระบุฐานความผิดในข้อหาใช้รถไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ รวมทั้งการกระทำที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด โดยบรรยายว่าจำเลยขับรถจักรยานยนต์คันที่กล่าวในฟ้องโดยไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งได้อ้าง พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11, 60 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องมีและแสดงเครื่องหมายดังกล่าว ก็ไม่ถือว่าฟ้องของโจทก์ขาดข้อสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ทั้งถ้อยคำที่ว่า อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็มีความหมายแสดงโดยปริยายว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องชัดเจนเพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีแต่อย่างใด ฟ้องของโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา และโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้ทำตามสัญญา
หลังจากโจทก์ชำระเงินงวดที่ 11 ให้จำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ไม่ได้ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จจนปัจจุบันนี้เพราะมีปัญหาเรื่องการเงิน กรณีจึงเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโดยพฤติการณ์แห่งคดีหรือโดยสภาพหรือโดยเจตนาของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตามสัญญาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อไปอันเป็นการไม่ชำระหนี้อยู่ดีและหากยังคงให้โจทก์ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 1 อีก ย่อมเป็นการยังความเสียหายแก่โจทก์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเสียได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จอีก การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้วและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์
of 13