พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3007/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอระบุพยานเพิ่มเติมและการงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากประวิงคดี
การขอระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่นำสืบก่อนสืบไปหมดแล้วต้องมีเหตุผลแสดงว่าไม่สามารถทราบได้ว่า ตนจะต้องนำพยานหลักฐานบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนหรือไม่ ทราบว่าพยานหลักฐานบางอย่างได้มีอยู่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม เมื่อคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยมิได้แสดงเหตุตามกฎหมายดังกล่าว ศาลไม่อนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นในเมื่อศาลที่พิจารณาเห็นสมควรตามความจำเป็น
เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า ตัวจำเลยยังไม่กลับจากต่างประเทศ ขอเลื่อนคดีโดยรับรองว่านัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่ากรณีใด ๆ ศาลอนุญาตโดยกำชับว่า นัดหน้าไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ศาลจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไป แต่เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยได้แถลงต่อศาลว่า ตัวจำเลยยังศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ขอให้ส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบตัวจำเลยเสียได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลอื่นในเมื่อศาลที่พิจารณาเห็นสมควรตามความจำเป็น
เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า ตัวจำเลยยังไม่กลับจากต่างประเทศ ขอเลื่อนคดีโดยรับรองว่านัดหน้าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกไม่ว่ากรณีใด ๆ ศาลอนุญาตโดยกำชับว่า นัดหน้าไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ศาลจะไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไป แต่เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยได้แถลงต่อศาลว่า ตัวจำเลยยังศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ขอให้ส่งประเด็นไปสืบที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบตัวจำเลยเสียได้โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอส่งประเด็นสืบพยานต่างจังหวัดของจำเลย และการงดสืบพยานเมื่อจำเลยไม่ได้ติดใจสืบพยาน
พยานที่จำเลยอ้างอันดับ 1 ถึง 4 อยู่จังหวัด น. อันดับ 5 ถึง 7อยู่จังหวัด ก. อันดับ 8 อยู่จังหวัด ต. ครั้งแรกจำเลยขอให้ศาลเดิมส่งประเด็นไปสืบพยานที่ศาลจังหวัด น. และศาลจังหวัด ก. ศาลเดิมอนุญาต ในการสืบที่ศาลจังหวัด น. จำเลยได้นำพยานอันดับ 5 ซึ่งอยู่ที่จังหวัด ก. มาสืบด้วย เสร็จแล้วจำเลยขอให้ส่งประเด็นคืนศาลเดิม ในระหว่างที่ศาลเดิมนัดฟังประเด็นอยู่นั้น จำเลยยื่นคำแถลงขอให้ส่งประเด็นไปสืบตามบัญชีพยานอันดับ 6-7 ที่ศาลจังหวัด ก. และพยานอันดับ 8 ที่ศาลจังหวัด ต. ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แถลง ไม่ติดใจสืบพยานตามบัญชีพยานอันดับ 6-7 และคำแถลงของจำเลย ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานก็อ้างถึงเหตุที่ไม่ได้ขอให้ส่งประเด็นต่อไปยังศาลจังหวัด ก. หลังจากเสร็จการสืบพยานที่ศาลจังหวัดน. ว่าเป็นเพราะขณะนั้นจำเลยยังติดต่อพยานไม่ได้กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานดังกล่าว ส่วนพยานอันดับ 8 ซึ่งอยู่ ที่จังหวัด ต.นั้นแม้จำเลยจะมิได้ขอให้ส่งประเด็นไปสืบในตอนแรกแต่ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะขอให้ส่งประเด็นไปสืบภายหลังได้ เพราะถ้าจำเลยพอใจการสืบพยานอื่นแล้ว ก็อาจไม่ส่งประเด็นไปสืบพยานปากนี้ก็ได้ ตามพฤติการณ์ไม่พอฟังว่าจำเลยประวิงคดี ยังไม่มีเหตุอันสมควรที่จะสั่งงดสืบพยานจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และการฟ้องขับไล่จากที่ดินของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งเนื้อที่ประมาณ 2 งานเมื่อเดือน 3 ปี 2516 จำเลยขอแบ่งซื้อที่ดินแปลงนี้เนื้อที่ 1 งาน ราคา 2,000 บาท กำหนดชำระราคาเมื่อจำเลยปลูกเรือน ลงในที่ดิน แล้วเสร็จแต่เมื่อจำเลยปลูกเรือนและครัวไฟเสร็จกลับ ไม่ชำระราคา ให้โจทก์ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจาก ที่ดินโจทก์กับให้ใช้ ค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าที่ดินที่จำเลย ปลูกบ้านเป็นที่ดินรัศมีเขา จำเลยไม่เคยขอแบ่งซื้อที่ดินของ โจทก์ จำเลยปลูกบ้านเมื่อ ต้นปี 2514 คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ ตามฟ้องและคำให้การ คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาท เป็นของโจทก์จำเลยปลูกเรือน โดยอาศัยสิทธิโจทก์หรือไม่โจทก์ มีสิทธิฟ้องเรียกการครอบครองคืน จากจำเลยหรือไม่และ ค่าเสียหายของโจทก์ตามประเด็นดังกล่าว จำเป็นต้องฟัง ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานของคู่ความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการตกลงยินยอมโดยสมัครใจไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่ศาลชั้นต้นสั่งสืบพยานแล้วงดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คดีเสร็จไปโดยไม่ชักช้า
ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 จำเลยที่ 2 นำความเท็จไปแจ้งต่อนายอำเภอว่าสามีโจทก์บุกรุกที่ของจำเลยที่ 1 นายอำเภอหลงเชื่อมีคำสั่งห้ามมิให้โจทก์กับสามีเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน ทำให้โจทก์กับสามีต้องงดเว้นเข้าไปตัดจากตั้งแต่วันนั้น แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 อายุความละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่า โจทก์ให้บุตรสาวเข้าไปตัดจากในที่พิพาท ขอให้ศาลเรียกมาสั่งให้ระงับการตัดจากในที่พิพาท เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างแถลงว่าจะไม่เข้าใจไปตัดจากในที่พิพาทซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นของตน ถ้าฝ่ายใดผิดข้อตกลงยอมให้ปรับครั้งละ 1,000 บาท ต่อมาคดีนั้นศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท การที่โจทก์ไม่สามารถเข้าตัดจากได้ในระหว่างคดีก่อน เป็นเรื่องโจทก์ตกลงยินยอมโดยสมัครใจ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์
ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 จำเลยที่ 2 นำความเท็จไปแจ้งต่อนายอำเภอว่าสามีโจทก์บุกรุกที่ของจำเลยที่ 1 นายอำเภอหลงเชื่อมีคำสั่งห้ามมิให้โจทก์กับสามีเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน ทำให้โจทก์กับสามีต้องงดเว้นเข้าไปตัดจากตั้งแต่วันนั้น แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 อายุความละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่งระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่า โจทก์ให้บุตรสาวเข้าไปตัดจากในที่พิพาท ขอให้ศาลเรียกมาสั่งให้ระงับการตัดจากในที่พิพาท เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างแถลงว่าจะไม่เข้าใจไปตัดจากในที่พิพาทซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นของตน ถ้าฝ่ายใดผิดข้อตกลงยอมให้ปรับครั้งละ 1,000 บาท ต่อมาคดีนั้นศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท การที่โจทก์ไม่สามารถเข้าตัดจากได้ในระหว่างคดีก่อน เป็นเรื่องโจทก์ตกลงยินยอมโดยสมัครใจ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดและการตกลงยินยอมโดยสมัครใจเป็นเหตุยกฟ้องคดีละเมิด
การที่ศาลชั้นต้นสั่งสืบพยานแล้วงดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คดีเสร็จไปโดยไม่ชักช้า
ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 จำเลยที่ 2 นำความเท็จไปแจ้งต่อนายอำเภอว่าสามีโจทก์บุกรุกที่ของจำเลยที่ 1 นายอำเภอหลงเชื่อมีคำสั่งห้ามมิให้โจทก์กับสามีเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน ทำให้โจทก์กับสามีต้องงดเว้นเข้าไปตัดจากตั้งแต่วันนั้นแสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไมหทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 อายุความละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่า โจทก์ให้บุตรสาวเข้าไปตัดจากในที่พิพาท ขอให้ศาลเรียกมาสั่งให้ระงับการตัดจากในที่พิพาท เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างแถลงว่าจะไม่เข้าไปตัดจากในที่พิพาทซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นของตน ถ้าฝ่ายใดผิดข้อตกลงยอมให้ปรับครั้งละ 1,000 บาท ต่อมาคดีนั้นศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท การที่โจทก์ไม่สามารถเข้าตัดจากได้ในระหว่างคดีก่อน เป็นเรื่องโจทก์ตกลงยินยอมโดยสมัครใจ ถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์
ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 จำเลยที่ 2 นำความเท็จไปแจ้งต่อนายอำเภอว่าสามีโจทก์บุกรุกที่ของจำเลยที่ 1 นายอำเภอหลงเชื่อมีคำสั่งห้ามมิให้โจทก์กับสามีเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดิน ทำให้โจทก์กับสามีต้องงดเว้นเข้าไปตัดจากตั้งแต่วันนั้นแสดงว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไมหทดแทนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2509 อายุความละเมิดจึงเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดิน
จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในคดีแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลว่า โจทก์ให้บุตรสาวเข้าไปตัดจากในที่พิพาท ขอให้ศาลเรียกมาสั่งให้ระงับการตัดจากในที่พิพาท เมื่อคู่ความมาศาลพร้อมแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างแถลงว่าจะไม่เข้าไปตัดจากในที่พิพาทซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นของตน ถ้าฝ่ายใดผิดข้อตกลงยอมให้ปรับครั้งละ 1,000 บาท ต่อมาคดีนั้นศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยฟังว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาท การที่โจทก์ไม่สามารถเข้าตัดจากได้ในระหว่างคดีก่อน เป็นเรื่องโจทก์ตกลงยินยอมโดยสมัครใจ ถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 557/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยาน-อุทธรณ์-ฎีกา: การที่ศาลอุทธรณ์ให้สืบพยานต่อหลังศาลชั้นต้นงดสืบพยานและคู่ความไม่โต้แย้งคำสั่ง เป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและคู่ความมีโอกาสโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาแต่ไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานต่อไปจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานต่อไปนั้นจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาจำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632-1633/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีโดยจำเลย ศาลมีอำนาจงดสืบพยานและชี้ขาดคดีได้ หากมีเจตนาจงใจประวิงคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
พฤติการณ์ที่ถือว่าจำเลยจงใจประวิงหน่วงเหนี่ยวให้คดีชักช้าโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ซึ่งศาลมีอำนาจงดสืบพยานจำเลย และชี้ขาดคดีไป โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393-1395/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อค้า vs. ที่อยู่อาศัย, การงดสืบพยาน, และคำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กำหนด 15 วันตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 1 ของมาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หมายความเฉพาะในชั้นยื่นฟ้องและขอหมายเรียกให้จำเลยแก้คดีเท่านั้นจะนำมาใช้ในชั้นฎีกาไม่ได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บัญญัติว่า'เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ฯลฯ' นั้น ย่อมหมายความรวมถึงการที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
คำว่า 'เคหะ' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่ห้องพิพาทจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าจึงมิใช่เคหะตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17 โจทก์บอกเลิกการเช่าได้
ถ้าศาลเห็นว่าพยานประเด็นที่จำเลยขอให้ส่งประเด็นไปสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเหล่านั้นเสียได้ ตามนัยมาตรา 86 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณานั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าจำเลยจะโต้แย้งคำสั่งนั้นอย่างใดก็ชอบที่จะแถลงข้อโต้แย้งให้ศาลชั้นต้นจดลงไว้ในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บัญญัติว่า'เช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ฯลฯ' นั้น ย่อมหมายความรวมถึงการที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างต่อสู้ให้บังคับคดีไปตามข้อกล่าวอ้างนั้นด้วย เพราะการบังคับคดีย่อมทำได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
คำว่า 'เคหะ' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 หมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่ห้องพิพาทจำเลยเช่าเพื่อประกอบการค้าจึงมิใช่เคหะตามความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวและไม่ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มาตรา 17 โจทก์บอกเลิกการเช่าได้
ถ้าศาลเห็นว่าพยานประเด็นที่จำเลยขอให้ส่งประเด็นไปสืบนั้นเป็นพยานหลักฐานฟุ่มเฟือยเกินสมควร ศาลก็มีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเหล่านั้นเสียได้ ตามนัยมาตรา 86 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณานั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ถ้าจำเลยจะโต้แย้งคำสั่งนั้นอย่างใดก็ชอบที่จะแถลงข้อโต้แย้งให้ศาลชั้นต้นจดลงไว้ในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งไว้จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ปฏิบัติงานตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครอง และอำนาจศาลในการงดพิจารณา
ในภาวะแห่งการปฏิวัติ ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ต่อไปธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มาตรา 17 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งหรือกระทำการภายในขอบเขตที่ระบุไว้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายซึ่งย่อมมีผลเป็นธรรมดาว่า ไม่เป็นมูลที่ผู้ใดจะนำมาฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ ศาลย่อมไม่รับฟ้องเช่นว่านั้น หรือถ้ารับฟ้องไว้แล้วก็มิได้หมายความว่าศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นในภายหลังไม่ได้เพราะคำสั่งรับฟ้องเช่นนี้มิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดี ไม่อยู่ในบังคับที่ศาลนั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143,145 เพราะฉะนั้นพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2508 ซึ่งบัญญัติมิให้บุคคลใดฟ้องร้องว่ากล่าวนายกรัฐมนตรีและผู้กระทำการตามคำสั่งนั้น จึงเป็นวิธีการอันพึงดำเนินเมื่อมีการฟ้องร้องคดีอันเป็นกรณีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมิใช่บทบัญญัตินอกเหนือขอบเขตแห่งมาตรา 17 และไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เมื่อพระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคล ผู้ปฏิบัติเกี่ยวแก่มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 เป็นกฎหมายที่ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินมาตรา 17 โดยเฉพาะ มิใช่กฎหมายที่บัญญัติกรณีหนึ่งกรณีใดขึ้นเป็นการตัดสิทธิที่บุคคลจะดำเนินคดีทางศาล จึงไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้างมาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใดๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่ มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียการที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำ ความชักช้าประวิง ยุ่งยากศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดี ไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณาศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติตามมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรบัญญัติว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งหรือกระทำการใดโดยอ้างมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ฯลฯ ให้ได้รับความคุ้มครอง บุคคลใดจะฟ้องร้องว่ากล่าว ฯลฯ มิได้ นั้น หมายความว่าต้องเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่อ้างมาตรา 17 โดยเป็นกรณีที่อยู่ภายในขอบเขตของมาตรา 17 หากคำสั่งหรือการกระทำนั้น ๆ อยู่นอกเหนือขอบเขตของมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ศาลย่อมวินิจฉัยได้ว่าคำสั่งหรือการกระทำนั้นมิได้รับความคุ้มครอง มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใดๆ โดยมติคณะรัฐมนตรีในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ฯลฯ แสดงว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจที่จะวินิจฉัยพฤติการณ์ที่เห็นสมควรใช้มาตรการที่กำหนดไว้การวินิจฉัยว่าคำสั่งหรือการกระทำชอบด้วยมาตรา 17 หรือไม่ อยู่ที่ความเห็นของนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีว่าสมควรต้องมีคำสั่งหรือกระทำ มิได้อยู่ที่มีพฤติการณ์บ่อนทำลายจริงหรือไม่
มาตรา 17 มิได้ถูกระบุให้ใช้แก่ผู้ทำการบ่อนทำลายโดยเฉพาะแต่ให้ใช้เพื่อระงับหรือปราบปรามการบ่อนทำลาย แม้ผู้กระทำการบ่อนทำลายตายไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่ และมีผู้ได้ร่วมรับผลนั้นด้วย จึงถือได้ว่าผู้ได้ร่วมรับผลนั้นอยู่ในข่ายแห่งมาตรา 17 นั้นด้วย
พระราชบัญญัติให้ความคุ้มครองและห้ามฟ้องบุคคลผู้ปฏิบัติการเกี่ยวแก่ มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า ถ้ามีคดีฟ้องร้องบุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 3 อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลจำหน่ายคดีเสียการที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจึงเป็นการสั่งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิใช่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีได้ แต่เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเท่านั้น แม้พระราชบัญญัตินี้จะมีผลย้อนหลังบังคับแก่คดีที่ยื่นฟ้องไว้แล้วด้วย และไม่ใช่กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อการตีความก็เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ย้อนหลังเป็นการลงโทษบุคคลในทางอาญา
ศาลมีอำนาจที่จะพิเคราะห์ว่ากระบวนพิจารณาใดจำเป็นจะต้องทำเพียงใดหรือไม่ ถ้าเห็นว่ากระบวนพิจารณาใดเป็นการประวิงหรือฟุ่มเฟือยชักช้าโดยไม่จำเป็น ศาลย่อมงดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นได้ หรือจะสั่งคู่ความให้งดดำเนินกระบวนพิจารณาในทำนองนั้นก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30, 86 วรรค 2 และดังนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 วรรค 4 และเมื่อศาลไม่เห็นประโยชน์ที่จะฟังคำคัดค้านของคู่ความ เพราะกฎหมายบัญญัติให้จำหน่ายคดีโดยชัดแจ้งแล้ว การฟังคำคัดค้านของคู่ความมีแต่จะทำ ความชักช้าประวิง ยุ่งยากศาลก็งดฟังคำคัดค้านและมีคำสั่งจำหน่ายคดี ไปทีเดียวได้
เมื่อศาลไม่เห็นควรรับคำฟ้องที่ไม่ระบุตัวทรัพย์สินที่พิพาทให้ชัดเจนไว้พิจารณาศาลก็ทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และเมื่อศาลรับคำฟ้องโจทก์ไว้แล้วต่อมามีเหตุที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ ศาลก็มีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่โดยให้จำหน่ายคดีที่ไม่มีคำฟ้องชัดเจนพอนั้นเสียได้ไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 29 มาใช้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานระหว่างพิจารณาคดี: ไม่อุทธรณ์ได้ทันที ต้องรอคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดประเด็นหน้าที่นำสืบและมีคำสั่งให้งดสืบในประเด็นข้อใด เป็นการสั่งโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226(1) จะอุทธรณ์ในทันทีทันใดมิได้ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งไว้ และอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้เมื่อศาลพิพากษาหรือชี้ขาดตัดสินคดี กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3)