คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเชียร มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13199/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเวนคืนที่ดิน: การฟ้องเรียกค่าทดแทนซ้ำกับคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการไม่กระทบสิทธิจากความล่าช้าของรัฐ
คดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมทั้งดอกเบี้ย เป็นเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือที่มีราคาลดลง สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น ค่าเสียหายเนื่องจากต้องรื้อถอนสาธารณูปโภคและขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มในรายการและจำนวนเงินเดียวกันกับคดีก่อนพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อน เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้น จำเลยทั้งสองในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มพร้อมด้วยดอกเบี้ยจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
แม้คดีซึ่งโจทก์ฟ้องเป็นคดีก่อนโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดพร้อมด้วยดอกเบี้ย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 รับผิดชำระค่าเสียหายเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดก็มีมูลเหตุมาจากการที่โจทก์อ้างว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในอัตราที่เป็นธรรมและในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯ จึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเป็นประเด็นเดียวกันว่าเงินค่าทดแทนซึ่งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้แก่โจทก์เป็นอัตราที่เป็นธรรมแล้วหรือไม่ ซึ่งถึงแม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดเป็นส่วนตัวแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 แต่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนเพราะมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 กำหนดให้ผู้ที่ไม่พอใจในจำนวนเงิน ค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ และให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนดดังกล่าว มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ไม่ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์และรัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้รับความกระทบกระเทือนหรือล่าช้าไปกว่าระยะเวลาหกสิบวันตามที่กฎหมายกำหนด โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11723/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษา ศาลต้องไต่สวนให้ชัดเจนก่อนบังคับคดี
การคิดคำนวณยอดหนี้ตามคำพิพากษาตามที่โจทก์แถลงขอออกคำบังคับและตามที่ศาลชั้นต้นให้เจ้าหน้าที่การเงินของศาลคำนวณแตกต่างกัน ซึ่งศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่า ยอดหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกามีจำนวนเท่าใดแน่ ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นคำนวณยอดหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11713/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บริษัทร้างขาดอำนาจฟ้องคดี แม้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระบัญชี การมอบอำนาจฟ้องต้องเป็นของผู้ชำระบัญชี
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1246 อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนทะเบียนบริษัทร้างยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้บทบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดี เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่ได้ขีดชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บริษัทโจทก์จึงเป็นอันเลิกกัน ความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ย่อมสิ้นไปโดยผลของกฎหมายก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยโจทก์ ผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเชียงใหม่กลับจดชื่อโจทก์ให้คืนเข้าสู่สถานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 1246 (6) ดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สามารถมอบอำนาจให้ ย. อดีตกรรมการของโจทก์ฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ แม้มาตรา 1249 จะบัญญัติว่า ห้างหุ้นส่วนก็ดี บริษัทก็ดี แม้จะได้เลิกกันแล้ว ก็ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีก็ตาม ก็เป็นการตั้งอยู่เพื่อการชำระบัญชี และการแก้ต่างว่าต่างในนามของโจทก์ย่อมเป็นอำนาจของผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1259 (1) เท่านั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนปืนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว 2 นัด ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกันการกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองจึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ หากนำไปใช้ในการกระทำความผิดอื่นแล้ว ย่อมยากแก่การตรวจสอบหาตัวผู้กระทำความผิดที่แท้จริง การที่จำเลยพาอาวุธปืนกับเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในที่เกิดเหตุนับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชน และกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว ก็ไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยให้เบาลงหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10338/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
การที่จำเลยมีอาวุธปืนพกลูกซองชนิดประกอบขึ้นเอง ขนาด .410 ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนดังกล่าว พร้อมกระสุนเล็กแบบ 88 ดัดแปลงเพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาต ทั้งไม่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่า มีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน เจตนาที่มีไว้ในครอบครองย่อมต่างกัน การกระทำของจำเลยฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง จึงเป็นการกระทำความผิดสองกรรม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2553)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7957/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการใช้ที่ดินสายส่งไฟฟ้า: หลักเกณฑ์การประเมินราคาตามความเป็นธรรม โดยอ้างอิงวันประกาศเขตสำรวจ
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ซึ่งต่างมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนให้เป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่น ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะให้นำมาใช้ในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนอย่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง การกำหนดและจ่ายเงินทดแทนตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง นั้น จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) กรณีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) คือวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน อันเป็นวันเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับ เมื่อเทียบกันกับกรณีในคดีนี้วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าคือวันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) (ข) แพ่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งจำเลยได้ประกาศ เรื่อง กำหนดเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าขนาด 500 กิโลวัตต์ จากโรงไฟฟ้าราชบุรีไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยราชบุรี 3 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537 ดังนั้น วันที่จะพิจารณาถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตสำรวจสายส่งไฟฟ้าสายนี้ คือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำกระโดงที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นสาธารณสมบัติ แม้ที่ดินโฉนดจะครอบคลุม ก็มิอาจหวงห้ามได้
สำเนาโฉนดที่ดินเลขที่ 120 และ 121 เป็นโฉนดที่ดินที่ออกให้ตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อปี ร.ศ.125 โดยระบุอาณาเขตของที่ดินทั้งสองแปลงว่าด้านทิศใต้จดลำกระโดงและตามรูปแผนที่ในโฉนดที่ดินก็ปรากฏว่าด้านทิศใต้ของที่ดินเป็นลำกระโดง แสดงให้เห็นว่าลำกระโดงมีมาไม่น้อยกว่า 100 ปีแล้ว โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นลำกระโดงที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือมีผู้ใดขุดให้เป็นลำกระโดงและขุดตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งโจทก์ที่ 1 เบิกความยอมรับว่าในสมัยก่อนเจ้าของที่ดินที่ลำกระโดงผ่านจะใช้ลำกระโดงเป็นทางออกเพื่อขนผลิตผลทางการเกษตรออกไปสู่คลองชักพระและได้ความจาก ฉ. พยานโจทก์อีกปากหนึ่งว่า ลำกระโดงมีระยะทางเริ่มต้นจากคลองชักพระไปจนถึงสวนของพยานซึ่งเป็นระยะทางประมาณ 1,000 เมตร ผู้อยู่อาศัยทั้งสองฝั่งของลำกระโดงจะแบ่งกันใช้น้ำและใช้ประโยชน์ในลำกระโดงร่วมกันจึงสอดคล้องกับคำเบิกความของ ว. และ บ. พยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขณะเบิกความต่างมีอายุ 69 ปี และตั้งบ้านเรือนอยู่ริมลำกระโดงที่พิพาทมาเป็นเวลานาน โดยพยานทั้งสองเบิกความยืนยันว่า ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายเป็นต้นมาชาวบ้านบริเวณดังกล่าวใช้ลำกระโดงพิพาทเป็นทางสัญจรและใช้ขนผลิตผลทางการเกษตรโดยทางเรือออกสู่ภายนอก พยานเห็นว่าลำกระโดงพิพาทมีมาตั้งแต่เกิดและได้ใช้ลำกระโดงดังกล่าวเป็นทางสัญจรเช่นเดียวกับชาวบ้านในละแวกนั้นโดยไม่เคยมีบุคคลใดหวงห้าม เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายแล้วเห็นได้ว่าลำกระโดงสายนี้ยังมีสภาพที่ประชาชนสามารถใช้เรือสัญจรไปมาออกสู่คลอกชักพระได้โดยสะดวก จากพยานหลักฐานดังกล่าวฟังได้ว่าประชาชนในละแวกนั้นได้ใช้ลำกระโดงสายนี้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว หากจะฟังว่าลำกระโดงสายนี้เกิดจากการขุดสร้างขึ้นเองของชาวบ้านทั้งสองฝั่งในที่ดินของตนเพื่อประโยชน์ในการใช้น้ำและการสัญจรไปมาก็ถือได้ว่าเจ้าของที่ดินแต่เดิมได้ยกที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงพิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1304 แล้วโดยปริยาย หากจำต้องการแสดงเจตนาอุทิศให้หรือจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่อย่างใดไม่ เมื่อฟังว่าลำกระโดงพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันมาเป็นเวลาเนิ่นนานก่อนที่โจทก์ทั้งสองจะรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 120 และ 121 จากเจ้าของเดิม แม้ลำกระโดงพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ทั้งสอง และโจทก์ทั้งสองได้กลับเข้าหวงกันหรือประชาชนใช้ประโยชน์จากลำกระโดงพิพาทน้อยลงจากเดิม ก็ไม่ทำให้ลำกระโดงพิพาทหมดสภาพจากการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกลับไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินที่ได้กรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวอีก โจทก์ทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาลำกระโดงพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. ใหม่ และกำหนดระยะเวลาชำระเงิน
หลังจาก พ.ร.ฎ. ปี 2537 สิ้นสุดลง รัฐได้ออก พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ในปี 2542 ซึ่งฝ่ายจำเลยดำเนินการเวนคืนที่ดินและกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอาศัย พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ การคำนวณดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ทั้งสองจึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.ฎ. ฉบับใหม่ ปรากฏว่า โจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสินของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างแบบปรับราคาได้ และสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างาน (ค่าเค) ที่เกิดจากการปรับราคา
โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ทำบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับเงินค่าจ้างตามสัญญารับจ้างก่อสร้างซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ โดยระบุว่ามีการโอนสิทธิการรับเงินตามจำนวนที่ผู้โอนสิทธิจะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 28,000,000 บาท ซึ่งเป็นสัญญาแบบปรับราคาได้ ซึ่งหมายความว่าสัญญาดังกล่าวอาจมีการพิจารณาเงินเพิ่มหรือลดราคาค่างานจากราคาที่ผู้รับจ้างทำสัญญาตกลงกับผู้ว่าจ้างได้ เงินที่ได้เพิ่มหรือลดลงจากราคาค่างานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของสัญญาจ้างที่กำหนดให้ถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ แม้โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. จะไม่ได้กำหนดสิทธิเรียกร้องในเงินส่วนนี้ไว้อย่างชัดเจนในบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิฯ ก็ต้องถือว่าสิทธิในการรับเงินค่าชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่าเค) ดังกล่าวตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างและผู้ประกอบอาชีพงานอื่นกับทางราชการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งถือเป็นเงินเพิ่มที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ประสงค์จะโอนให้แก่กันด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอายัดเงินซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2748/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พิจารณาหลักเกณฑ์จาก พ.ร.บ.เวนคืนฯ และสภาพที่ดิน
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 บัญญัติไว้กว้างๆ ว่า ให้จำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรม ไม่ได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้คำนึงถึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้เหมือนดังเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511 มาตรา 30 ได้นั้น จึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ทุกอนุมาตราประกอบกัน เพื่อใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินทดแทนการใช้ที่ดินให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน โดยวันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าคือ วันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในโครงการนี้ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2511
of 13