พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องใหม่และไม่เคยมีใช้มาก่อน การเพิกถอนสิทธิบัตรเมื่อแบบไม่ใหม่
เมื่อโจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายช้อนส้อมเช่นเดียวกับที่จำเลยได้รับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์และต้องหยุดดำเนินการไป นับได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกกระทบหรือถูกโต้แย้งสิทธิแต่ผู้เดียวในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะกล่าวอ้างว่าสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64 วรรคสอง ได้ความว่าช้อนส้อมของโจทก์มีการผลิตและจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งการตรวจคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้พิจารณาถึงแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1) และเมื่อไม่ปรากฏว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยแตกต่างจากช้อนส้อมของโจทก์ เท่ากับว่าแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศไทยก่อนวันขอรับสิทธิบัตรและถือว่าไม่มีความใหม่ ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 57 (1)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 56 ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้
การที่การออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่มีความใหม่ ย่อมจะไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยจึงได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ ถือเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: 'AQUAFEED' ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะสินค้าโดยตรง
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่บทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง และเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีความหายหรือคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" ซึ่งจำเลยเองนำสืบว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้ว หากให้ความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงเห็นได้ชัดเจนว่าคำนี้ไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หากจะคิดพิจารณาต่อไปว่าเป็นคำที่กล่าวถึง "อาหารสำหรับสัตว์น้ำ" ก็จะต้องเชื่อมโยงคำว่า "AQUA" กับสัตว์น้ำ หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันที หรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยตามที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสาธารณชนสามารถทราบหรือเข้าใจได้ทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีความหายหรือคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" ซึ่งจำเลยเองนำสืบว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้ว หากให้ความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงเห็นได้ชัดเจนว่าคำนี้ไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หากจะคิดพิจารณาต่อไปว่าเป็นคำที่กล่าวถึง "อาหารสำหรับสัตว์น้ำ" ก็จะต้องเชื่อมโยงคำว่า "AQUA" กับสัตว์น้ำ หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันที หรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยตามที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาคำที่สื่อความหมายโดยตรงหรือไม่
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 65 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง มิใช่เกี่ยวกับอายุความในการใช้สิทธิเรียกร้อง และเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" คำว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากคำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าว่าจะสามารถสื่อให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจถึงสินค้าได้เพียงใด หากสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีเพราะคำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่วไปสำหรับสินค้าหรือใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่หากสาธารณชนยังต้องใช้วิจารณญาณพอสมควรในการพิจารณาจึงจะเข้าใจได้ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้ทราบถึงสินค้าประเภทหรือชนิดใด เพราะคำดังกล่าวเป็นเพียงคำแนะนำของสินค้าแล้ว คำที่นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวยังไม่อาจถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงได้
เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" ไม่มีคำแปลในพจนานุกรม แต่เป็นการนำคำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า "AQUA" กับ "FEED" คำว่า "AQUA" มีความหมายว่า "น้ำ" ส่วนคำว่า "FEED" มีความหมายว่า "ให้อาหาร, เลี้ยง, เลี้ยงให้อ้วน" เมื่อนำมารวมกันแล้วจะมีความหมายหรือคำแปลเพียงในทำนองว่า "การให้อาหารสำหรับ/เกี่ยวกับ/ของน้ำ" จึงไม่ใช่คำสามัญทั่วไปของสินค้าอาหารสัตว์ และไม่อาจถือว่าเป็นคำพรรณนาสำหรับสินค้าอาหารสัตว์ด้วย เพราะไม่ได้พรรณาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอาหารสัตว์โดยตรง หาใช่ว่าจะสามารถทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรือเมื่อใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยไม่ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "AQUAFEED" จึงไม่ถือว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลโดยใช้ชื่อทางการค้าของผู้อื่น ก่อให้เกิดความสับสนและเสียหายแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้า
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำชื่อทางการค้าคำว่า "HITACHI" และ "ฮิตาชิ" ของโจทก์ไปใช้ในเชิงธุรกิจ เมื่อกิจการของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นกิจการเช่นเดียวกับกิจการของโจทก์หรือบริษัทในเครือ จึงมีโอกาสที่สาธารณชนจะหลงผิดเข้าใจว่า กิจการของจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นกิจการในเครือ หรือเป็นสาขาหรือมีส่วนสัมพันธ์กับโจทก์ จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งเป็นการจดทะเบียนชื่อนิติบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะอาจทำให้สาธารณชนเกิดความหลงผิดได้ โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 421 และตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ.2538 ข้อ 20 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'Global Sources' ไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะเป็นคำที่บ่งบอกลักษณะสินค้า/บริการโดยตรง
เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ประกอบด้วยรูปประดิษฐ์กับอักษรโรมันคำว่า "Global Sources" หากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้ว อักษโรมันคำว่า "Global Sources" ย่อมเป็นภาคส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ ในขณะที่รูปโลกประดิษฐ์นั้น แม้จะมีลักษณะเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นและมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ แต่โดยขนาดตำแหน่งและสภาพที่ใช้ร่วมกับอักษรโรมันคำว่า "Global Sources" แล้ว รูปโลกประดิษฐ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นภาพส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ได้ กล่าวคือหากพิจารณาว่า อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว ลำพังรูปโลกประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่อาจทำให้เครื่องหมายการค้า/บริการได้รับการจดทะเบียน
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่โดยโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการ จำนวน 5 คำขอ เพื่อใช้กับสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า/บริการตามคำขอใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรงหรือไม่นั้น มิจำต้องพิจารณาสินค้าและบริการแต่ละชนิดในรายการสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ดังนั้น หากตรวจสอบพบสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการในคำขอใดแล้วก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนสำหรับคำขอนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้รับจดทะเบียนเป็นรายสินค้าหรือบริการตามที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด สำหรับคำว่า "Global" นั้น แปลว่า "โลก, ทั่วโลก, เกี่ยวกับโลก" ส่วนคำว่า "Sources" นั้นแปลว่า "แหล่ง, ข้อมูล, แหล่งข้อมูล" เมื่อออกเสียงรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า "แหล่งข้อมูลของโลก" เมื่อใช้คำดังกล่าวกับคำขอเลขที่ 456095 ถึง 456099 ซึ่งต่างมีสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรง เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ทั้งคำขอจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2)
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่โดยโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการ จำนวน 5 คำขอ เพื่อใช้กับสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า/บริการตามคำขอใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรงหรือไม่นั้น มิจำต้องพิจารณาสินค้าและบริการแต่ละชนิดในรายการสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ดังนั้น หากตรวจสอบพบสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการในคำขอใดแล้วก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนสำหรับคำขอนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้รับจดทะเบียนเป็นรายสินค้าหรือบริการตามที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด สำหรับคำว่า "Global" นั้น แปลว่า "โลก, ทั่วโลก, เกี่ยวกับโลก" ส่วนคำว่า "Sources" นั้นแปลว่า "แหล่ง, ข้อมูล, แหล่งข้อมูล" เมื่อออกเสียงรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า "แหล่งข้อมูลของโลก" เมื่อใช้คำดังกล่าวกับคำขอเลขที่ 456095 ถึง 456099 ซึ่งต่างมีสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรง เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ทั้งคำขอจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดวันเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ศาลฎีกายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ทางพิจารณาได้ความว่า เหตุคดีนี้เกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2542 ไม่ใช่ในระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2541 ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำสืบต่อสู้ฟังได้ว่า ในช่วงเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารกองประจำการอยู่ที่โรงเรียนการบิน อำเภอกำแพงแสน จำเลยไม่ได้ลาออกไปข้างนอก โจทก์ฟ้องผิดวันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แม้ว่าข้อแตกต่างนี้จะเป็นเพียงรายละเอียด แต่การฟ้องผิดวันไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดในการฟ้องคดีอาญาเรื่องวันเวลาเกิดเหตุ ส่งผลให้จำเลยหลงต่อสู้และศาลต้องยกฟ้อง
มารดาผู้เสียหายเบิกความว่า ประมาณเดือนธันวาคม 2541 ช่วงแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เวลาประมาณ 21 นาฬิกา พยานไม่พบผู้เสียหายทั้ง ๆ ที่วันดังกล่าวผู้เสียหายก็อยู่ช่วยพยานขายขนมบัวลอย จนกระทั่งเวลา 24 นาฬิกา พยานเลิกขายของกลับบ้านแล้ว ผู้เสียหายจึงกลับไปพบพยาน พยานสอบถามผู้เสียหายว่าไปไหนมาผู้เสียหายบอกว่าไปกับเพื่อน แต่พยานไม่เชื่อจึงสอบถามผู้เสียหาย ต่อมาอีกประมาณ 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายจึงยอมเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าถูกจำเลย กับพวกข่มขืน เมื่อทราบเรื่องดังกล่าว พยานจึงได้ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองนครปฐม เจ้าพนักงานตำรวจให้ผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ศ. วันที่ผู้เสียหายกับมารดาไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนคือวันที่ 7 มกราคม 2542 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่พนักงานสอบสวนส่งผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ศ. ได้ความจากคำเบิกความของนายแพทย์ ว. ผลปรากฎว่ามีการร่วมเพศไม่เกิน 3 วันผ่านมา และผู้เสียหายยืนยันว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายไม่เคยร่วมประเวณีกับใครมาก่อน หลังจากเกิดเหตุแล้วจนถึงวันที่ผู้เสียหายไปตรวจร่างกายผู้เสียหายไม่ได้ร่วมประเวณีกับใคร เหตุคดีนี้จึงเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 มกราคม 2542 ไม่ใช่ในระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2541 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2541 ตามฟ้องโจทก์ จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าในช่วงเกิดเหตุตามฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารกองประจำการอยู่ที่โรงเรียน ก. จำเลยไม่ได้ลาออกไปข้างนอกโดยมีเรืออากาศเอก น. นายทหารประจำโรงเรียน ก. มาเบิกความสนับสนุนและส่งเอกสารสำเนาบัญชีคุมการจำหน่ายเวลาปฏิบัติราชการของจำเลยเป็นพยานด้วย โจทก์ฟ้องผิดวันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน แม้ว่าข้อแตกต่างนี้จะเป็นเพียงรายละเอียด แต่การที่ฟ้องผิดวันไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14818/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์, การแจ้งความร้องทุกข์เพื่อปกป้องสิทธิ, เจ้าของลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรม
คำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน อายุความ 1 ปี ในการเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คือวันที่โจทก์ทราบเรื่องการแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลย โจทก์เพิ่งทราบเรื่องการแจ้งความร้องทุกข์ของจำเลยเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2546 อายุความ 1 ปี เริ่มต้นนับจากวันดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กันยายน 2547 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ และกรณีไม่ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 มาใช้บังคับ เพราะขณะที่ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์นั้น คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งนั้นถึงที่สุดแต่อย่างใด
ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมรวมถึงงานเรียบเรียงเสียงประสานด้วย เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์งานดนตรีกรรมเพลง "น้ำตาฟ้า" ในส่วนของงานเรียบเรียงเสียงประสาน และปกในของเทปเพลงที่วางจำหน่ายทั่วไปโดยมีงานดังกล่าวอยู่ด้วยระบุรายละเอียดของเพลงนี้ว่า ส. เป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองส่วนจำเลยเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 62 วรรคสอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์โต้แย้งว่า จำเลยไม่มีลิขสิทธิ์ในงานเรียบเรียงเสียงประสานของงานดนตรีกรรมเพลง "น้ำตาฟ้า"
กรณีมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยเคยแจ้งให้มีการระงับการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะแจ้งความร้องทุกข์เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนตามกฎหมายได้ ไม่ถือว่าเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย หรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมรวมถึงงานเรียบเรียงเสียงประสานด้วย เมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์งานดนตรีกรรมเพลง "น้ำตาฟ้า" ในส่วนของงานเรียบเรียงเสียงประสาน และปกในของเทปเพลงที่วางจำหน่ายทั่วไปโดยมีงานดังกล่าวอยู่ด้วยระบุรายละเอียดของเพลงนี้ว่า ส. เป็นผู้ประพันธ์คำร้องและทำนองส่วนจำเลยเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 62 วรรคสอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์โต้แย้งว่า จำเลยไม่มีลิขสิทธิ์ในงานเรียบเรียงเสียงประสานของงานดนตรีกรรมเพลง "น้ำตาฟ้า"
กรณีมีเหตุทำให้จำเลยเข้าใจว่า จำเลยถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยเคยแจ้งให้มีการระงับการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยแล้ว จำเลยจึงชอบที่จะแจ้งความร้องทุกข์เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนตามกฎหมายได้ ไม่ถือว่าเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย หรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10633/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากสินสมรสโดยไม่สุจริต และประเภทคดีที่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) และเมื่อจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสคืนให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาเป็นของโจทก์ด้วย หากโจทก์ชนะคดีย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืน จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ หากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิกถอนทั้งหมด และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้เพิกถอนนิติกรรมทั้งหมด โจทก์ย่อมได้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดคืนมา จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10506/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องขัดทรัพย์: ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์แทนห้างหุ้นส่วน
บุคคลที่อาจยื่นคำร้องขัดทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ได้ จะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างใดๆ ในทรัพย์ที่ถูกยึด อันถือได้ว่าเป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์นั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่า อพาร์ตเมนต์ที่ถูกยึดไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่เป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. หากเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างจริง บุคคลที่ถูกโต้แย้งสิทธิจากการยึดทรัพย์ก็คือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เจ้าของทรัพย์สินซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากตัวผู้ร้องซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ทรัพย์ที่ถูกยึดจึงหาได้เป็นสิทธิของผู้ร้องด้วยไม่ กรณีไม่อาจถือได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ และถึงแม้ห้างดังกล่าวเหลือผู้ร้องเพียงคนเดียว เพราะหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายไป ก็เป็นผลให้เลิกห้างและชำระบัญชีโดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ดำเนินการของห้างหุ้นส่วนตามแต่จำเป็นเพื่อการชำระสะสางกิจการให้เสร็จไปด้วยดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 เมื่อผู้ร้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนธรรมดาจึงไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์คดีนี้