คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เอกชัย ชินณพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16078/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาโอนสิทธิและสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการอาคารชุดของจำเลยที่ 1 และสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งในการพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายโครงการก่อสร้างอาคารชุดไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญาหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดประกอบสัญญาจะซื้อจะขายเฟอร์นิเจอร์ร่วมด้วย ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนขายสัญญาดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 3 โดยในสัญญาโอนขายมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อลูกค้าเดิมของจำเลยที่ 1 รวมทั้งโจทก์ และจำเลยที่ 2 ตกลงกับจำเลยที่ 1 ให้มีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 เป็นผลให้มีการทำสัญญาจะซื้อจะขายโครงการดังกล่าวทั้งหมดกันใหม่ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 กรณีถือว่าการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดกับโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนตัวผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดจากจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ก็ตกลงยินยอมด้วย เมื่อข้อตกลงในสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อลูกค้าทุกราย และสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ก็มีข้อตกลงที่จำเลยที่ 3 ต้องรับโอนสิทธิเรียกร้องของคู่สัญญาที่เป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ผู้จะขายทุกรายมาด้วยและเมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งสองสัญญาแล้วถือว่า สัญญาที่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาดังกล่าวกับจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 จะชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าทุกรายรวมทั้งโจทก์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีหนังสือว่าจะถือประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 รวมทั้งจำเลยที่ 1 คู่สัญญาเดิมร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ แก่โจทก์ได้ตามมาตรา 374 วรรคสอง
ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์นั้น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 ผู้เดียวเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดทั้งโครงการมาจากจำเลยที่ 1 แล้ว และเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดพิพาทเพียงผู้เดียว สภาพแห่งหนี้จึงเปิดช่องให้เฉพาะจำเลยที่ 3 เท่านั้น ที่มีหน้าที่ต้องทำนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142-1143/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อไม่ขออนุญาตฎีกาตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคย่อมเป็นที่สุดตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 49 วรรคสอง และหากคู่ความประสงค์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แผนกคดีผู้บริโภคจำต้องทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกาและยื่นมาพร้อมกับฎีกาต่อศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมฎีกาไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งต่อไปตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 51 แต่คดีนี้จำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับฎีกาด้วย เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ อีกทั้งบทบัญญัติอันว่าด้วยการฎีกาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เป็นบทบัญญัติพิเศษที่กำหนดให้ศาลฎีกาเท่านั้นที่มีอำนาจพิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12534/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: การส่งมอบสมบูรณ์แม้ผู้รับถูกควบคุมตัว
จำเลยกับ พ. มีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญาโดยร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงสั่งซื้อและชำระเงินจำนวน 7,000 บาท ให้แก่ จ. ผู้ขาย แต่ จ. ยังไม่สามารถส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้เพราะยังไม่มี จึงผัดว่าจะส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้ในภายหลัง โดย จ. จะนำแมทแอมเฟตมีนตามีนไปซุกซ่อนไว้ที่มาตรวัดน้ำประปาหน้าบ้านเช่าที่จำเลยกับ พ. เคยไปรับแมทแอมเฟตามีนกันมาก่อน จำเลยจึงลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว และการที่ จ. ได้นำเมทแอมเฟตามีนที่สั่งซื้อไว้ไปซุกซ่อนที่มาตรวัดน้ำประปาหน้าบ้านเช่าและโทรศัพท์มาแจ้งแก่จำเลยกับ พ. ให้จำเลยกับ พ. ไปเอาได้ เจ้าพนักงานตำรวจจึงนำจำเลยกับ พ. ไปยังสถานที่ดังกล่าวและยึดเมทแอมเฟตามีนจำนวน 60 เม็ด ที่ซุกซ่อนไว้เป็นของกลาง ถือว่าการส่งมอบแมทแอมเฟตามีนให้แก่จำเลยกับ พ. มีผลสมบูรณ์เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ จ. แจ้งให้จำเลยกับ พ. ทราบว่าได้นำเมทแอมเฟตามีนของกลางไปซุกซ่อนที่มาตรวัดน้ำประปานั้นแล้ว แม้ขณะที่ จ. แจ้งให้ทราบนั้น จำเลยกับ พ. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจควบคุมตัวอยู่ ก็ไม่มีผลทำให้จำเลยกับ พ. ไม่สามารถครอบครองเมทแอมเฟตามีนของกลางได้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR' ไม่ใช่คำย่อทั่วไปและไม่ใช่คำสามัญที่จดทะเบียนไม่ได้
คดีนี้คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมคือ "DR" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ใช่คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามหลักเกณฑ์ในพจนานุกรมตามที่จำเลยกล่าวอ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจเรียกขานได้ว่า "ดี-อา-เปป-เปอร์" นอกจากนั้น คำสามัญ (Generic word) ที่ไม่อาจรับจดทะเบียนได้นั้นหมายถึง คำที่เป็นชื่อเรียกสามัญของสินค้านั้นๆ เช่น คำว่า "เก้าอี้" สำหรับสินค้าเก้าอี้ เป็นต้น และไม่มีบุคคลใดสามารถหวงกันคำสามัญเช่นนั้นไว้ใช้กับสินค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว สำหรับอักษรโรมัน "DR" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะพิจารณาว่าเป็นคำที่มาจากคำย่อของคำว่า "DOCTOR" ซึ่งเป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมแปลว่า "แพทย์ หมอ ดุษฎีบัณฑิต" แต่คำดังกล่าวไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน ทั้งความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวาน ที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง เมื่อเป็นเช่นนี้อักษรโรมัน "DR" จึงไม่ใช่เครื่องหมายที่ไม่อาจจดทะเบียนได้และมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR PEPPER' ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้ 'DR' เป็นคำย่อทั่วไป
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า "DR PEPPER" ซึ่งอาจเรียกขานได้ว่า "ดี - อา - เปป - เปอร์" เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 32 รายการสินค้าน้ำดื่ม น้ำอัดลมและน้ำหวาน เป็นต้น เมื่อตามพจนานุกรม "DOCTOR" มีคำแปลว่า "แพทย์ หมอ ดุษฎีบัณฑิต" มีตัวย่อคือ "Dr" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้ง "DR" เป็นคำสามัญทั่วไป ไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าจำพวกน้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวานที่โจทก์ขอจดทะเบียน ความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวจึงไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียน ดังนั้น อักษรโรมัน "DR" จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ไม่อาจจดทะเบียนได้และมีลักษณะบ่งเฉพาะ โดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: 'DR PEPPER' ไม่ใช่คำสามัญ แม้ 'DR' จะเชื่อมโยงกับ 'DOCTOR'
คำย่อของคำว่า "DOCTOR" ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมคือ "Dr" โดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก ไม่ใช่ "DR" ตามที่ปรากฏในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ใช่คำย่อของคำว่า "DOCTOR" เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจเรียกขานได้ว่า "ดี-อา-เปป-เปอร์" นอกจากนั้นอักษรโรมัน "DR" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะพิจารณาว่าเป็นคำที่มาจากคำย่อของคำว่า "DOCTOR" ซึ่งเป็นคำทั่วไปที่มีความหมายในพจนานุกรมแปลว่า "แพทย์ หมอดุษฎีบัณฑิต" แต่ไม่ใช่ชื่อเรียกสามัญของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน ทั้งความหมายของอักษรโรมันดังกล่าวไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวก น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำหวานที่โจทก์ขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าโดยตรง จึงไม่ใช่เครื่องหมายที่ไม่อาจจดทะเบียนได้ และมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยโจทก์ไม่ต้องปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีส่งสินค้าผิดที่จนเกิดความเสียหาย แม้มีข้อจำกัดความรับผิด
จำเลยประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ การดำเนินการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับโดยถูกต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยโดยตรง จำเลยสามารถควบคุม สั่งการและป้องกันมิให้เกิดการผิดพลาดขึ้นได้ การที่พนักงานของจำเลยนำสินค้าไปส่งที่เลขที่ 15403 เชอร์แมนเวย์ ห้อง 102 แทนที่จะไปส่งที่ห้อง 120 อาคารเดียวกัน อันเป็นที่อยู่ของผู้รับที่ระบุในใบรับขนทางอากาศ เมื่อบริษัท ค. ผู้ซื้อยังไม่ได้รับสินค้า จำเลยจึงต้องรับผิดชอบต่อบริษัท อ. ผู้ส่งตามสัญญารับขนของ ทั้งตามพฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีพนักงานของจำเลยได้กระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลผู้ประกอบอาชีพเช่นนั้น จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และพนักงานของจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ ถือได้ว่า จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้เกิดความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญารับขนของ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าที่ถูกขโมยไปเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4432/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้า ห้ามใช้ชื่อคล้ายทำให้สับสน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้ากล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 109 และ 110 ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าโดยหลอกลวงในแหล่งกำเนิดของสินค้าและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งพิพาทกันในเรื่องสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างได้รับการจดทะเบียนว่าใครมีสิทธิดีกว่าและมีเหตุเพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ หรือเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าโดยตรง ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่าใครมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าดีกว่ากัน คดีนี้ย่อมมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีส่วนอาญาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่งประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 46
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 3 ประกอบด้วยคำว่า KOBE และ GOBE เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคำทั้งสองต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ 4 ตัว มีเสียงเรียกขานเหมือนกันว่า โกเบ และใช้กับสินค้าลวดเชื่อมโลหะเหมือนกัน กล่องบรรจุสินค้ามีสีเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน ตัวอักษรบนกล่องและการวางตำแหน่งตัวอักษรคล้ายกัน เมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้ว ย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คำว่า KOBE จนถึงกับเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 ได้
คำว่า KOBE ที่โจทก์ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าในการประกอบการค้าของโจทก์เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเพื่อประกอบการค้าผลิตภัณฑ์ลวดเชื่อมโลหะเช่นเดียวกันกับโจทก์ โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเค โอ บี อี เวลดิ้ง จำกัด ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันว่า KOBE WELDING CO., LTD พ้องกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปและชื่อทางการค้าของโจทก์ กับนำชื่อภาษาอังกฤษของจำเลยที่ 1 ไปพิมพ์ที่กล่องบรรจุสินค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เป็นการมุ่งแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์โดยไม่สุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงละเมิดสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5, 18, 420 และ 421 โจทก์ผู้มีสิทธิโดยชอบที่จะใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวซึ่งต้องเสื่อมเสียประโยชน์จากการใช้ชื่อโดยมิชอบของจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 มิให้ใช้ชื่อ เค โอ บี อี เวลดิ้ง หรือ KOBE WELDING ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิแก่โจทก์ในการบังคับจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อนิติบุคคลด้วยที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อของจำเลยที่ 1 โดยมิให้ใช้คำว่า เค โอ บี อี หรือ โกเบ ด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิดในหนี้ที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่า ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/60 วรรคสองดังกล่าว อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการขัดต่อกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่เหลือ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง มีความหมายว่าผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลอื่นซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้จะต้องรับผิดเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ซึ่งว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ดังนี้ ในส่วนตัวลูกหนี้ย่อมได้รับการปลดเปลื้องความรับผิดในส่วนที่ขาดโดยผลของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ แต่ในส่วนผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดก็เมื่อหนี้นั้นได้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 การที่แผนฟื้นฟูกิจการในคดีนี้กำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวย่อมเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาด
of 13