พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำประดิษฐ์ที่ไม่เล็งคุณสมบัติสินค้าเป็นเครื่องหมายที่ชอบจดทะเบียนได้
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุดนั้น ต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย โดยศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความชอบหรือไม่ชอบในเหตุผลของคำวินิจฉัยหรือคำสั่งว่าได้วินิจฉัยไปโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานและถูกต้องด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่ด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายค้าจำเลยที่ 11 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ได้
การพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 หรือคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น และคดีนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดเป็นการส่วนตัว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งโจทก์ได้อ้างเหตุผลที่ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดในคำฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำว่า NEWMAX นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายค้าซึ่งเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่า ใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกันว่า NEWMAX ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้ากระดุมแป๊บ ที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุมตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX สำหรับสินค้าจำพวก 26 ที่โจทก์รับโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (1), (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า คำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายทะเบียนเครื่องหมายค้าจำเลยที่ 11 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ได้
การพิจารณาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 หรือคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยดังกล่าวจะต้องเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น และคดีนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 รับผิดเป็นการส่วนตัว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 11 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งโจทก์ได้อ้างเหตุผลที่ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 11 และคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุใดในคำฟ้องแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำว่า NEWMAX นำมาจากส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายค้าซึ่งเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เป็นคำภาษาอังกฤษ แม้พิจารณาแยกกัน คำว่า NEW แปลว่า ใหม่ และคำว่า MAX เป็นคำย่อมาจาก MAXIMUM แปลว่าสูงสุด แต่เมื่อเป็นคำรวมกันว่า NEWMAX ไม่มีคำแปลและไม่ได้สื่อให้เกิดความหมายให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงถึงรุ่นใหม่ที่สุดหรือสมัยใหม่ที่สุด ทั้งโจทก์ได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAX เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 26 รายการสินค้ากระดุมแป๊บ ที่ยึดแบบเลื่อน ซิป ที่ยึดซิป หัวเข็มขัดใช้กับเสื้อผ้า/รองเท้า กระดุมตะขอ ตาไก่ใช้กับเสื้อผ้า ตรา/เครื่องแสดงสัญลักษณ์ติดเสื้อผ้าที่ไม่ได้ทำด้วยโลหะ ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น เครื่องหมายการค้า คำว่า NEWMAX สำหรับสินค้าจำพวก 26 ที่โจทก์รับโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาจึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 (1), (2) อันพึงจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4407/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า ต้องได้มาซึ่งความลับจากการปฏิบัติงานตามกฎหมาย หรือการปฏิบัติราชการ/สอบสวน
การกระทำของบุคคลใดจะเป็นความผิดและต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ มาตรา 35 นั้น จะต้องมีองค์ประกอบความผิดที่ว่า บุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีด้วย เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เคยเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 5 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีจำเลยที่ 4 เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งห้าได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าดังกล่าวเนื่องจากการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ หรือบุคคลนั้นได้มาหรือล่วงรู้ความลับทางการค้าเนื่องในการปฏิบัติราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าเป็นคู่ความในคดีเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง
คำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD GEESE ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่โจทก์อ้างว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า WILD TURKY ของโจทก์จนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า อันเป็นเหตุเดียวกันกับเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสิบห้าในฐานะนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ที่ยกคำคัดค้านของโจทก์และรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ร้อง ซึ่งหากศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำวินิจฉัยเห็นพ้องด้วยกับโจทก์ให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ผลแห่งคดีย่อมกระทบถึงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ร้องที่มีอยู่ กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องสมัครใจเองเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิตนที่มีอยู่โดยมีสิทธิยื่นคำร้องเข้ามาในคดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สินค้าต่างประเภท แม้ชื่อคล้ายกัน ไม่ทำให้สับสน
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยมีฐานะเป็นกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์โดยผลของพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จำเลยจึงมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ซึ่งได้แก่การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และถึงแม้ว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการมีคำสั่งเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและมีคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นผู้พิจารณาอุทธรณ์ แต่การดำเนินการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของจำเลยในฐานะที่เป็นกรมซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติงานในเรื่องนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเพียงถึงที่สุดในทางฝ่ายบริหารเท่านั้นหาได้ตัดสิทธิโจทก์มิให้นำคดีมาฟ้องศาลไม่ ดังนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
ยา Tequin ของโจทก์เป็นยาที่ใช้สำหรับรักษามนุษย์ซึ่งต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และมีจำหน่ายในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น ส่วนยา TRIQUIN ของจำเลยเป็นยาที่ใช้สำหรับสัตว์ซึ่งจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบันสำหรับสัตว์ แม้โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าจำพวกที่ 5 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว แต่สินค้าของโจทก์เป็นผลิตภัณฑ์ยาสำหรับรักษามนุษย์ ส่วนสินค้าตามเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนแล้วเป็นยาสำหรับรักษาสัตว์ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายยาแยกต่างหากจากกัน ลักษณะของตัวอักษรในเครื่องหมายการค้า เสียงเรียกขานและผลิตภัณฑ์สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนเกิดการสับสนหรือหลงผิดในตัวสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 และ มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดไม่ถือเป็นผลิต หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของยาเสพติด
ความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุงแปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย และมาตรา 65 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ผู้ใดผลิตนำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต แสดงว่าการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะเป็นการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ล้วนเป็นการกระทำที่เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อสังคมเพราะเป็นบ่อเกิดแห่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทำให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีอยู่อย่างแพร่หลาย ยากที่จะปราบปรามให้หมดสิ้นไปได้ กฎหมายจึงได้กำหนดโทษไว้สูงถึงจำคุกตลอดชีวิต ย่อมเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามความร้ายแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคมจากการกระทำความผิดโดยการผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไม่ว่าจะด้วยการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป หรือสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการกระทำที่มีลักษณะที่จะเกิดอันตรายแก่สังคมอย่างร้ายแรงต่อไป เมื่อกฎหมายมีความมุ่งหมาย เช่นนี้ คำว่า "ผลิต" ที่กฎหมายบัญญัติให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุด้วยนั้น จึงต้องหมายถึงการกระทำอันมีลักษณะที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมในทำนองเดียวกับการเพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า เมทแอมเฟตามีนดังกล่าวใส่หลอดกาแฟซึ่งเป็นเพียงวัตถุห่อหุ้มโดยไม่ได้มีการกระทำใดๆ แก่สภาพของเมทแอมเฟตามีนนั้น จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอสิทธิบัตร: การคุ้มครองทั้งกรรมวิธีและผลิตภัณฑ์ภายใต้กฎหมายและอนุสัญญา TRIPs
เมื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ แล้ว ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้หากการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไม่เป็นการเพิ่มเติมสาระสำคัญของการประดิษฐ์ โดยขอก่อนวันประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว ย่อมอาจขออนุญาตต่ออธิบดีในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ข้อ 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอที่อ้างว่าเป็นคำขอแก้ไขเพิ่มเติม และหากอธิบดีไม่อนุญาต คำสั่งของอธิบดีย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้น และผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ไว้ แต่โจทก์ไม่นำคดีมาฟ้องต่อศาลกลับเลือกดำเนินการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ฉบับใหม่ ซึ่งมีข้อถือสิทธิที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากตามคำขอรับสิทธิบัตรฉบับเดิม โจทก์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยขอถือสิทธิในกรรมวิธีสำหรับเตรียมเกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน ส่วนคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ เป็นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ที่ขอถือสิทธิในผลิตภัณฑ์เกลือเบสซิลเลทของแอมโลไดปีน กระบวนการในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่จึงต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ทั้งหมด
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์
บทบัญญัติข้อ 70 (7) ของความตกลงทริปส์เพียงแต่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องอนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับสิทธิบัตรการประดิษฐ์สามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่มีหน้าที่อนุญาตให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรเพื่อขอรับความคุ้มครองในการประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้แต่เดิม แม้การประดิษฐ์ใหม่นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติใดๆ ของความตกลงทริปส์ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าประเทศไทยจะมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามความตกลงทริปส์นับแต่เมื่อใดก็ตาม การที่ พ.ร.บ.สิทธิบัตรฯ มาตรา 20 ไม่อนุญาตให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญและมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2)ฯ ไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรสามารถแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรในสาระสำคัญ พระราชบัญญัติสิทธิบัตรทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงหาได้มีข้อความใดขัดหรือแย้งกับความตกลงทริปส์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3296/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเพิ่มเติมคำขอสิทธิบัตรและการยื่นคำขอใหม่ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ในฐานะผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โจทก์สามารถดำเนินการตามข้อ 22 ของกฎกระทรวง (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้ และหากการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้กระทำหลังจากมีการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์แล้ว โจทก์อาจขออนุญาตต่ออธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นได้ ในคดีนี้ โจทก์อ้างว่าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2535 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ถูกปฏิเสธด้วยเหตุผลใด กรณีหาใช่ว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องยื่นคำขอรับสิทธิบัตรฉบับใหม่ไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ใหม่ซึ่งมีข้อถือสิทธิต่างไปจากเดิม กระบวนการตรวจสอบจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายทั้งหมด ข้ออ้างที่ว่าการขอรับสิทธิบัตรใหม่เป็นการขอเพื่อเพิ่มเติมคำขอเดิมฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจผู้พิพากษาในการรับรองอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ถือเป็นอำนาจเฉพาะตัวและเด็ดขาด
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงให้หรือไม่ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการใช้อำนาจเฉพาะตัวและถือว่าดุลพินิจดังกล่าวเป็นอันเด็ดขาด จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3038/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีโดยอาศัยประเด็นสำคัญเพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยก็โดยอาศัยข้ออ้างที่ต้องวินิจฉัยในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันและเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นว่ากล่าวในคดีเดิมได้ เมื่อศาลในคดีเดิมได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยที่ 3 คดีนี้เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำประเด็นเรื่องว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 ผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากันมารื้อร้องฟ้องกันอีก แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 พ่วงเข้ามาในคดีนี้อีกแต่ก็เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามเพราะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวเนื่องและการแยกฟ้องคดี: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณาเฉพาะความผิดลิขสิทธิ์และศุลกากร/ยาสูบแยกจากกัน
เมื่อลักษณะของการกระทำความผิดตามบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบและแผ่นดิจิตอลวีดีโอดีสไม่มีลักษณะของการกระทำความผิดซึ่งเป็นเงื่อนไขซึ่งกันและกันแต่อย่างใด โดยแยกกันได้เด็ดขาดทั้งการกระทำและบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นความผิด ลำพังแต่เพียงผู้กระทำความผิดทุกข้อหาเป็นบุคคลเดียวกัน กระทำในขณะเดียวกันและในสถานที่เกิดเหตุเดียวกันเท่านั้น ยังไม่ถือว่าเป็นความผิดเกี่ยวเนื่องกันตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 36 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดในส่วนที่เกี่ยวกับยาสูบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ พ.ร.บ.ยาสูบ พ.ศ. 2509 นั้น จึงชอบแล้ว