พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมอ้างอิงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และหลักการไม่ส่งเรื่องให้วินิจฉัยซ้ำ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้แล้ว ศาลยุติธรรมย่อมยกขึ้นอ้างในคดีได้โดยไม่ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยซ้ำอีก
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
ที่จำเลยทั้งสามอ้างว่า พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 30, 32, 42 ทวิ, 45 ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 46, 50, 87 นั้น จำเลยทั้งสามมิได้ให้เหตุผลว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร จึงมิใช่กรณีที่ศาลฎีกาจะต้องส่งข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสามไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่งอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ: เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายเนื่องจากเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 ได้กำหนดกระบวนการที่จะแก้ไขความเสียหายไว้แล้วว่าในกรณีที่อนุสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ บุคคลที่กล่าวอ้างความไม่สมบูรณ์ของอนุสิทธิบัตร หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนอนุสิทธิบัตรนั้นได้ ตามมาตรา 65 นว ซึ่งถือเป็นกระบวนการในการพิสูจน์สิทธิของอนุสิทธิบัตรซึ่งโจทก์ก็ได้ดำเนินการฟ้องจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีอัตโนมัติถือเป็นการชำระหนี้ตามสัญญา แม้เจ้าหนี้อ้างว่าเป็นการลักทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ปลอมและฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืน มีผลเท่ากับจำเลยปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับทั้งหมด แม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าสัญญากู้ดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของจำเลยในประเด็นที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์เอาเงินของจำเลยไปโดยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคารเป็นการชำระหนี้ตามสัญญากู้ให้แก่โจทก์แล้ว เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีของลูกหนี้ ถือเป็นการชำระหนี้เดิมได้ และระงับหนี้ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืนนั้น มีผลเท่ากับเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับจากจำเลยทั้งหมด ถึงแม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นที่ว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาเงินของจำเลยด้วยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคาร เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาไว้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินเท่ากับหนี้ที่ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย อันเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับวันกักขังแทนค่าปรับ: เริ่มนับจากวันออกหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา แม้ผู้ต้องโทษถูกคุมขังก่อนพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยและจำเลยถูกคุมขังอยู่ตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลมีคำพิพากษา การเริ่มนับวันกักขังตามหมายกักขังคดีถึงที่สุดดังกล่าวจึงต้องนับย้อนให้ถึงวันที่ศาลชั้นต้นออกหมายกักขังระหว่างอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงขัดกับคำรับสารภาพ และข้อยกเว้นโทษฐานกระทำชำเราเด็ก
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ในศาลชั้นต้น แม้จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอุทธรณ์ ก็ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้นจะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายเด็กหญิงนั้นสมรสกัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม จึงไม่รับยกเว้นโทษ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติให้การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษนั้นจะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปี แต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายเด็กหญิงนั้นสมรสกัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงและเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม จึงไม่รับยกเว้นโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้า 'SUNGARD' ก่อน 'SUN' ไม่ทำให้สับสน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จดทะเบียนได้
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5214/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึง, การใช้ก่อน, และสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ในสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั่วไปก่อนที่จำเลยจะใช้คำว่า SUN เป็นคำนำหน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลย แม้สินค้าของจำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SUN นำหน้าจำนวนมากมาย แต่เป็นการใช้ภายหลังเครื่องหมายการค้าคำว่า SUNGARD ของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า SUNGARD เลียนแบบหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าภายใต้คำว่า SUN นำหน้าของจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและให้นายทะเบียนดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อไม่มีการคัดค้าน โจทก์จึงยื่นฟ้องได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 40 โดยไม่จำต้องฟ้องคณะกรรมการและนายทะเบียนมาพร้อมกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยไม่ขึ้นทะเบียน และทำให้แท้งลูกเป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ ฯ กับความผิดฐานทำให้แท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญา มีลักษณะแห่งการกระทำความผิดแตกต่างกัน โดยการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. การประกอบโรคศิลปะ ฯ ต้องเป็นการประกอบวิชาชีพ... แต่มิได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาต ส่วนการกระทำความผิดฐานทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอมเป็นการกระทำโดยเจตนาทำให้หญิงแท้งลูก ทั้งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้คนละฉบับ การกระทำดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน