คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรเพชร วิชิตชลชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจัดการมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนถูกต้อง แม้เจตนาลวง และการร่วมเป็นผู้จัดการมรดก
บุคคลที่จะร้องขอขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 นั้น ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธปืนได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุในคดีนี้ได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้นำวัตถุต้องห้ามดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับแล้ว ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธเป็นเครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตมามอบให้แก่ทางราชการฯ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องรับฟังได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดอาญาอาวุธปืน: จำเลยอยู่ในระยะเวลาที่สามารถมอบอาวุธปืนได้ จึงได้รับยกเว้นความผิด
ขณะเกิดเหตุได้มี พ.ร.บ.ยกเว้นความผิดทางอาญาให้แก่ผู้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาต มามอบให้แก่ทางราชการ พ.ศ. 2546 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2546 โดยมาตรา 3 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ผู้ใดมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือที่กฎหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดดังกล่าวมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากความผิดทางอาญาตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์" เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องรับฟังได้ว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยจะนำอาวุธปืนและกระสุนปืนของกลางไปมอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ได้ จำเลยย่อมได้รับยกเว้นความผิดในความผิดฐานมีอาวุธปืน ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากจำเลยไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการรอการลงโทษ และการแก้ไขโทษบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ จำเลยมิได้อุทธรณ์ คงมีโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยตามฟ้อง ถือว่าจำเลยพอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ไม่รอการลงโทษจำคุกให้ แก่จำเลยแล้ว ปัญหาว่าควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่จึงไม่เคยเข้าสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จำเลยจะฎีกาขอให้รอการลงโทษจำคุกมิได้ ถือว่ามิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านปรากฏว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ภายในเวลาที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและ ขอให้บวกโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจนำโทษจำคุก ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนดังกล่าว มาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้ได้ ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้บวกโทษจำคุกจำเลยด้วยนั้น เป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์จำเลย ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุเท่านั้นจึงจะชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงได้ ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้นาย อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึง ผู้พิพากษาอื่นอีก การที่นาย อ. ไม่สั่งคำร้องดังกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้นาย ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณา ดังนั้นแม้นาย ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้นาย อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามความประสงค์ของผู้พิพากษาที่จำเลยระบุชื่อเท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติหรือวางหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 คือ จำเลยต้องยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 2 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ซึ่งตามคำร้องฉบับลงวันที่ 22 กันยายน 2547 จำเลยระบุชื่อขอให้ อ. ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงคนเดียวเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นอีก การที่ อ. ไม่สั่งคำร้องดับกล่าว แต่กลับส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ ท. ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องเป็นผู้พิจารณาดังนั้น แม้ ท. จะพิจารณาแล้วมีคำสั่งอนุญาจให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยที่ขอให้ อ. เท่านั้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาขาดองค์ประกอบความผิดฐานมั่วสุมทำร้ายผู้อื่นและพาอาวุธ ศาลฎีกายกฟ้อง
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดดาบซึ่งเป็นอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาที่ขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ศาลฎีกายกฟ้องได้ แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปเพื่อติดตามทำร้ายบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ และขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ ไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันพามีดซึ่งเป็นอาวุธ ไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร อันจะเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว คำฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวได้ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนเข้าคดีหลังต้องกระทำภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ การกระทำผิดก่อนศาลพิพากษายังไม่เข้าข่าย
ตามบทบัญญัติ ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กำหนดว่า โทษที่รอไว้ในคดีก่อนอันจะนำมาบวกกับโทษในคดีหลังนั้น ความผิดในคดีหลังจะต้องกระทำภายในระยะเวลาระหว่างรอการลงโทษตามที่คดีก่อนกำหนดไว้ ปรากฏว่าคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 ให้จำคุกจำเลย 3 เดือนและปรับ 2,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี ช่วงระยะเวลารอการลงโทษคือ นับแต่วันที่ 29 มกราคม 2547 ซึ่งเป็นวันพิพากษาเป็นต้นไปมีกำหนด 2 ปี แต่คดีนี้จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2546 ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยคดีหลังนี้จึงมิใช่กระทำภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษตามความใน ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก จะนำโทษในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับคดีนี้ไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำโทษจำคุกของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
of 21