คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พรเพชร วิชิตชลชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 204 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทุนทรัพย์คดีภาษีบำรุงท้องที่ต้องแยกเป็นรายแปลง และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทในคดีภาษีบำรุงท้องที่ต้องถือตามจำนวนเงินค่าภาษีที่มีการโต้แย้งการประเมินเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ของที่ดินแต่ละแปลงแยกจากกันเป็นแต่ละข้อหา การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมีน้ำหนักฟังได้ว่า โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้ประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกในที่ดินพิพาทด้วยตนเองตลอดมา เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละข้อหาไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีบำรุงท้องที่: การประเมินที่ดินว่างเปล่าและข้อยกเว้นการใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรกรรม, ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินโดยคำนวณจากราคาปานกลางของที่ดินและอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้าย พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ในการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจึงต้องคำนึงถึงที่ตั้ง ขนาดเนื้อที่ และลักษณะการใช้ที่ดินแต่ละแปลง ซึ่งตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ก็บัญญัติฟให้เจ้าของที่ดินซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินเป็นรายแปลง ดังนี้ การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 จึงต้องถือตามจำนวนเงินค่าภาษีที่มีการโต้แย้งการประเมินเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ของที่ดินแต่ละแปลงแยกจากกันเป็นแต่ละข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมในร้านอาหาร: การฟ้องเป็นองค์ประกอบความผิดครบถ้วน และการพิจารณาโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดให้นักดนตรีและนักร้องประจำร้านคัดลอกเนื้อร้องและทำนองเพลง ค. อันเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย แล้วนำเนื้อร้องและทำนองเพลงดังกล่าวมาบรรเลงและขับร้องให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นสาธารณชนผู้บริโภคอาหารและเครื่องดื่มในร้าน ย. ได้ฟังเพลงดังกล่าว อันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาผลกำไรในทางการค้าและเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชน และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 31, 69 และ 70 ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องและคำขอท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด 2 ข้อหา ข้อหาที่ 1 คือ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยการทำซ้ำและดัดแปลง ด้วยการให้นักร้องนักดนตรีประจำร้านของจำเลยคัดลอกเนื้อร้องและทำนองเพลงของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคหนึ่ง ข้อหาที่ 2 คือ การละเมิดลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อหากำไรในทางการค้า ด้วยการให้นักร้องนักดนตรีประจำร้านขับร้องและบรรเลงเพลงที่ทำซ้ำและดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดนั้นให้แก่ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง ข้อเท็จจริงและรายละเอียดในคำฟ้องดังกล่าวพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วว่า การกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมของผู้เสียหายโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อหากำไรในทางการค้า จึงเป็นฟ้องครบองค์ประกอบความผิด ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ามีการเรียกเก็บค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากค่าอาหารและเครื่องดื่ม ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์กลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จำนองหลังล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเลือกได้ว่าจะรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายหรือไม่
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันตามความในมาตรา 110 วรรคสาม โจทก์ในคดีนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันเหนือทรัพย์สินซึ่งจำนองของจำเลยที่ 4 จึงย่อมมีสิทธิที่จะเลือกยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่จำเลยที่ 4 ถูกศาลแพ่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดหรือไม่ก็ได้ สุดแท้แต่โจทก์จะเห็นสมควรว่าวิธีการใดจะเหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ตนมากกว่ากัน เมื่อโจทก์ไม่ขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 4 ถูกฟ้องล้มละลายแล้วเช่นนี้ หนี้ที่จำเลยที่ 4 มีอยู่แก่โจทก์ในคดีนี้จึงไม่ใช่หนี้อันพึงขอรับชำระหนี้ได้ตามนัยแห่งมาตรา 77 ดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่ว่า จำเลยที่ 4 ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้ว จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากหนี้จำนองที่มีอยู่แก่โจทก์ในคดีนี้แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยต้องสร้างสาธารณูปโภคตามที่โฆษณา หากไม่ทำตาม โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สาธารณูปโภคที่โครงการจัดให้ตามแผ่นพับที่พิมพ์โฆษณาว่ามีคลับเฮ้าส์ ทะเลสาบ ลู่วิ่ง และสวนหย่อมเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะมีข้อตกลงเฉพาะเกี่ยวกับแบบแปลนสิ่งปลูกสร้าง กำหนดเวลาการก่อสร้าง กำหนดเวลาการตรวจรับอาคารสิ่งปลูกสร้างเฉพาะตัวบ้านตามที่โจทก์จองซื้อก็ตาม แต่ตามสัญญาข้อ 16 ได้กำหนดให้ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางจำนวน 30,000 บาท ซึ่งเมื่อดูจากแผ่นพับโฆษณาแล้ว ค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่กำหนดไว้นั้นน่าจะหมายถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลสวน ลู่วิ่ง รอบทะเลสาบและทะเลสาบซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ร่วมกัน แต่ขณะที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยสร้างบ้านเสร็จแต่พื้นที่รอบบ้านยังอยู่ในสภาพรกร้างว่างเปล่า ยังมิได้ดำเนินการสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสาระสำคัญในการเอื้อต่อการเข้าอยู่อาศัยของผู้ซื้อบ้านซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่ยอมชำระหนี้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้ก่อสร้างสาธารณูปโภคอันเป็นส่วนสาระสำคัญของโครงการตามที่ได้โฆษณาในแผ่นพับในขณะโจทก์เข้าทำสัญญาจองซื้อบ้าน โจทก์จึงยังไม่จำต้องรับโอนกรรมสิทธิ์บ้านพร้อมที่ดินและชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย ทั้งกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่จำเลย เมื่อโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ชำระแล้วทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายของมหาวิทยาลัย: ไม่ตกภายใต้มาตรา 193/34 (2 ปี) แต่ใช้ 10 ปีตามมาตรา 193/30
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปะอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" แต่โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการสอน ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญและหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่กำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชน ไม่ตกตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การเรียน การสอน การวิจัยและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญ และหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะและแตกต่างจากสินค้าอื่น การตกแต่งเล็กน้อยไม่เพียงพอ
เครื่องหมายการค้าอันพึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจะต้องมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำถือว่าเป็นภาพประดิษฐ์ตามความหมายของคำว่า "เครื่องหมาย" ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 4 เมื่อโจทก์มีความประสงค์จะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ของโจทก์แตกต่างสินค้าของบุคคลอื่น ย่อมถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 4 ได้ แต่จะเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะทรงรี แม้จะมีการตกแต่งให้เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับรูปทรงเรขาคณิตอื่น ทั้งโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "MAGGI" หรือคำว่า "แม็กกี้" จึงไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าได้หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้า จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์อันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสอง (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายหยดน้ำขาดลักษณะบ่งเฉพาะ แม้เป็นภาพประดิษฐ์แต่ไม่สามารถแยกแยะสินค้าจากผู้อื่นได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำถือว่าเป็นภาพประดิษฐ์ตามความหมายของคำว่า "เครื่องหมาย" ใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อโจทก์มีความประสงค์จะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ของโจทก์แตกต่างสินค้าของบุคคลอื่นก็ย่อมถือว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 4 ได้ แต่จะเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่
เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์มีลักษณะทรงรี แม้จะตกต่างด้วยเส้นโค้งมนและมีปลายแหลมเพื่อทำให้เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากรูปทรงเรขาคณิตทั่วไป แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนเห็นได้ถึงความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับรูปทรงเรขาคณิตอื่นทั่วๆ ไป ต่างจากเครื่องหมายการค้าที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปทรงเรขาคณิตอื่นซึ่งสามารถทำให้สาธารณชนเห็นถึงความแตกต่างได้ อันถือได้ว่าเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นจนมีลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย
เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ถูกนำมาใช้ในลักษณะของส่วนประกอบที่มีอักษรโรมันคำว่า "MAGGI" หรือคำว่า "แม็กกี้" ปรากฏอยู่ข้างในไม่มีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในอันที่จะทำให้สาธารณชนหรือผู้ใช้สินค้าจดจำหรือแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าได้ หากนำไปใช้โดยลำพังกับสินค้า เครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างไปจากสินค้าอื่นเช่นใด ถือว่าเครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์คล้ายหยดน้ำของโจทก์ไม่ใช่ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นอันจะมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยตัวเองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การพิสูจน์ฐานะผู้เสียหายและการมอบอำนาจร้องทุกข์
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำบรรยายฟ้องดังกล่าวว่า บริษัท น. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์เรื่อง สมุดโน้ตกระชากวิญญาณ และบริษัท น. เป็นผู้อนุญาตให้บริษัท อ. ใช้ลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ดังกล่าว ต่อมาบริษัท อ. เป็นผู้ร้องทุกข์ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้เสียหายเพื่อให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองฐานให้เช่าแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ดังกล่าวเพื่อการค้า ซึ่งเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่คำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า การที่บริษัท น. อนุญาตให้บริษัท อ. ใช้สิทธิในงานภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ตามฟ้อง มีขอบเขตแห่งสิทธิที่จะใช้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 15 (5) อย่างไร รวมถึงเขตดินแดน ระยะเวลา และเป็นการอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่ จึงเป็นกรณีที่ไม่อาจทราบว่าบริษัท อ. เป็นผู้เสียหายหรือไม่ อย่างไร อีกทั้งตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฏด้วยว่าบริษัท น. ได้มอบอำนาจให้บริษัท อ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองแทนตนด้วย การร้องทุกข์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงไม่อาจถือได้ว่ามีคำร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว พนักงานสอบสวนในคดีนี้จึงไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาความผิดดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 21