พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: พาคนต่างด้าวเข้าเมือง และ ซ่อนเร้นคนต่างด้าว
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำหรือพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันช่วยซ่อนเร้นคนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อให้พ้นจากการจับกุมย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง สามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 202/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงหางานต่างประเทศและได้ทรัพย์สิน ถือเป็นความผิดแม้ไม่มีการส่งคนไปทำงานจริง
ความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี เมื่อผู้กระทำมีเจตนาหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงก็เป็นความผิดแล้วไม่จำต้องมีการส่งคนหางานไปทำงานยังต่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกเจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าวและรับเข้าทำงาน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยได้ให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. อันเป็นการช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม และบรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน โดยรับเข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย โดยโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการรับคนต่างด้าวนั้นให้เข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียงประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่ตามฟ้องข้อ ก. กลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ช่วยคนต่างด้าวด้วยประการอื่น ๆ อีก นอกจากการรับเข้าทำงานโดยให้คนต่างด้าวนั้นเข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาพยายามฆ่า แม้ไม่ได้แจ้งในตอนแรก แต่หากสอบสวนแล้วพบความผิดฐานนี้ พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ เมื่อพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสแก่จำเลย แม้ไม่ได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่า แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าด้วย ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาพยายามฆ่าแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคืนการให้โดยเสน่หาจากกรณีการประพฤติเนรคุณจากการใช้ถ้อยคำด่าทอ แม้ไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติห่าง ๆ ของโจทก์ทั้งห้า ได้รับการยกให้ที่ดินตามฟ้องจากโจทก์ทั้งห้าโดยเสน่หา ต่อมาโจทก์ทั้งห้าได้ไปต่อว่าจำเลยในเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ถูกจำเลยกล่าวหาว่าย้ายหลักหมุดที่ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย ทำให้จำเลยมีโทสะ ด่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ว่า "อีพวกดอกทอง ไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู มึงออกไป ออกไปจากบ้านกู" นั้น เป็นถ้อยคำซึ่งโดยวิสัยชาวบ้านที่ใช้ด่ากัน ดังนี้ แม้ถ้อยคำเช่นนั้นจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้า โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8306/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้ที่ดิน: เหตุประพฤติเนรคุณจากการด่าทอ จำเลยไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาทร้ายแรง
เหตุเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างกันทำให้จำเลยมีโทสะด่าว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นญาติห่าง ๆ กับจำเลยด้วยถ้อยคำหยาบคายว่า "อีพวกดอกทองไม่ต้องมายุ่งเรื่องของกู พวกมึงก็ดอกทองเหมือนกัน" ซึ่งโดยวิสัยของบุคคลระดับชาวบ้านเช่นนี้ใช่ด่าว่ากัน แม้ถ้อยคำจะไม่สุภาพและไม่สมควรที่จำเลยจะกล่าวต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขั้นว่าจำเลยมีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งห้าอย่างร้ายแรง อันจะเป็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ทั้งห้าเสียทีเดียว โจทก์ทั้งห้าจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8282/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการผิดสัญญาซื้อขายห้องชุดและการพิพากษาเกินคำฟ้อง ศาลฎีกาตัดสินกลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่สามารถก่อสร้างห้องชุดให้แล้วเสร็จตามกำหนด ขอให้ใช้เงินที่ชำระไปแล้วคืนและเรียกค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างห้องชุดแล้วเสร็จตามกำหนดในสัญญา โจทก์ผิดสัญญาไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์เอง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวบรรยายฟ้องขอเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนพร้อมเรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อขายต้องคืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมดพร้อมค่าเสียหายแก่โจทก์ หาได้บรรยายฟ้องเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนในฐานะที่เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 1 ก็หาได้ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเงินที่โจทก์ชำระแก่จำเลยไปแล้วเป็นเบี้ยปรับ จึงเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกฟ้องประเด็นการอนุญาตประกอบธุรกิจลิสซิ่งนอกประเด็นข้อพิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจในการให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจดังกล่าวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความมิได้นำสืบและมิใช่ประเด็นแห่งคดีขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือประเด็นข้อพิพาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และมาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องการจดทะเบียนที่ดินต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
แม้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจะวินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามคำร้อง ก็เป็นเพียงการรับรองสิทธิในที่ดินแก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดมาเป็นชื่อผู้ร้อง ตามที่ ป. ที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธการใช้สิทธิของผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องไม่ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป. ที่ดิน มาตรา 103 เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องพึงต้องนำคดีมาสู่ศาลในลักษณะของคดีมีข้อพิพาท การที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือเป็นการใช้สิทธิทางศาล ไม่มีกฎหมายรองรับให้กระทำได้