คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7543/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนแก้ชื่อกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนที่วินิจฉัยว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินตามคำร้องขอ เป็นเพียงการวินิจฉัยรองรับสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้ร้อง ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้แก้ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินมาเป็นชื่อของผู้ร้องตามที่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 57 บัญญัติไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิของผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานที่ดินปฏิเสธโดยอ้างเหตุผู้ร้องไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนตามมาตรา 103 จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานที่ดินโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องโดยตรง ต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องต้องนำคดีมาสู่ศาลเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานที่ดินมีเหตุตามกฎหมายในการไม่ยอมจดทะเบียนหรือไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ร้องนำคดีเข้าสู่ศาลโดยทำเป็นคำร้องขอเพราะถือว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาล ทั้ง ๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายรองรับให้กระทำได้จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาคดีเดิมผูกพันคู่ความในคดีใหม่ หากมีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของพันตรี พ. ผู้วายชนม์ ให้การกับนำสืบต่อสู้ในคดีเดิมที่ถูก ช. ฟ้องขับไล่ว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) และพันตรี พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้องในคดีนั้น คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของ ช. ตามที่บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้ คำพิพากษาในคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และจำเลย (โจทก์คดีนี้) ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของพันตรี พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของจำเลยในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทคดีนี้จาก ช. และพันตำรวจตรี ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ ฉะนั้น เมื่อคดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยว่าที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับดคีเดิมต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7542/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทถึงที่สุดแล้ว การฟ้องคดีประเด็นเดียวกันอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิม ช. ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 อันเป็นที่พิพาทคดีนี้ โดยโจทก์ให้การและนำสืบต่อสู้คดีว่า โจทก์และ พ. ร่วมกันซื้อที่ดินตามฟ้อง ซึ่งคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่าที่ดิน 1 ไร่เศษ เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทและเป็นของ ช. ห้ามโจทก์และบริวารเข้าเกี่ยวข้อง คำพิพากษาคดีเดิมจึงผูกพันคู่ความคือ ช. และโจทก์คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า เจ้าหน้าที่ได้ออก น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ซึ่งมีชื่อจำเลยทั้งสองในทะเบียนที่ดินทับที่ดินของโจทก์และ พ. โดยจำเลยทั้งสองดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินต่อจาก ช. ทำให้โจทก์และกองมรดกของ พ. ได้รับความเสียหาย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และมรดกของ พ. กับขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริวารของโจทก์ในคดีเดิม โจทก์ก็คือคู่ความฝ่ายจำเลยในคดีเดิมนั่นเอง ส่วนจำเลยทั้งสองซึ่งร่วมกันซื้อที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 จาก ช. และ ย. จำเลยทั้งสองก็คือผู้รับโอนสิทธิจากคู่ความในคดีเดิมคือ ช. ซึ่งเป็นฝ่ายโจทก์ในคดีเดิม ดังนี้ เมื่อคดีมีประเด็นข้อพิพาทต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2482 ตามฟ้องเป็นของจำเลยทั้งสองในฐานะผู้รับโอนสิทธิจาก ช. อันจะพึงส่งผลให้จำเลยทั้งสองมีสิทธิขอให้ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้ได้หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7025/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เหตุวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องอายุความค่าเช่า ชี้จำกัดสิทธิฎีกา
คดีนี้จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอายุความเฉพาะค่าเสียหายอันเกี่ยวกับสัญญาเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 จึงมีประเด็นวินิจฉัยเฉพาะอายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563 เท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าค่าเช่าที่ค้างชำระไม่ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อมาว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเช่าขาดอายุความ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ต้องไม่วินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 193/34 (6) และไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่นตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่า จำเลยทั้งสามต้องชำระค่าเช่าค้างชำระตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด แม้ปัญหาดังกล่าวคู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม แต่ผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยในปัญหาข้อนี้เสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีนำพาคนต่างด้าว และช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม
การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุม ย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง แยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยทั้งสี่ให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และมีอำนาจวินิจฉัยไปถึงจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ศาลมีดุลพินิจพิจารณาความน่าเชื่อถือและความจำเป็นในการตรวจพยานวัตถุ
ป.วิ.อ. มาตรา 241 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุหาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัตถุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูได้ คดีนี้โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อแต่อย่างใด ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่นๆ เพื่อเป็นหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานวัตถุ (สำเนาภาพถ่าย) ในคดีอาญา: ดุลพินิจศาลและผลกระทบจากกฎหมายใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 241 เป็นเพียงบทบัญญัติสำหรับวิธีการสืบพยานวัตถุเท่านั้น หาใช่บทบังคับให้สืบพยานวัตถุเสมอไปไม่ หากศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตรวจดูพยานวัถตุก็อาจใช้ดุลพินิจไม่ตรวจดูเสียได้ การที่โจทก์อ้างส่งสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อซึ่งมีความชัดเจนสามารถตรวจดูลักษณะและหมายเลขธนบัตรได้โดยง่าย ทั้งจำเลยก็มิได้โต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาภาพถ่ายธนบัตรดังกล่าว ศาลจึงรับฟังสำเนาภาพถ่ายธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อประกอบพยานบุคคลและพยานเอกสารอื่น ๆ เป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยตามคำท้า: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะคำเบิกความที่ตรงกับประเด็นที่ท้า หากตรงตามนั้นต้องตัดสินตามนั้น แม้มีเหตุผลทางกฎหมายประกอบ
ในกรณีที่คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้หรือไม่และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียวโดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามที่พยานเบิกความนั้น จะต้องพิจารณาว่าเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าหรือไม่ หากเหตุการณ์ที่พยานคนกลางเบิกความตรงตามคำท้าแล้ว ศาลก็จะต้องตัดสินตามคำท้านั้น เมื่อคำเบิกความของพยานคนกลางที่ตอบศาลถาม พยานยืนยันว่าหากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย แม้พยานจะตอบคำถามติงของทนายโจทก์ว่าหากมีการอายัดโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกันได้นั้น เป็นเงื่อนไขที่พยานเบิกความขึ้นเองไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขตามคำท้าเพราะคำท้ามิได้กล่าวถึงการอายัดไว้ด้วย คำเบิกความของพยานจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6697/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับเงื่อนไขการโอนที่ดินหลังสัญญาจะซื้อขาย โดยการสืบพยานคนกลาง ศาลต้องตัดสินตามคำเบิกความ
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายแล้วสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 หรือไม่ หากสามารถจดทะเบียนโอนได้ โจทก์จะยอมแพ้ หากไม่สามารถโอนได้ จำเลยทั้งสี่จะยอมแพ้คดี และตกลงให้สืบพยานคนกลางเพียงปากเดียว โดยให้ศาลถามพยานว่าที่ดินพิพาทสามารถจดทะเบียนโอนให้ได้ตามกฎหมายหรือไม่ แล้วตัดสินคดีไปตามนั้น พยานคนกลางเบิกความตอบคำถามว่า ที่ดินพิพาทถึงแม้จะทำกัน (หมายถึงทำสัญญาจะซื้อจะขาย) ภายหลังที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ พ.ศ. 2531 ใช้บังคับ หากคู่สัญญายืนยันรับผิดชอบกันเองก็สามารถที่จะโอนกันได้ตามกฎหมาย คำเบิกความของพยานคนกลางจึงตรงตามคำท้าและสมฝ่ายจำเลย เพราะรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายสามารถจดทะเบียนโอนได้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2533 แล้ว โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานยื่นขอสิทธิบัตรโดยแสดงข้อความเท็จ โจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดฐานยื่นขอรับอนุสิทธิบัตรโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้ได้ไปซึ่งอนุสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 87 เป็นการกระทำความผิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เฉพาะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายเนื่องจากการกระทำความผิด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย
of 64