คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5915/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมซื้อขายที่ดิน: การแบ่งหน้าที่ชำระตามข้อตกลงและกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 457 ที่บัญญัติว่า ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่าย เป็นการกำหนดหน้าที่ตามกฎหมายในการชำระค่าฤชาธรรมเนียมไว้ ซึ่งต้องใช้บังคับแก่คู่สัญญาทุกฝ่ายและผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมด้วย กรมที่ดินโจทก์จึงไม่มีอำนาจกำหนดให้ประชาชนต้องมีหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนกฎกระทรวง ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ข้อ 2 (7) (ก) ที่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมีทุนทรัพย์เรียกตามจำนวนทุนทรัพย์ร้อยละ 2 ซึ่งใช้อยู่ในขณะมีการจดทะเบียนโอนที่ดินตามฟ้องนั้น เป็นเพียงให้อำนาจทางราชการที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในอัตราเท่าใดเท่านั้น โจทก์จะนำมากล่าวอ้างเพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องมีหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ผู้ซื้อ ตกลงเรื่องค่าธรรมเนียมให้ต่างฝ่ายต่างออกคนละครึ่ง จำเลยที่ 1 และ 2 จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวคนละครึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้มีการชำระหนี้บางส่วนก็ไม่หยุดนับ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 31 ตุลาคม 2534 หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด ยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่งวดแรก ระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2534 การที่จำเลยทั้งสองนำเงินมาชำระบางส่วนให้แก่โจทก์วันที่ 25 ธันวาคม 2537 ไม่มีผลทำให้การเริ่มนับระยะเวลาการบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เมือ่โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 วันที่ 21 ตุลาคม 2546 จึงล่วงเลยเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องเป็นบุตรของ ช. ส่วน ช. เป็นบุตรของผู้ตาย ช. จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของผู้ตายรวมทั้ง ช. เมื่อ ช. ก็ถึงแก่ความตาย สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่ ช. จึงเป็นมรดกของ ช. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วยถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาที่มิชอบ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ทำให้การอุทธรณ์และฎีกาเป็นอันไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เฉพาะจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์แต่ทำคำแก้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยที่ 1 แพ้คดีกลับเป็นฝ่ายชนะคดี จำเลยที่ 1 ต้องทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์พร้อมกับนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 จะมาขอในคำแก้อุทธรณ์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทายาทในกองมรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิบังคับคดีได้โดยตรง แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
กองมรดกของ ส. ที่ตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของ ส. ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ซึ่งมิได้มีกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของ ส. โดยแท้ตามมาตรา 1600 จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. จึงต้องรับทั้งสิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ในกองมรดกของ ส. โดยผลของกฎหมาย อันเป็นเหตุให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของ ส. จำต้องฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ สิทธิและหน้าที่ตลอดทั้งความรับผิดต่าง ๆ ของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมย่อมเป็นคนละส่วนกับสิทธิและหน้าที่โดยส่วนตัวซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 5 มีอยู่ก่อนถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ฉะนั้น บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 จะนำมาบังคับใช้แก่หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งยังมิได้มีการแบ่งอันพึงมีต่อโจทก์มิได้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลออกคำบังคับแก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งต้องรับผิดตามคำพิพากษาในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาเสพติด: การผสม-ปรุงเปลี่ยนรูปเมทแอมเฟตามีนเข้าข่ายผลิต แม้ไม่มีเจตนาจำหน่าย
จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนซึ่งผสมแป้งเหนียวจำนวน 1 ถุง มาใส่แท่งพลาสติกซึ่งที่ปลายแท่งมีอักษรดับเบิลยูวายแล้วกดอัดจนเป็นเม็ด ย่อมเป็นการผสม ปรุง แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 แล้ว ทั้งการผลิตเมทแอมเฟตามีนนั้นกฎหมายก็แยกเป็นการผลิตโดยมิได้มีเจตนาเพื่อจำหน่ายและผลิตเพื่อจำหน่ายโดยกำหนดโทษหนักเบาต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยก็เป็นการผลิตตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผสม, แปรสภาพยาเสพติดเข้าข่าย 'ผลิต' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด แม้ไม่มีเจตนาจำหน่าย
จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนซึ่งผสมแป้งเหนียวจำนวน 1 ถุง มาใส่แท่งพลาสติกซึ่งที่ปลายแท่งมีอักษรดับเบิลยูวายแล้วกดอัดจนเป็นเม็ด ย่อมเป็นการผสม ปรุง แปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นการผลิตเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 แล้ว ทั้งการผลิตเมทแอมเฟตามีนนั้นกฎหมายก็แยกเป็นการผลิตโดยมิได้มีเจตนาเพื่อจำหน่ายและผลิตเพื่อจำหน่ายโดยกำหนดโทษหนักเบาต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยก็เป็นการผลิตตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะทายาท แต่รวมถึงผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. ในที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของ อ. หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังนั้น ผู้ร้องก็ย่อมมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ อ. และมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: มาตรา 27 ว.2 ป.วิ.พ. ครอบคลุมทุกกรณี
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้นซึ่งระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวนี้ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา หาใช่ว่าใช้บังคับเฉพาะกรณีขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบช่วงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าทนายโจทก์ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนคดีต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วยถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ไม่มาศาลนั้น จึงอยู่ในบังคับระยะเวลาแปดวันที่จะต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ทราบเหตุ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดจากมูลแห่งข้ออ้างนั้นใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา ดังนั้นคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าการที่ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วย ถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราเหตุโจทก์ไม่มาศาล จึงอยู่ในบังคับแห่งระยะเวลา 8 วัน ที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 64