พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: การที่ตัวแทนผู้ขนส่งยกอายุความมีผลถึงผู้ขนส่ง
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องในมูลสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งโจทก์ผู้ส่งฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบสินค้าตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 จำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าถึงท่าเรือนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2541 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 และมาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องสัญญารับขนทางทะเล และผลของการต่อสู้คดีโดยตัวแทน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งและจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ร่วมรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเล อันเป็นการขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีอันเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การ มิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกอายุความขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อปรากฏว่าคดีขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวงต้องแจ้งบทมาตราความผิดชัดเจน มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์ แม้จำเลยรับสารภาพ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง บัญญัติว่า การฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึง... มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ทั้งตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ก็มิได้ระบุว่าโจทก์ขอให้ลงโทษตามบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ด้วย ซึ่งแสดงว่าฟ้องด้วยวาจาของโจทก์มิได้มีการแจ้งต่อศาลถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ที่โจทก์ฎีกาประสงค์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 57, 58, 86, 88, 97 และ 101 เลย ดังนั้น แม้การฟ้องคดีด้วยวาจาต่อศาลแขวง กฎหมายจะมิได้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษร แต่ข้อไม่เคร่งครัดดังกล่าวเป็นเรื่องการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงซึ่งต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวหาได้รวมไปถึงการอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอันเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการฟ้องคดีเป็นหนังสือตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้แต่อย่างใดไม่ เพราะการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดย่อมเป็นฐานข้อมูลที่ศาลจะต้องนำมาใช้พิจารณาว่า การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจานั้นเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายที่อ้างจริงหรือไม่ หากศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิดอาญา แม้จำเลยให้การรับสารภาพศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้น บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาด้วย การที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ. ดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ในข้อหาความผิดนี้ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 57, 58, 86, 88, 97 และ 101 ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษจำเลยดังกล่าวในความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาต้องแจ้งบทมาตราความผิด หากไม่แจ้งฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้มิได้ระบุว่าโจทก์ขอให้ลงโทษตามบทมาตราแห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ด้วย ซึ่งแสดงว่าฟ้องด้วยวาจาของโจทก์มิได้มีการแจ้งต่อศาลถึงบทมาตราแห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แม้การฟ้องคดีด้วยวาจาต่อศาลแขวง กฎหมายจะมิได้เคร่งครัดเหมือนกับการฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษร แต่ข้อไม่เคร่งครัดดังกล่าวคงเป็นเรื่องการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงซึ่งต้องการให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยรวดเร็วเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวหาได้รวมไปถึงการอ้างบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดอันเป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับการฟ้องคดีเป็นหนังสือ ตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) บัญญัติไว้แต่อย่างใดไม่ ดังนั้นบทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงเป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาด้วย การที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษในความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องด้วยวาจาต้องแจ้งบทมาตราความผิด การไม่แจ้งทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) ด้วยการที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับเรื่องไว้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2546 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546 ขอขยายเวลายื่นฎีกาอีก 30 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันดังกล่าวว่า อนุญาตให้ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2546 ซึ่งวันที่ 3 มีนาคม 2546 ไม่ใช่วันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดราชการ จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาไม่เกินวันที่ 3 มีนาคม 2546 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ฎีกาของจำเลยจึงยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับฎีกา ฎีกาของจำเลยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยล้มละลาย แม้โจทก์ขอถอนฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย และบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และภาระที่โจทก์จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 ศาลฎีกาจึงคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดในศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอบังคับให้ระงับการละเมิดเครื่องหมายการค้าในอนาคต ศาลไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิพากษาค่าเสียหายและขอบเขตคำขอให้ระงับการกระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้