คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7886-7887/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่าฝืนกฎหมาย – การเข้าครอบครองที่ดินโดยสุจริต – การประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐ – ยกฟ้อง
การที่ราษฎรเข้าอยู่ในเขตทางหลวงแผ่นดินที่เกิดเหตุเป็นเพราะทางราชการและหน่วยงานของรัฐเป็น ฝ่ายจัดพื้นที่ให้เพื่อบรรเทาผลร้ายจากการสร้างเขื่อนบางลาง เป็นเหตุให้ราษฎรในพื้นที่เดิมประสบภัยน้ำท่วมจน ไม่อาจอยู่อาศัยในถิ่นที่อยู่เดิมได้ การเข้าอยู่ในที่ดินบริเวณพื้นที่เกิดเหตุของจำเลยที่ 1 นาย น. นาย ถ. และนาง พ. จึงเป็นการได้รับสิทธิตามที่ทางราชการและหน่วยงานของรัฐดังกล่าวจัดสรรที่ดินให้ อันเป็นการเชื่อโดยสุจริตในสิทธิที่แต่ละคนได้รับการจัดสรรที่ดิน และได้อยู่อาศัยกันตลอดมาจนกระทั่งเกิดเหตุคดีนี้ในปี 2539 ซึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้าอยู่โดยมีเจตนาฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ดังนี้ แม้การเข้าอยู่จะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ เพราะมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อำนวยการทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย แต่เมื่อมิได้เป็นการกระทำโดยเจตนาฝ่าฝืนต่อกฎหมายมาแต่ต้น ก็หามีความผิดอันจะต้องรับโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ. ทางหลวงฯ ไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนสิทธิจากนาย น. และนาย ถ. กับจำเลยที่ 2 รับโอนสิทธิจากนาง พ. และได้เข้าทำการยึดถือก่อสร้าง อาคารพาณิชย์และบ้านพักอาศัยในที่เกิดเหตุ แม้เจ้าหน้าที่ของแขวงการทางยะลาได้ห้ามปราม แต่จำเลยทั้งสอง ไม่เชื่อฟัง ก็เป็นเรื่องที่ทางราชการกรมทางหลวงจะต้องดำเนินคดีในทางแพ่งแก่จำเลยทั้งสองให้รื้อถอนออกไปเท่านั้น จะนำเหตุที่จำเลยทั้งสองซึ่งเข้าใจโดยสุจริตว่าตนมีสิทธิมาแต่ต้นจึงไม่เชื่อฟังมาเป็นความผิดทางอาญาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม หลังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการบังคับคดี
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์โดยไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยหรือใช้ราคาแทนเป็นเงิน 100,000 บาทโจทก์จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนและขายได้ในราคา 23,364.49 บาท เพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อมีสภาพชำรุดทรุดโทรมอันเนื่องมาจากการใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อหักราคารถยนต์ที่โจทก์กำหนดให้ตามคำพิพากษาแล้วยังขาดอยู่เป็นเงิน 76,635.51 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการขายรถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วและกรณีก็ไม่อาจไปว่ากล่าวกันในคดีเดิมในชั้นบังคับคดีได้เพราะการบังคับคดีจะต้องอาศัยคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นหลักแห่งการบังคับ ซึ่งไม่มีหนี้ตามฟ้องโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยทั้งสองต้องชำระแก่โจทก์รวมอยู่ด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7640/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการขยายระยะเวลายื่นฎีกา: พิจารณาจากเหตุผลและความสมเหตุสมผล
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 นั้น ศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควรโดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตขยายระยะเวลานั้นโดยชัดแจ้ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้โจทก์ แสดงว่าศาลชั้นต้นเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ตามเหตุที่โจทก์ระบุในคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7511/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้เล็กน้อย ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
การที่จะถือว่าเป็นการแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น จะต้องเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษนั้นมีความหมายถึงการเปลี่ยนบทลงโทษจากบทหนึ่งไปเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและขั้นสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่วรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 บัญญัติไว้เท่านั้น จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์แก้บทลงโทษ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้จำนวนโทษ มิได้แก้บทลงโทษจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย ให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7104/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดค่าเสียหายทั้งหมด การระบุค่าซ่อมโดยรวมเพียงพอแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องในส่วนค่าเสียหายว่า เหตุที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย แล้ว รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน ผ-9034 เชียงราย กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันหมายเลขเครื่อง เจ.ที 172 เอส.ซี 1100066869 หมายเลขเครื่องยนต์ 3 เอส-1996985 ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เป็นเหตุให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้ซ่อมแซมรถยนต์คันที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้จนอยู่ในสภาพใช้การได้ดีดังเดิมโดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท คำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์บุคคลอื่นแล้วทำให้กระเด็นมาเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แล้วทำให้รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ดำเนินการซ่อมแซมรถยนต์คันที่ได้รับประกันภัยไว้จนใช้การได้ดังเดิม โดยเสียค่าซ่อมแซมและค่าอะไหล่เป็นเงิน 116,343 บาท ส่วนการที่รถยนต์คันที่โจทก์รับประกันไว้จะได้รับความเสียหายในส่วนไหน เสียหายอย่างไร โจทก์ต้องเสียค่าซ่อมรายการใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้หาใช่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาซึ่งจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์เท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขหากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาตามยอมก็ถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยยกเหตุต่อสู้ชัดเจนว่ารถไม่อยู่ในอาคาร และไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
การที่จะพิจารณาว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นคำให้การที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้มาทั้งหมด คำให้การของจำเลยที่ 1 ในข้อ 3 และคำให้การจำเลยที่ 2 ในข้อ 4 ต่อสู้ว่า รถยนต์คันพิพาทมิได้เข้าไปจอดในอาคารในช่วงที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเกิดเหตุคดีนี้ และจำเลยทั้งสองให้การต่อไปว่า จำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบรถยนต์ที่เข้าไปจอดภายในอาคารดังกล่าว ซึ่งหมายถึงความรับผิดตามกฎหมายกรณีรถยนต์ที่จอดอยู่ภายในอาคารดังกล่าวสูญหายไป คำให้การของจำเลยทั้งสองชี้ชัดว่า จำเลยทั้งสองยกเหตุขึ้นต่อสู้ 2 ประการ คือ จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดต่อ ร. หาก ร. นำรถพิพาทเข้าไปจอดในอาคารแล้วสูญหาย และ ร. ก็มิได้นำรถพิพาทเข้าไปจอดภายในอาคาร จึงเป็นคำให้การที่ชัดแจ้ง รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง หาใช่เป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่และการจำหน่ายคดีเมื่อโจทก์ไม่มาศาล
คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินตามเช็คจำนวน 1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย แม้เป็นคดีแพ่งสามัญแต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และสั่งให้นำบทบัญญัติ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้ว ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา โดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาล ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ มิได้บัญญัติให้ถือว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญได้ จึงถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: ศาลจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ไม่มาตามนัดโดยไม่แจ้งเหตุ แม้จำเลยขอเลื่อน
ในคดีมโนสาเร่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ทวิ ให้อำนาจแก่ศาลที่จะจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ทราบนัดแล้วมิได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องโดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ ทั้งการที่จำเลยขอเลื่อนคดีนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าหากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน แม้คดีโจทก์จะเป็นคดีแพ่งสามัญ แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีโจทก์เป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากและสั่งให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ใช้บังคับแก่คดีแล้วก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ ซึ่งตามบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่มิได้บัญญัติให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงไม่อาจมีการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีฝ่ายเดียวดังกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณาในคดีแพ่งสามัญ โจทก์จึงไม่อาจขอพิจารณาคดีใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่สุจริต ผู้รับอาวัลไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์แล้วหลักทรัพย์ที่จะนำมาจำนำเป็นประกันหนี้ยังไม่พร้อม แต่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะรับเงินที่กู้ไปก่อน โจทก์จึงให้จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยให้จำเลยที่ 2 รับอาวัลมอบให้ไว้เพื่อจะรอให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการจำนำหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการประมาณ 45 วัน จำเลยที่ 1 จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแล้วนำมาขอให้จำเลยที่ 2 อาวัลในระยะเวลาดังกล่าว เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด โจทก์ก็มิได้บังคับให้จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแต่กลับยอมให้จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเรื่อยมาอีก 3 ฉบับ และใช้ข้อตกลงในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 1 ตลอดมา การที่จำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นลูกหนี้ตามตั๋วเงินได้สลักหลังจำนำตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ในขณะที่โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่นี้ จำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำได้ โจทก์กับจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไป จึงเป็นการสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดขึ้นจากความไม่สุจริตคบคิดกันฉ้อฉลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้รับอาวัลตาม ป.พ.พ. มาตรา 926 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985
of 64