คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชาย จุลนิติ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 635 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่เพลงละเมิดลิขสิทธิ์หลังหมดอายุสัญญาสิทธิการใช้งาน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมให้เผยแพร่งานเพลงอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้ถึงวันที่ 20 เมษายน 2547 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2547 จนถึงวันเกิดเหตุวันที่ 4 มิถุนายน 2547 จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานเพลงของโจทก์ร่วม การที่จำเลยนำวิดีโอซีดีที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 30 (2) และมาตรา 70 วรรคสอง มิใช่เป็นเพียงผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4610/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารกับกระทำชำเรา เป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานพรากผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานกระทำชำเราผู้เสียหาย เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นคนละเจตนาแตกต่างกัน และเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้เกี่ยวเนื่องกันไป การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียว คือ พรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อกระทำชำเราโดยผู้เสียหายยินยอมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนจากสัญญาระหว่างผู้ร้องกับสมาคมฯ และจำเลย ย่อมมีผลผูกพันบุคคลทั่วไป
ข้อตกลงที่โจทก์จำเลยกำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่อกันระหว่างคู่สัญญากำหนดให้ทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลง ตกเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ร้อง โดยไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้ง 22 รายการ ที่โจทก์นำยึดถูกกำหนดโดยกฎหมายว่าจะต้องปฏิบัติตามแบบของนิติกรรมเสียก่อนจึงจะมีผลให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ร้อง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องเข้าทำบันทึกข้อตกลงร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ และจำเลยโดยผู้ร้องแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ยอมรับทรัพย์สินตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งมีทรัพย์สินทั้ง 22 รายการที่โจทก์นำยึดรวมอยู่ด้วย ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว และทรงไว้ซึ่งอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ที่จะใช้ยันได้ต่อบุคคลทั่วไป
จำเลยเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ร้อง และไม่มีข้อบังคับของผู้ร้องหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้ตัวแทนของผู้ร้องเข้าเป็นกรรมการจำเลย จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อยู่ในอาคารศศปาฐศาลาย่อมมีอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ที่จะยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ร้อง อันเป็นกรณีผูกพันตามบันทึกข้อตกลงและสัญญารับดำเนินการซึ่งจัดทำกันไว้ การที่ผู้ร้องใช้สิทธิร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินทั้ง 22 รายการ จากการยึดจึงไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยปริยายเกิดจากการตกลงใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นเพื่อประโยชน์ในการสัญจรและขนส่งพืชผล
สาเหตุที่โจทก์ที่ 3 ชักชวนโจทก์อื่นกับชาวบ้านในหมู่ที่ 3 ทำทางพิพาทตั้งแต่แม่น้ำนครชัยศรีถึงทางสาธารณะสายวัดไร่ขิง - ทรงคนอง ก็เนื่องจากหมู่บ้านหมู่ที่ 3 ไม่มีทางรถยนต์เข้าออกสู่ทางสาธารณะ ทำให้โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดและชาวบ้านมีความเดือดร้อนในการสัญจรไปมาติดต่อกับท้องถิ่นอื่นและขนส่งพืชผลทางเกษตรกรรมออกไปจำหน่ายในท้องตลาด จึงได้มีการเจรจากับจำเลยขอใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางผ่านออกสู่ทางสาธารณะสายวัดไร่ขิง - ทรงคนอง เมื่อจำเลยตกลงแล้ว จึงเป็นการให้สิทธิแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดเหนือที่ดินของจำเลยอันเป็นเหตุให้จำเลยต้องยอมรับกรรมบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการก่อตั้งภาระจำยอม แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นเพียงทำให้การได้มาซึ่งภาระจำยอมนั้นไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าแต่อย่างใด ยังคงใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่กรณี โจทก์ทั้งยี่สิบเอ็ดย่อมบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาต่างกันในการพรากเด็กและกระทำชำเรา ถือเป็นความผิดต่างกรรมกัน
การที่จำเลยพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากมารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และได้กระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตน โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม แม้การกระทำของจำเลยจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกัน แต่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาต่างกันคือ จำเลยมีเจตนาพรากเด็กหญิง อ. ไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาของเด็กหญิง อ. ส่วนที่จำเลยกระทำต่อเด็กหญิง อ. เป็นเจตนากระทำชำเราอันเป็นเจตนาต่างหากจากเจตนาพราก จึงมิใช่กระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละวันที่เกิดเหตุตามคำฟ้องจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องก่อนฟื้นฟูกิจการต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์เป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การที่โจทก์จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้แก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของโจทก์นั้น ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จะต้องใช้วิธีการทวงหนี้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 กล่าวคือผู้ทำแผนต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ โจทก์โดยผู้ทำแผนจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหากตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของลูกหนี้ที่ฟื้นฟูกิจการ: การทวงหนี้ก่อนศาลสั่งฟื้นฟูต้องแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินแก่ตนเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และบุคคลภายนอกนั้นไม่ได้รับว่าเป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 แต่หากสิทธิเรียกร้องนั้นเกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำของผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะต้องไปใช้วิธีการฟ้องร้องต่อศาลเป็นคดีแพ่งต่างหาก ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9), 90/25 และ 90/59 คดีนี้สิทธิเรียกร้องที่มีต่อบุคคลภายนอกของโจทก์ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ ผู้ทำแผนจึงต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/39 ดังกล่าว โจทก์โดยผู้ทำแผนไม่มีอำนาจฟ้องคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบ เหตุผู้พิพากษาที่จำเลยร้องขอ ไม่ใช่ผู้มีคำสั่งอนุญาตฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยเพียงแต่ปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานพาอาวุธปืนให้ถูกต้อง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในแต่ละกระทงความผิดไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 221 กำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติข้อยกเว้นให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คือ ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงจะได้วินิจฉัย ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป แต่บทบัญญัติมาตรานี้ มิได้วางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. 15 ซึ่งตามคำร้องของจำเลยระบุชื่อผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาอื่นอีก การที่ผู้พิพากษาที่มิใช่ผู้พิพากษาที่จำเลยระบุในคำร้องกลับเป็นผู้มีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ก็หามีผลให้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่จำเลยจะฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะไม่ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ข้อตกลงสร้างสโมสร/สระว่ายน้ำเป็นสาระสำคัญของสัญญา
โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งในสัญญาข้อ 12 ระบุว่า "โครงการฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการโรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำ เพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" ข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกตามแบบอาคารที่กำหนดไว้ในข้อ 1 อันเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อกำหนดแห่งสัญญา การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก็เป็นเพียงการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะหยิบยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาข้อ 12 เป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาข้อ 12 จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการชำระหนี้ต่างตอบแทนภายในเวลาอันสมควร จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2946/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาณกำหนดสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมถือเป็นสาระสำคัญ หากผิดสัญญาผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องได้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ว่า "โครงการ ฯ ตามสัญญาจะจัดให้มีสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำเพื่อเป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการ" เป็นการระบุสิ่งที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัตินอกเหนือไปจากการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างตามแบบอาคารที่กำหนด ตามแผ่นพับก็ปรากฏภาพสโมสรโครงการและสระว่ายน้ำ อีกทั้งสถานที่ก่อสร้างโครงการมิได้อยู่ในเขตการค้าหรือย่านธุรกิจสำคัญ และเนื้อที่ของที่ดินตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียง 67.50 ตารางวา แต่ราคาตามสัญญาสูงถึง 3,955,000 บาท ย่อมชี้ชัดให้เห็นเจตนาของบุคคลทั่วไปที่จะเข้าเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสถานที่ดังกล่าวตามที่จำเลยที่ 1 จะสร้างให้เป็นสถานที่ส่วนกลางในการให้บริการแก่ลูกค้าของโครงการด้วย จึงเป็นเงื่อนไขและสาระสำคัญแห่งสัญญาโดยชัดแจ้ง
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์มิได้โต้แย้งการส่งมอบที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งแจ้งให้จำเลยที่ 1 ติดต่อสถาบันการเงินให้แก่โจทก์ ก็เพียงเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์ที่พร้อมจะปฏิบัติการชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนเท่านั้น จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าโจทก์มิได้ถือสัญญาเป็นสาระสำคัญหาได้ไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทำการสร้างสโมสรโครงการ โรงเรียนอนุบาล และสระว่ายน้ำตามสัญญา ซึ่งล่วงเลยจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันประมาณ 1 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 1 ยังมิได้ดำเนินการก่อสร้าง จึงเป็นการปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนดังกล่าวภายในเวลาอันสมควร จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
of 64