คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มานะ ศุภวิริยกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์เท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขหากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาตามยอมก็ถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญฟ้องหนี้เฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องฟ้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โจทก์และ ส. ตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลย จะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน อันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลย ซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่ได้ระบุเงินดาวน์ เพราะเงินดาวน์ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุค่าเช่าซื้อจำนวน 2,878,504.80 บาท นั้น จำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้ว การระบุค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้วก็เพื่อการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวดเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์แม้จะมิได้ระบุในสัญญาก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องระบุจำนวนเงินดาวน์ไว้ จึงเป็นเพียงข้อเท็จจริง ที่คู่ความอาจนำสืบได้ เอกสารสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค่าเช่าซื้อและการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ยอมรับเงินแล้วมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์
ตามคำพิพากษาคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนจำเลย ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เมื่อโจทก์นำเงินไปวางศาลเพื่อเป็นการชำระราคาแทนพร้อมค่าเสียหายตามคำพิพากษา จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะไม่รับเงินที่โจทก์วางเพื่อชำระราคาแทนได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ โดยกลับรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ เมื่อจำเลยยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวย่อมเท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์ว่าผิดสัญญาเช่าซื้อและเรียกค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนทะเบียนรถยนต์ที่เช่าซื้อ ประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมและคดีนี้จึงแตกต่างกันมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลริบของกลาง: ธนบัตรจากการกระทำผิดก่อนหน้าคดีปัจจุบัน ไม่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ธนบัตรจำนวน 300 บาท ที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งริบนั้นจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนก่อนคดีนี้ ดังนั้น ธนบัตรดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยถูกฟ้อง ศาลจึงไม่มีอำนาจริบธนบัตรดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาริบธนบัตร 300 บาท ดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่อุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดทางการแพทย์: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงละเมิด ไม่ใช่เมื่อรู้ผลสอบสวน
หลังจากโจทก์ที่ 3 คลอดโจทก์ที่ 1 และเกิดเหตุละเมิดจากการทำคลอดของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ได้พยายามให้โจทก์ที่ 1 ได้รับการรักษาทั้งจากจำเลยทั้งสามและโรงพยาบาลอื่น และได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบกับร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผล วันที่ 9 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกต่อแพทยสภาย่อมชี้ชัดว่า โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เยาว์ และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ได้รู้ถึงการละเมิดกับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2537 มิใช่ตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากแพทยสภา โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ล่วงเลยกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องโดยอ้างสิทธิรับช่วงสิทธิ vs. การโอนสิทธิเรียกร้อง: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องระบุข้อเท็จจริงว่า โจทก์ชำระเงินให้แก่บริษัท ง. ตามบันทึกข้อตกลงซึ่งโจทก์รับเป็นนายหน้าชี้ช่องให้บุคคลภายนอกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทดังกล่าว โดยโจทก์มีสิทธิได้รับค่านายหน้าและมีหน้าที่ต้องชำระเงินต้นคงเหลือตามสัญญาเช่าซื้อหากผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ง. ฟ้องจำเลยทั้งสามให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จึงเป็นการฟ้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นการรับช่วงสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 2 ส่วนที่ 2 ซึ่งการรับช่วงสิทธิจะพึงมีได้ก็ด้วยอำนาจของกฎหมายเท่านั้นตามมาตรา 229 ส่วนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาซึ่งเป็นเรื่องของการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่บัญญัติในบรรพ 2 ลักษณะ 1 หมวด 4 โดยมีหลักเกณฑ์ตามมาตรา 306 ฎีกาของโจทก์จึงนอกฟ้องและมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีขอคืนของกลาง: ห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงยุติในคดีถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นในคดีก่อนพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน บก 5451 น่าน คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ป.อ. มาตรา 36 เพียงแต่บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าของแท้จริงของทรัพย์ที่ถูกริบในคดีนั้น ในอันที่ขอคืนทรัพย์โดยเหตุมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด
การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียน บก 5451 น่าน เป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้ในการกระทำผิด ย่อมเป็นยุติแล้ว ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในคดีขอคืนของกลางนี้ จะหยิบยกข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีที่ถึงที่สุดแล้วมาวินิจฉัยได้อีก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ชอบที่จะวินิจฉัยไปตามประเด็นตามคำร้องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างว่าตนมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยในคดีดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมซึ่งมีฐานะเป็นกรม เป็นนิติบุคคลในสังกัดของกระทรวงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 1 ขับรถคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกระทรวงเจ้าสังกัดจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินแนะนำการจัดการมรดก ไม่ถือเป็นการใช้อำนาจในทางมิชอบ
แม้ว่าจำเลยจะเป็นเจ้าพนักงานที่ดิน มีหน้าที่ในการดำเนินการเรื่องการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน แต่การที่จำเลยแนะนำผู้เสียหายว่าต้องดำเนินการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก่อนและรับติดต่อทนายความเพื่อดำเนินการร้องขอจัดการมรดกนั้นหาใช่เป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ หรือเป็นการปฏิบัติการหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 148 และมาตรา 157 ไม่
of 16