พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถทนายความ ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ และคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่แต่งตั้ง ก. เป็นทนายความเข้ามาภายในกำหนด เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตามคำสั่งศาล การที่ ก. ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 และศาลมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงจึงมีคำสั่งใหม่เพิกถอนคำสั่งเดิม และมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอขยายระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนด ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชอบแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถได้อีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้ เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องความสามารถในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลไม่รับอุทธรณ์ได้
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถใน คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่ศาลมีคำพิพากษา จึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ชอบแล้ว ไม่อาจอนุญาตให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถได้อีก ให้ยกคำร้อง ดังนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2149/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: แม้หย่าทางศาสนาอิสลาม แต่ยังเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย แม้ต่อมาโจทก์จำเลยจะแยกกันอยู่หรือหย่ากันในทางศาสนาอิสลาม ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วมิได้ เพราะมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาปรับใช้มิได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 เมื่อโจทก์จำเลยยังมีสถานะเป็นสามีภริยาต่อกันตามกฎหมาย จำเลยจึงฟ้องขอแบ่งสินสมรสมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลยร่วม และประเด็นค่าเสียหายที่มิได้อุทธรณ์ในชั้นต้น
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อพร้อมกับชำระค่าเสียหาย จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ และบริษัทไทยล้านนายนตรกิจ จำกัด และบริษัทไทยล้านนาลิสซิ่ง จำกัด ที่ขายรถให้จำเลยที่ 1 ได้มายึดรถคันดังกล่าวคืนไปแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นบริษัทไทยล้านนา ยนตรกิจ จำกัด และบริษัทไทยล้านนาลิสซิ่ง จำกัด ผู้ร้องทั้งสองที่ขายรถให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นยกคำร้องเข้าเป็นจำเลยร่วมแล้วพิจารณาพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแพ้คดี การที่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เช่นนี้คำร้องขอของผู้ร้องทั้งสองถือว่าเป็นคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (5) เพราะเป็นการตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ เมื่อผู้ร้องทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ทั้งที่ผู้ร้องมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นแทนผู้ร้องทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยจำเลยแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วนในเจ็ดส่วน คิดเป็นเงินรวม 204,000 บาท เท่ากับคนละ 50,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810-811/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งแก้ไขคำฟ้อง และการยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในช่วงอุทธรณ์ ต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา และต้องวางค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลที่คดีนั้นอยู่ระหว่างพิจารณา เว้นแต่สิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีนั้น ส่วนมาตรา 57 (2) ต้องยื่นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใดๆ ก่อนมีคำพิพากษา ดังนั้น ทั้งสองกรณีดังกล่าวต้องยื่นก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาเท่านั้น จะยื่นในระหว่างอุทธรณ์ไม่ได้
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องนั้นแม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ก็มีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องนั้นแม้จะเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา แต่ก็มีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เช็คผ่านนายวงแชร์: การระงับหนี้เมื่อชำระเงินให้นายวงแชร์ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์
นายวงแชร์คือบุคคลที่จัดให้มีการเล่นแชร์ขึ้น โดยมีหน้าที่จัดให้มีการประมูลแชร์รวบรวมเงินจากผู้ร่วมเล่นแชร์เพื่อมอบให้แก่ผู้ประมูลแชร์ได้ ต้องรับผิดชอบถ้าผู้ประมูลแชร์ได้รับเงินไม่ครบ นายวงแชร์จะได้รับผลตอบแทนโดยได้รับเงินจากผู้ร่วมเล่นแชร์เป็นอันดับแรกโดยไม่ต้องประมูล ดังนั้น เมื่อโจทก์ประมูลแชร์ได้ บ. นายวงแชร์จึงมอบเช็คของผู้ร่วมเล่นแชร์รวมทั้งเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คที่โจทก์ได้รับถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินทั้ง 10 ฉบับ โจทก์จึงทวงถามให้ บ. ในฐานะเป็นนายวงแชร์รับผิดชอบและได้มอบเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินทั้ง 10 ฉบับให้แก่ บ. เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นเช็คฉบับใหม่หรือเปลี่ยนเป็นเงินสด หาใช่ บ. ไปรับเฉพาะเช็คพิพาทมาจากโจทก์เท่านั้น บ. จึงหาใช่ตัวแทนของจำเลยแต่เป็นตัวแทนของโจทก์ เมื่อ บ. นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากจำเลยได้แล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คให้แก่โจทก์แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนและฉ้อโกงโดยร่วมกัน โทษหลายกรรม
จำเลยลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นความเท็จโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ที่ได้อ่านข่าวหลงเชื่อจึงไปติดต่อและมอบเงินให้จำเลย จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน-ฉ้อโกงทั่วไป: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ, ความผิดหลายกรรม, และการลงโทษ
จำเลยกับพวกได้ก่อตั้งบริษัท ด. ขึ้น และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ประกาศแพร่ข่าวชักชวนประชาชนว่าบริษัท ด. เป็นบริษัทที่มั่นคงประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ต้องการรับสมัครพนักงานหรือบุคลากรเพิ่มหลายตำแหน่ง และโฆษณาชักชวนให้บุคคลทั่วไปนำเงินมาลงทุนในธุรกิจรูปแบบใหม่กับบริษัทซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งความจริงแล้วบริษัท ด. ไม่ได้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และไม่ได้เป็นตัวแทนซื้อขายสินค้าที่ประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อการลงข่าวประกาศทางหนังสือพิมพ์ ก. เป็นความเท็จโดยทุจริตของบริษัท ด. เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ที่ได้อ่านข่าวหลงเชื่อ จึงไปติดต่อและมอบเงินให้จำเลยกับพวก การกระทำของจำเลยกับพวกสำหรับผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 มิใช่ความผิดกรรมเดียว
ความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 7 และความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต่อผู้เสียหายที่ 2 นั้น เป็นการกระทำต่างวันเวลาและต่างบุคคลกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 มิใช่ความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10325/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของประกันภัย, ความรับผิดของนายจ้าง, และข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้ นาย ส.ค. เป็นผู้เช่าซื้อ โดยมี นาย ส.พ. เป็นผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อ ซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบแต่ผู้เดียวในบรรดาอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้รถยนต์ ส่วนตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจำต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วม นาย ส.พ. ผู้ค้ำประกันจึงมีส่วนได้เสียในความเสียหายของรถยนต์คันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และนาย ส.พ. จึงมีผลผูกพันตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ แม้จะมิได้หยิบยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 แล้วเกิดเฉี่ยวชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยทั้งสองฝ่ายประมาทพอ ๆ กัน หรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แล้วพิพากษายกฟ้องและฟ้องแย้ง ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็หาได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทหรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างซึ่งขับรถไปในทางการที่จ้างหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 510,569 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 330,667 บาท โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดอยู่อีก 179,902 บาท แก่โจทก์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกา จึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเพียงฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย